ผวา “ฉ่าก๋วยเตี๋ยว” อาหารเป็นพิษ ดับ 2 ชันสูตรพบ กรดบงเครคิก

ผวา ฉ่าก๋วยเตี๋ยว อาหารเป็นพิษ ดับ 2 ชันสูตรพบ กรดบงเครคิก

ผวา "ฉ่าก๋วยเตี๋ยว" อาหารเป็นพิษ 21 คน จำนวนนี้ เสียชีวิต 2 ราย ผลชันสูตรเจอ กรดบงเครคิก นับเป็นการพบครั้งแรกในไต้หวัน

TOP News รายงานประเด็น “ฉ่าก๋วยเตี๋ยว” สร้างความหวาดผวาไปทั่วไต้หวันและนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง หลังลูกค้าร้านอาหารมาเลเซีย ในเขตซินยี่ กรุงไทเป เกิดอาการอาหารเป็นพิษกันระนาว จากการรับประทาน ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัด และเมนูก๋วยเตี๋ยวที่ร้าน ทั้งสิ้น 21 คน จำนวนนี้ 18 คน อยู่ในโรงพยาบาลในไทเปและไถ้หนาน และเสียชีวิต 2 ราย โดยทางการสอบสวนพุ่งประเด็นที่ว่า การระบาดเกิดจากพิษภายในส่วนประกอบอาหาร หรือพิษที่อาจมีคนใส่ลงไปในอาหาร ล่าสุดพบ กรดบงเครคิก (Bongkrekic acid) ในร่างกายของผู้เสียชีวิต

ข่าวที่น่าสนใจ

ผวา ฉ่าก๋วยเตี๋ยว อาหารเป็นพิษ 21 คน จำนวนนี้ เสียชีวิต 2 ราย ผลชันสูตรเจอ กรดบงเครคิก นับเป็นการพบครั้งแรกในไต้หวัน

Cr. facebook/polamraohe/

“ฉ่าก๋วยเตี๋ยว” ?

ฉ่า ก๋วยเตี๋ยว (Char Kway Teow) คือ ก๋วยเตี๋ยวผัด มาจากภาษาฮกเกี้ยน ฉ๋า (char) แปลว่า ผัด นิยมกินกันทั่วไปตั้งแต่ตอนเที่ยงวันไปยันมื้อเย็น มื้อดึก ส่วนใหญ่เป็นแผงลอยขายข้างทาง และเป็นเมนูยอดนิยมตามตลาดโต้รุ่ง

ฉ่า ก๋วยเตี๋ยว สามารถทำกินเอง ซื้อตามรถเข็น ร้านข้างทาง หรือแม้แต่ในห้างสรรพสินค้าก็มีขาย ฉ่า ก๋วยเตี๋ยว ปรุงคล้ายผัดไทยบ้านเราแต่เขาใช้ก๋วยเตี๋ยว เส้นแป้งข้าวเจ้าแผ่นใหญ่ มาหั่นให้เป็นเส้นเล็กลง บางเจ้าใส่ซีอิ๊วดำด้วย ได้รสชาติเหมือนผัดไทย+ผัดซีอิ๊ว+ขนมผักกาด ออกไปทางเค็มมัน ไม่หวาน ไม่เปรี้ยว เผ็ดนิด ๆ ใส่ถั่วงอก ไข่ กุ้ง หอยแครง กุนเชียง ปลาเส้น ปลาหมึก บางร้านใส่เนื้อสัตว์หลายอย่าง บางร้านใส่อย่างเดียว ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น

วิธีทำเริ่มจากตั้งกระทะเทน้ำมัน รอจนร้อน ใส่กระเทียมลงไปผัดพอหอม ตามด้วยกุนเชียงหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ปลาเส้น เติมพริกแกง ซีอิ๊วขาว น้ำตาลเล็กน้อยและพริกไทย ผัดต่อพอพริกแกงหอมค่อยใส่เส้นก๋วยเตี๋ยว จากนั้นใส่กุ้ง หอยแครง หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ผัดนิด ๆ พอเนื้อสะดุ้ง จะได้รสสัมผัสกรอบเด้ง แล้วค่อยตอกไข่ลงไปยีให้ทั่ว ปิดท้ายด้วยถั่วงอกและใบกุยช่ายหั่นเป็นท่อน รับประทานร้อน ๆ

ผวา ฉ่าก๋วยเตี๋ยว อาหารเป็นพิษ 21 คน จำนวนนี้ เสียชีวิต 2 ราย ผลชันสูตรเจอ กรดบงเครคิก นับเป็นการพบครั้งแรกในไต้หวัน

Cr. facebook/polamraohe/

กรดบงเครคิก?

