ฝากถึง “พวงเพ็ชร” ปชช.คาใจ “สภาฯผู้บริโภค” ได้งบฯปีกว่า 300 ล้านแต่ไม่รู้นำใช้ทำอะไร

ฝากถึง "พวงเพ็ชร" ปชช.คาใจ "สภาฯผู้บริโภค" ได้งบฯปีกว่า 300 ล้านแต่ไม่รู้นำใช้ทำอะไร

ฝากถึง “พวงเพ็ชร” ปชช.คาใจ “สภาฯผู้บริโภค” ได้งบฯปีกว่า 300 ล้านแต่ไม่รู้นำใช้ทำอะไร

ถือเป็นหนึ่งประเด็นที่ Top News ตรวจสอบมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับบทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2564 ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่ง 2560 มาตรา 46 โดยเฉพาะเมื่อ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำเสนอความเห็นผ่าน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบความเห็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบการพิจารณางบประมาณ 2568

หลังจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ยื่นขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปี ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 อีกจำนวน 360 ล้านบาท และ เป็นปีทื่ 4 แล้ว ที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ยื่นขอรับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ.2562

แต่ครั้งนี้ที่ประชุมครม.มอบหมายให้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอของสภาพัฒน์ ไปพิจารณาประกอบการจัดสรรงบประมาณ ให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อทำให้การใช้งบประมาณดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุด

สภาฯผู้บริโภค

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับข้อเสนอของสภาพัฒน์ ซึ่งรายงานความเห็นประกอบการพิจารณา การยื่นขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปี ของ สภาองค์กรของผู้บริโภค ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

1. สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณากำหนดและเพิ่มตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อน ผลลัพธ์ไปยังประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น อาทิ หน่วยงานประจำจังหวัดต้องสามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคจนได้ข้อยุติเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากแค่การกำหนดเพียงจำนวนสมาชิกและหน่วยงานประจำจังหวัด รวมถึงต้องปรับตัวชี้วัดบางตัวให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น

2. สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรม ในแผนงานพัฒนานโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมในลักษณะการประชุมสัมมนาหรือการประชุม หารือระยะสั้นเพียง 1-2 ครั้ง ในแผนงาน เพราะงบฯส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าเดินทาง ซึ่งอาจไม่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือด้านนโยบายที่กำหนดไว้

3.เนื่องด้วยงบประมาณกว่า 40% เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานในแผนงานสนับสนุนสมาชิก หน่วยงานประจำจังหวัด หน่วยงานเขตในพื้นที่ โดยเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกและหน่วยงานในพื้นที่

ดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณาประสานใช้กลไกการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีเครือข่ายหลัก กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 500 เครือข่าย

และหากจำเป็นต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานประจำจังหวัดเพิ่ม สภาองค์กรของผู้บริโภคควรต้องคำนึงถึงความซ้ำซ้อนกับกลไกอื่นที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ด้วย หรืออาจพิจารณาจัดตั้งในลักษณะของเขตพื้นที่ที่เป็นการรวมกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด

 

 

 

ล่าสุดทีมข่าว “Top News” ได้ลงพื้นที่สอบถามประชาชนเกี่ยวกับการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค และพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่าไม่รู้จักสภาองค์กรของผู้บริโภค ขณะที่บางคนบอกว่ารู้จัก แต่ก็ไม่รู้ทราบรายละเอียดขององค์กรนี้ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง และไม่รู้ว่าสภาฯนี้ จัดตั้งขึ้นเมื่อไหร่ และดูแลทำงานหรือช่วยเหลือประชาชนในด้านใด ขณะที่บางส่วนระบุว่า จากชื่อขององค์กรฯ คาดว่าจะทำหน้าที่เกี่ยวกับผู้บริโภค

 

และเมื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับเม็ดเงินที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้รับเงินการสนับสนุนจากรัฐบาลปีละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่า ไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์ หรือ ช่องทางการติดต่อสภาฯ จึงไม่รู้จัก และไม่รู้ว่ามีหน่วยงานนี้เกิดขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล พร้อมมองว่า หากหน่วยงานได้รับเงินสนับสนุนไปและทำงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ประชาชนได้รับรู้การมีอยู่จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัจจุบันนี้ประชาชนยังไม่ทราบรายละเอียด และไม่ทราบว่าเงินที่ได้รับการสนับสนุนถูกใช้ไปในส่วนใดบ้าง

 

 

 

 

ขณะเดียวกัน มองว่า การที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินสนับสนุนองค์กรฯนี้เฉลี่ยวันละ 1 ล้านบาท แต่ประชาชนไม่เห็นผลงานและไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ขององค์กรฯ เป็นการใช้เงินที่ไม่คุ้มค่า เพราะเงินทุกบาทที่รัฐอุ้มมาจากงบประมาณและภาษีของพวกตน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆแทนจะดีกว่า อาทิ การแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน แก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่านำเงินไปอุดหนุนองค์กรนี้

