งานถนัด "ก้าวไกล" จ้องจับผิดฉุน "รัฐบาล" ไม่ผลักดันร่างกฎหมายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร "กองทัพ" การันตีทุกขั้นตอนโปร่งใส ยุติธรรม และ ตรวจสอบได้การันตีดูแลทหารใหม่เป็นอย่างดี
ข่าวที่น่าสนใจ
“ก้าวไกล” เปิดช่องทางร้องเรียนหากไม่ได้รับความเป็นธรรม
เรืออากาศโทธนเดช กล่าวว่า วันนี้เป็นวันแรกของพี่น้องชาวลาดพร้าวที่มาจับใบดำใบแดง ตนได้ผลักดันโครงการพลทหารปลอดภัยผ่านกลไกกรรมาธิการการทหาร เพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนในช่วงเวลาที่การยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหารยังไม่เกิดขึ้น พร้อมช่วยเหลือเต็มที่เพื่อให้กำลังพลมีความปลอดภัย จึงประชาสัมพันธ์โครงการ “พลทหารปลอดภัย” ซึ่งเป็นช่องทางร้องเรียน หากพลทหารหรือครอบครัวของพลทหารพบความไม่เป็นธรรม เช่น ถูกซ้อมทรมาน หรือต้องไปทำงานที่ไม่ใช่หน้าที่ทหาร ขอให้แอด LINE OA ของกรรมาธิการการทหารและแจ้งเรื่องเข้ามา จะมีทีมหลังบ้านมอนิเตอร์ข้อมูลและทำงานประสานกับกองทัพเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง นอกจากนี้ขอให้กองทัพดูแลกำลังพลด้วยความจริงใจ และอยู่ในบรรทัดฐานกรอบกฎหมาย หยุดเอาความเคยชินในอดีตมาทำในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ความรุนแรงต่างๆ โดยโครงการพลทหารปลอดภัย ตั้งเป้าหมายจะทำให้การตายในค่ายทหารเป็นศูนย์ ทั้งนี้หลังการเลือกตั้งปี 2566 พรรคก้าวไกลได้เสนอกฎหมายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากนายกฯ พรรคจึงแก้ไขเนื้อหาในร่างอีกฉบับ ไม่ให้ถูกตีความว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน และได้ยื่นต่อสภาฯ ไปแล้ว จึงต้องการส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลและนายกฯ เศรษฐา ให้ร่วมผลักดันร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวด้วย
ด้าน นายพิจารณ์ กล่าวว่า ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลก่อนหน้านี้ ตนและพรรคก้าวไกลมีความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า นโยบายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร เปลี่ยนเป็นระบบสมัครใจ จะได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทยเหมือนกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อถึงวันนี้ ตนต้องย้ำเตือนไปยังนายกฯว่า ร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลเสนอไป อย่างน้อยควรรีบเซ็น อย่าปัดตกเพียงเพราะเงื่อนไขว่าเป็นร่างการเงิน ไม่เช่นนั้นเยาวชนที่เติบโตขึ้นมาจะต้องคอยลุ้นระทึกอีกไม่รู้กี่ปี เสียโอกาสในชีวิตที่จะเลือกประกอบอาชีพ และต้องย้ำอีกว่า แนวทางที่รัฐบาลพยายามสร้างแรงจูงใจให้คนสมัครเป็นทหาร เช่น เพิ่มเงินเดือน เพิ่มอัตรานายสิบ หางานให้กำลังพลทำในบริษัทเอกชนหลังปลดประจำการ ตนคิดว่าทำเท่านี้ยังไม่เพียงพอ สิ่งที่รัฐบาลนี้ควรทำ คือต้องสามารถอธิบายให้ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่า จำนวนทหารกองประจำการที่ต้องการ ถูกคิดมาจากการประเมินภัยคุกคามของประเทศอย่างไร โครงสร้างของกองทัพอุ้ยอ้ายไปไหม จะปรับเปลี่ยนอย่างไรเพื่อให้ได้จำนวนทหารเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นต้องเกณฑ์กันอยู่แบบนี้ไปอีกกี่ปี คำถามคือวันนี้ จำนวนความต้องการกำลังพลของกองทัพที่เหมาะสม ภายใต้ภัยคุกคามในบริบทโลกปัจจุบัน ในแต่ละปี ตัวเลขควรเป็นเท่าไรกันแน่
ผู้ปกครองมั่นใจถึงติดทหาร “กองทัพ” ดูแลลูกหลานเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 บรรยากาศตรวจเลือก “เกณฑ์ทหาร 2567” หลายพื้นที่เป็นไปอย่างคึกคัก มีทหารกองเกินเข้ามารายงานตัว พบว่ามีชายไทยร้องขอสมัครเป็นทหารกองประจำการแล้วเป็นจำนวนมาก หรือสาวสองมารายงานตัวเข้ารับการตรวจและขอผ่อนผัน ท่ามกลางผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง และเพื่อนพ้องมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก หลายคนบอกว่าหากบุตรหลานได้ไปเป็นทหารก็เชื่อว่ากองทัพจะดูแลเป็นอย่างดี
ทั้งนี้กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ซึ่งมีกำหนดการในห้วง 1- 12 เม.ย.67 (เว้น 6 เม.ย.67) เฉพาะคณะกรรมการการตรวจเลือก และสัสดี ให้ดำเนินการในทุกขั้นตอนด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ พร้อมกับให้ประชาสัมพันธ์ให้กับชายไทย และครอบครัวในเรื่องของการเตรียมเอกสารต่างๆ และสิทธิประโยชน์ในกรณีที่สมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการ ขณะเดียวกันผู้บัญชาการทหารบก ได้กำชับให้หน่วยฝึกทหารทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมของหน่วยฝึกทหารใหม่ ทั้งสถานที่ และบุคลากร ซึ่งปัจจุบันได้จัดให้มีการฝึกทบทวนความรู้ของผู้ช่วยครูฝึกทหารใหม่ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการคัดสรรว่ามีความเหมาะสมที่จะดูแลทหารใหม่ตลอดห้วงการฝึกให้เป็นไปตามระเบียบ และมาตรฐานของกองทัพบก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง