“รศ.หริรักษ์” จัดเต็มงานฟุตบอล “จุฬา-มธ.” โดนวิจารณ์ยับ ผู้บริหาร 2 สถาบัน อย่าไปโทษใคร

"รศ.หริรักษ์" จัดเต็มงานฟุตบอล "จุฬา-มธ." โดนวิจารณ์ยับ ผู้บริหาร 2 สถาบัน อย่าไปโทษใคร

รศ.หริรักษ์” จัดเต็มงานฟุตบอล “จุฬา-มธ.” โดนวิจารณ์ยับ ผู้บริหาร 2 สถาบัน อย่าไปโทษใคร

วันที่ 3 เม.ย. 67 รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Harirak Sutabutr” ข้อความว่า จะทำความเข้าใจกรณี “ฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬา-ธรรมศาสตร์” จำเป็นต้องรู้ที่มาที่ไปของทั้งงานนี้และทั้งกลไกการจัดงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ด้วย

ผู้รับผิดชอบจัดงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ คือสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมธรรมศาสตร์ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดงานคนละปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ให้การสนับสนุน ชุมนุมหรือชมรมเชียร์ของทั้งสองมหาวิทยาลัยรับหน้าที่จัดกองเชียร์ เชียร์ลีดเดอร์และจัดแปรอักษรบนอัฒจันทร์ การเตรียมทีมฟุตบอลเป็นหน้าที่ของสมาคมทั้งสอง และชุมนุม ชมรมฟุตบอลของทั้ง สองมหาวิทยาลัย นักฟุตบอลประกอบด้วยทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันผสมกัน

รศ.หริรักษ์

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ เคยเป็นงาน event ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ ที่มีคนสนใจติดตามกันทั้งประเทศ ยังไม่ต้องพูดถึงศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของทั้งสองสถาบัน เนื่องเพราะไม่มีงานกีฬาไหนในประเทศไทยที่จะมีทั้งขบวนพาเหรดที่อลังการ และการแปรอักษรที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีที่ไหนทำได้เสมอเหมือน อีกทั้งนักฟุตบอลของทั้งสองทีมก็มีนักฟุตบอลทีมชาติที่มีชื่อเสียงเกินกว่าครี่ง นิสิตนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัยที่เป็นนักฟุตบอลทุกคนล้วนไฝ่ฝันที่จะได้ลงเล่นในฟุตบอลประเพณีสักครั้งในชีวิต

องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ นอกจากการแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังต้องมีการแปรอักษร เชียร์ลีดเดอร์ การร้องเพลงเชียร์ และขบวนพาเหรดล้อการเมือง ซึ่งทุกๆปีประชาชนจำนวนมากจะใจจดใจจ่อรอดูขบวนพาเหรดล้อการเมืองของทั้งสองมหาวิยาลัยว่าจะเฉียบคม เผ็ดมันเพียงใด ยังจำได้ว่าในยุคที่จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่เราถือว่าเป็นยุคเผด็จการ ยังมีการล้อจอมพล ประภาส จารุเสถียร ซึ่งนอกจากเป็นรองนายกรัฐมนตรีแล้วยังเป็นอธิการบดีด้วย โดยให้ลูกสาวของจอมพล ประภาส ซึ่งกำลังเรียนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่งตัวแต่งหน้าเป็นจอมพลประภาส เดินอยู่ในขบวนพาเหรด ทำเอาผู้ชมทั้งในสนามและที่ชมการถ่ายทอดสด หัวเราะชอบใจกันอย่างมาก

ในยุคหลังๆ งานฟุตบอลประเพณีฯ ได้รับความสนใจน้อยลง ความอลังการของงานโดยรวมก็ดูจะน้อยลง ที่ยังทำได้อย่างคงเส้นคงวาต้องยอมรับว่ารักษาความยิ่งใหญ่ได้ตลอดการก็คือ การเชียร์และการแปรอักษรที่ก้าวล้ำขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ

มาถึงตรงนี้ อยากจะขอเล่าประสบการณ์ของตัวเองเกี่ยวกับฟุตบอลประเพณีฯสักนิด เมื่อสมัยที่ศ.คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี ศ.(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตรเป็นรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ผมเป็นผู้ช่วยอ.นรนิติ สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องค์กรที่รับผิดชอบการจัดขบวนพาเหรดล้อการเมืองคือ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์หริอ อมธ ซึ่งการจัดขบวนพาเหรดในระยะนั้น ได้รับวิพากษ์วิจารณ์จากศิษย์เก่าและผู้สนใจว่า ความอลังการและความเฉียบคมดูจะด้อยลง แทนที่จะมีขบวนพาเหรดที่แปลกใหม่ กลับมีแต่ป้ายผ้าที่เขียนข้อความที่เกี่ยวกับการเมืองเดินรอบสนาม แค่นั้นทุกปี ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า อมธ เห็นว่างานฟุตบอลประเพณีฯเป็นงานที่ฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลืองมากเกินไป จนในปีหนึ่งซึ่งจำไม่ได้ว่าปีใด อมธ ถึงกับประกาศอย่างกระทันหันว่าจะไม่เข้าร่วมจัดขบวนพาเหรดในงานฟุตบอลประเพณีโดยสิ้นเชิง

 