 

 

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ มองว่า การที่มีสภาองค์กรของผู้บริโภคเกิดขึ้น อาจเป็นทางเลือกในการช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดปัญหาไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการ ร้านค้า จึงต้องให้โอกาสหน่วยงานในการทำงาน แต่อีกด้านหนึ่งเห็นว่า ด้วยจำนวนเม็ดเงินที่ได้รับการสนับสนุนกว่า 300 ล้านบาท องค์กรดังกล่าวจึงควรมีผลงานออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

 

 

ทั้งนี้นับแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2564 สภาองค์กรของผู้บริโภคได้รับประมาณแล้วหลายร้อยล้านบาท แบ่งเป็น

1.ปี 2564 ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เพื่อเป็นทุนประเดิมตั้งต้นองค์กร จำนวน 350 ล้านบาท

2.ปี 2566 ของบประมาณจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์อีก 395 ล้านบาท แต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์จัดสรรงบกลางให้ 153 ล้านบาท

ส่วนในปี 2568 สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ของบประมาณจากรัฐบาลเศรษฐา 360.10 ล้านบาท ซึ่งครม.ได้มีมติไฟเขียวเป็นที่เรียบร้อย

 

จะเห็นได้ว่าแค่ปี 2564 และ ปี 2566 สภาองค์กรของผู้บริโภคได้รับประมาณ ไปแล้ว 500 ล้านบาทเศษ แต่ผลงานในคุ้มครองและช่วยผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กลับมีข้อสงสัยมากมายจากประชาชน และการที่รัฐบาล เห็นชอบอนุมัติงบประมาณปี 2568 ให้อีก 360.10 ล้านบาท จึงเกิดคำถามไปยังผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะนางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่กำกับดูแล ว่า จะดำเนินการอย่างไร กับงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปี ที่ต้องอนุมัติเบิกจ่ายให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค

และมีวิธีการตรวจสอบ หรือไม่ อย่างไร ในการทำให้การปฏิบัติงานของสภาองค์กรฯเป็นไปตามข้อเสนอของสภาพัฒน์ เพราะจนถึงทุกวันนี้ ประชาชนจำนวนไม่น้อย ไม่รู้จักสถานะ บทบาทของ สภาองค์กรของผู้บริโภค ตามที่มีข้อกำหนดไว้ ตาม พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทักษิณ" ประเดิมปราศรัยหาเสียง "อบจ.ศรีสะเกษ" มวลชนเสื้อแดงแห่ต้อนรับ
"กรมควบคุมมลพิษ" เตือน ปชช. 60 จังหวัด ระวังอันตรายจากฝุ่นพิษ ส่งผลต่อสุขภาพ
การเคหะแห่งชาติปลื้ม “อาคารเช่าพักอาศัยเชียงใหม่ (หนองหอย)” ยอดจองทะลักเต็มโครงการ เหตุทำเลดีมีศักยภาพสูง ใกล้แหล่งงาน สถานศึกษา
หมอปลา พา "อดีตแม่ชี" พร้อมคลิปเสียงลับ ร้องหลวงพี่น้ำฝน ปมพระพลล่วงละเมิดแต่คดีไม่คืบ
สุดสลด "ด.ช.3 ขวบ" ถูกไฟคลอกดับกลางป่า ตร.พบพิรุธหลายอย่าง
รบ.เปิดขึ้น "รถไฟฟ้า-รถเมล์" ฟรี 7 วัน แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกทม.ลดการใช้ยานพาหนะ
การรถไฟฯ เผย “คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก” แนะ ปรับลดความสูงของหลังคาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ไม่ให้โครงสร้างหลังคาซ้อนทับกับสถานีรถไฟอยุธยาเดิม ย้ำ รฟท.พร้อมอนุรักษ์และคงคุณค่าสถานีรถไฟอยุธยาเดิมไว้ ให้สมกับที่ได้รับยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก
“ดร.ธรณ์” ชี้ทนฝุ่น PM2.5 ยาวถึงสุดสัปดาห์ ก่อนลมหนาวจะพัดไล่ฝุ่นพิษได้พักหายใจ 3-4 วัน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยกขบวนสินค้าและผลผลิตจากสหกรณ์ทั่วประเทศมาจำหน่าย หนุนเพิ่มช่องทางกระจายรายได้กลับคืนสู่สมาชิกสหกรณ์
โฆษก ศธ. กำชับ ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่หมด งดกิจกรรมกลางแจ้งเด็ดขาด สุขภาพผู้เรียนสำคัญที่สุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น