กรดบงเครคิก (Bongkrekic acid) หรือ กรดบงเครก (Bongkrek acid) ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2438 เกิดการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษบนเกาะชวา การระบาดครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่เรียกว่า เทมเป้ บงเครก (Tempe Bongkrek) คือ อาหารที่เกิดจากการนำผลพลอยได้ของเนื้อมะพร้าวจากกะทิมาทำเป็นเค้ก แล้วหมักด้วยรา

การบริโภค เทมเป้ บงเครก ที่ปนเปื้อน ทำให้เกิดพิษจากกรดบงเครกมากกว่า 3,000 ราย อัตราการเสียชีวิตที่รายงานโดยรวมกลายเป็น 60% เนื่องจากสถานการณ์ที่รุนแรง การผลิต เทมเป้ บงเครก จึงถูกสั่งห้ามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

กรดบงเครคิก เป็นสารพิษหายากที่เกิดจากการปนเปื้อนของแบคทีเรีย เบอร์กโฮเดอร์เรีย กลาดิโอลี (Burkholderia Gladioli) ซึ่งเป็นกรดไตรคาร์บอกซิลิก ที่มีความเป็นพิษสูง ทนความร้อนได้ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่อิ่มตัวสูง

กรดบงเครคิก สามารถแพร่กระจายในอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน โดยเฉพาะในมะพร้าวและข้าวโพด รวมถึงผลิตภัณฑ์แป้งและเห็ดหูหนูสด เติบโตอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 22 ถึง 33 องศาเซลเซียส และระดับ pH ที่เป็นกลาง

กรดบงเครคิก มีผลกระทบต่อ ตับ ไต และสมอง หากมีอาการสงสัยว่า อาหารเป็นพิษเกิดขึ้น เช่น ท้องเสีย, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, มีไข้, ปวดศีรษะ, อาการง่วงซึม, เวียนศีรษะ และอ่อนแรง เป็นต้น ให้ไปพบแพทย์ทันที

ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอุจจาระเป็นเลือด, ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน, ปัสสาวะเป็นเลือด, ความดันโลหิตต่ำ, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, อุณหภูมิของร่างกายสูง, ดีซ่าน, แขนขาแข็ง, หายใจลำบาก, เพ้อ, ช็อก และโคม่า

ในกรณีที่รุนแรง ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าปริมาณเพียงเล็กน้อยเพียง 1.5 มิลลิกรัมของการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนกรดบงเครคิก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ภายใน 1 ถึง 20 ชั่วโมง หลังจากเริ่มแสดงอาการ อัตราการเสียชีวิตของเหตุการณ์ฝูงชนที่รายงานในต่างประเทศอยู่ระหว่าง 30% ถึง 100%

ป้องกันตนเอง?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไต้หวัน เผยวิธีการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดบงเครคิก ดังนี้

  1. ล้างมือบ่อย ๆ ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร
  2. วัตถุดิบต้องสดและถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ต้องสะอาดและปลอดภัย
  3. แยกอาหารดิบและอาหารปรุงสุก และใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันในการจัดการอาหารดิบและอาหารปรุงสุกเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน
  4. การทำความร้อนต้องทั่วถึง แบคทีเรียสามารถถูกทำลายได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิแกนกลางของอาหารเกิน 70 องศาเซลเซียล เท่านั้น
  5. ใส่ใจกับอุณหภูมิในการจัดเก็บ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ หากอุณหภูมิต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียล แนะนำให้เก็บอาหารปรุงสุกหรืออาหารที่เน่าเสียง่ายและวัตถุดิบไว้ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียล อย่าทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานานเกินไป
  6. ไม่ควรบริโภคอาหารหมักแป้งที่เก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
  7. เส้นเปียก เส้นหมี่ และเส้นก๋วยเตี๋ยว ควรแช่เย็นทันทีหลังซื้อ และไม่ควรเก็บไว้เกิน 3 วัน

ทั้งนี้ กรณีอาหารเป็นพิษที่ไต้หวัน สันนิษฐานกันว่า เป็นไปได้ที่กรดบงเครคิก อาจเกิดจากกระบวนการหมักข้าวทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ที่นำมาทำเมนูก๋วยเตี๋ยว “ฉ่าก๋วยเตี๋ยว” ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัด อาการผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ต้องเข้า รพ.ส่วนใหญ่ คล้ายกัน คือ ตับวายเฉียบพลัน นำไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว แต่การสอบสวนยังไม่ไปไกลถึงขั้นสรุปว่าการปนเปื้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร และเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือไม่

ผวา ฉ่าก๋วยเตี๋ยว อาหารเป็นพิษ 21 คน จำนวนนี้ เสียชีวิต 2 ราย ผลชันสูตรเจอ กรดบงเครคิก นับเป็นการพบครั้งแรกในไต้หวัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า
"พิพัฒน์" ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
ศาลอาญา สั่งจำคุก 4 ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM คนละ 2-4 ปี ฐานทำร้ายคฝ. ก่อนได้ประกันตัว
ครบรอบ 118 ปี กองทัพเรือ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสารจาก ผบ.ทร.
นายกสมาคมสื่อมวลชน และ นักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก พร้อม ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออก ร่วมแสดงความยินดี นริศ นิรามัยวงศ์ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผลักดัน "โครงการ สร้าง ซ่อม ที่อยู่อาศัย" เพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2567
โซเชียลแห่ยกย่อง “น้องโนอาห์” วัย 1 ขวบ เสียชีวิตภาวะสมองตาย ครอบครัวบริจาคไตให้ผู้รอรับการรักษา
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นำกำลังพลร่วมกิจกรรม "วันกองทัพเรือ" 20 พ.ย.
ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ นาวาเอก อเล็กเซย์ แอนต์ซิเฟรอฟ ผู้บังคับหมู่เรือ กองทัพเรือรัสเซีย พร้อมด้วยคณะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น