“โรคกระดูกพรุน” คืออะไร ป้องกันได้ง่ายๆ แค่ทานไข่ 1 – 2 ฟอง?

โรคกระดูกพรุน คืออะไร ป้องกันได้ง่ายๆ แค่ทานไข่ 1 - 2 ฟอง?

"โรคกระดูกพรุน" ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

TOP News รายงานประเด็น กินไข่ ช่วยป้องกัน “โรคกระดูกพรุน” จริงหรือไม่ หมอหมู เผยการศึกษาใหม่ล่าสุด บริโภคทั้งฟองอย่างน้อย 3.53 ออนซ์ต่อวัน มีระดับความหนาแน่นของมวลกระดูก ในกระดูกโคนขาและกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อะไรคือสาเหตุโรค กระดูกพรุน อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่ รู้ให้ไวป้องกันกระดูกหัก

ข่าวที่น่าสนใจ

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

ไข่ป้องกัน “โรคกระดูกพรุน” ?

หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยการศึกษาใหม่ พบว่า การบริโภค ไข่ มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของมวลกระดูกที่มากขึ้นในประชากรสหรัฐอเมริกา งานวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 19,000 คน โดยผู้เข้าร่วมที่บริโภคไข่ทั้งฟองอย่างน้อย 3.53 ออนซ์ต่อวัน (ประมาณไข่ขนาดใหญ่ 2 ฟอง) มีระดับความหนาแน่นของมวลกระดูก ในกระดูกโคนขาและกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ไข่ เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นอาหารเช้าที่มีแคลอรี่ต่ำ อีกทั้งยังมีโปรตีนในปริมาณปานกลาง (ประมาณ 6 กรัมต่อไข่ไก่ขนาดใหญ่ 1 ฟอง) อย่างไรก็ตาม ผู้คนอาจไม่หันมาใช้ ไข่ เพื่อปกป้องสุขภาพกระดูกของตน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ไข่ ไม่ได้อุดมไปด้วยแคลเซียม ซึ่งมีเพียง 24 มิลลิกรัม หรือประมาณ 2% ของปริมาณที่แนะนำต่อวันของผู้ใหญ่

แต่จากการศึกษา ไข่ จะกระตุ้นกลุ่มของเอนไซม์ในร่างกายที่เรียกว่า อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (ALP) ซึ่งสามารถเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงได้

นอกจากผลของเอนไซม์แล้ว ไข่ ยังอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย เช่น ไข่มีวิตามินดี ซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับกระดูกที่แข็งแรง นอกจากนี้ ไข่ยังเต็มไปด้วยโปรตีน สังกะสี และแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพกระดูกโดยรวม และที่สำคัญโปรตีนในไข่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความสามารถในการสร้างกระดูก

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

“โรคกระดูกพรุน” ?

โรค กระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรค กระดูกพรุน คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง

โรค กระดูกพรุน มักไม่มีอาการเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรค กระดูกพรุน จนเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก โดยจุดเสี่ยงกระดูกหักจากโรค กระดูกพรุน อาทิ กระดูกสันหลัง สะโพก ข้อมือ ต้นแขนบริเวณไหล่ เป็นต้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรค กระดูกพรุน ได้แก่

  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มวลกระดูกจะต้องลดลง เป็นผลให้เปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม
  2. การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) น้อยลง
  3. กรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
  4. ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไต และตับ
  5. โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก
  6. การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูก หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล
  7. การใช้ยาบางชนิดที่ออกฤทธิ์เร่งการสลาย หรือรบกวนการสร้างกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์

ส่วนการป้องกันโรค กระดูกพรุน สามารถลดความเสี่ยงได้โดยการดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก ได้แก่

  1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
  2. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  3. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน และมีค่าความเป็นกรดสูง
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  6. ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

กินไข่กี่ฟอง?

นับเป็นเวลาหลายปีแล้วที่การอภิปรายเกี่ยวกับ ไข่ เต็มไปด้วยความกังวลว่า ไข่ จะนำไปสู่ คอเลสเตอรอลสูง หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตาม การวิจัยชี้ให้เห็นว่า ไข่ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจได้ และ สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ยังสนับสนุนให้ชาวอเมริกันรับประทาน ไข่ ทุกวัน เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง

การศึกษาชี้ให้เห็นว่า การบริโภค ไข่ ในระดับปานกลาง (ประมาณ 1 – 2 ฟองต่อวัน) ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับ คอเลสเตอรอล ในบุคคลที่มีสุขภาพดี สำหรับผู้ที่มี คอเลสเตอรอล สูงอยู่แล้ว ควรปรึกษาเรื่องการบริโภค ไข่ กับแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว การทานไข่ประมาณ 1 – 2 ฟองต่อวัน จะช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจและกระดูกได้

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้ง่าย ๆ แค่กินไข่ 1 - 2 ฟองต่อวัน กระตุ้นเอนไซม์เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับคอเลสเตอรอล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

น้ำใจแทร่ๆ "เจ้าของเต็นท์รถ" สระแก้ว ส่งมอบรถกระบะคันใหม่ พร้อมจยย. ให้ลุงป้า "มูลนิธิธรรมนัสฯ" สมทบเงิน 4 แสนไว้รักษาตัว
“รองโฆษกรัฐบาล” ยืนยันค่าไฟไม่ได้เพิ่ม แต่ลดลงเหลือ 3.99 บ.ต่อหน่วย
โค้งสุดท้าย "พิพัฒน์" นำทีมภูมิใจไทย เคาะประตูบ้าน ชาวเมืองคอน ขอเสียงหนุน "ไสว" เป็นสส.เขต 8
ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น