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องแก้ปัญหา เริ่มจากการเจรจากับอมธ ซึ่งไม่เป็นผล อ.นรนิติจึงมอบให้ผมช่วยจัดขบวนพาเหรดแทนอมธ ซึ่งมีเวลาประมาณ 10 วันก่อนวันงานเท่านั้น คนที่ผมนึกถึงคนแรกก็คือ อ.เสรี วงศ์มณฑา จึงไปขอให้ท่านมาเป็น creative director และยังมีอาจารย์คณะวารสารศาสตร์ฯและอาจารย์ที่สนิทกันอีกหลายคน รวมทั้งนักศีกษาชุมศิลปการแสดง อีกหลายคนมาช่วยกันทำงานกันอย่างหามรุ่งหามค่ำจนงานออกมาได้และไดัรับคำชมในที่สุด จำได้ว่าผู้ที่โดนเราล้อมากที่สุดก็คือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถึงขั้นที่อ.เสรีถูกคนมาต่อว่าในสนามว่า ทำไมไปล้อท่านพลเอก เปรม เลยทีเดียว

หลายท่านคงทราบว่า ฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาตร์ ได้ว่างเว้นไปถึง 4 ปีเพราะการแพร่ระบาดของโควิด ในปลายปีที่ผ่านมาเมื่อความรุนแรงของการแพร่ระบาดคลี่คลายลง จึงมีดำริจะจะกลับมาจัดงานฟุตบอลประเพณีกันอึกครั้ง และในครั้งนี้เป็นวาระที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นเจ้าภาพ แต่ปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯไม่พร้อมจึงปฏิเสธที่จะจัด สมาคมธรรมศาสตร์เห็นว่าจัดงานฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ จึงให้เลื่อนการจัดงานออกไปอีก แต่ดูเหมือนผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งสองจะเกรงว่า จะมีนิสิตนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสงานฟุตบอลประเพณีฯเพราะได้ว่างเว้นกันมาถึง 4 ปี จึงได้ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดกันขึ้นเองโดนไม่มีสมาคมศิษย์เก่าทั้งสองเข้าร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “ฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬา-ธรรมศาสตร์” และมอบให้นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันไปจัดกันเอง โดยมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุน ซึ่งก็น่าจะเป็นการช่วยหาสปอนเซ่อร์สนับสนุนงาน ทราบว่าได้สปอนเซ่อร์รายใหญ่ๆมาเป็นจำนวนมาก

องค์กรที่รับผิดชอบจัดงานก็เห็นว่าเป็นองค์การบริหารนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ อบจ และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์หรือ อมธ โดยไม่มีชุมนุม ชมรมเชียร์ของ และสมาคมศิษย์เก่าของทั้งสองมหาวิทยาลัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทีมฟุตบอลก็ใช้ทีมนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ไม่มีนักฟุตบอลที่เป็นศิษย์เก่าซึ่งเป็นนักฟุตบอลทีมชาติหลายคนเข้ามาร่วมด้วยแต่อย่างใด

ภาพของงานฟุตบอลครั้งนี้จึงออกมาอย่างที่เห็น อย่าไปโทษใครเลยครับ โทษได้อย่างเดียวว่า การตัดสินใจจัดงานนี้ขึ้นมาทดแทนงานฟุตบอลประเพณีฯเป็นการตัดสินใจที่ผิดของผู้บริหารของทั้งสองมหาวิทยาลัย เพราะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี หากจะบอกว่า เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสงานฟุตบอลประเพณีฯสักครั้ง ก็ต้องบอกว่า ประสบการณ์ที่ได้รับจากงาน “ฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬา-ธรรมศาสตร์” กับงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ เป็นประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และกลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และกลายเป็นความขัดแย้งแตกแยกในสังคมขึ้นมาโดยไม่จำเป็น

พูดอีกอย่างหนึ่งคือ อยู่เฉยๆแล้วรอให้สมาคมศิษย์เก่าเขากลับมาจัดอีกครั้งในปีต่อไปจะดีกว่าผมไม่ติดใจในรูปแบบของงานสักเท่าใด เช่นการใช้จอ LED มาแทนการแปรอักษร เพราะหากไม่มีชมรม ชุมนุมเชียร์มาจัดแปรอักษร อบจ อมธ ก็คงไม่สามารถจะทำเองได้ เพียงแต่การเช่าจอ LED จำนวนมากเช่นนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยไปกว่าการแปรอักษรด้วซ้ำ จึงไม่ทราบว่าทำไปทำไมหากต้องการประหยัด เช่นเดียวกับการเชิญพระเกี้ยว ก็ไม่ทราบทำไปทำไม เพราะการเชิญพระเกี้ยวเป็นกิจกรรมที่เป็นประเพณีของงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องไปเอาประเพณีเดิมมาใช้

หากคิดจะจัดงานใหม่ขึ้น ทำไมไม่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างกิจกรรมรูปแบบใหม่ๆที่แตกต่างให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจ เป็นที่กล่าวขวัญถึง แทนที่จะนำเอาสัญญลักษณ์ที่ชาวจุฬารุ่นก่อนๆเขาให้ความเคารพมาทำในรูปแบบที่เขาเห็นว่าไม่เหมาะสม ไม่ว่าผู้จัดและแนวร่วมจะพยายามอธิบายแก้แทนอย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าความแตกแยกขัดแย้งที่มีอยู่แล้วได้เพิ่มพูนขึ้นอีกไม่น้อย

มีคำอธิบายของการจัดงานนี้อยู่ 2 คำอธิบาย หนึ่งคือ ผู้จัดงานมีความสามารถเพียงเท่านี้ สองคือผู้จัดตั้งใจที่จะท้าทายรุ่นพี่ที่ตัวเองมองว่าเป็นไดโนเสาร์ และรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา หรือว่าเป็นทั้ง 2 แบบก็ไม่ทราบนะครับ

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส
ซาอุฯเคยเตือนเยอรมนีเรื่องคนร้ายโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น