“ไบโพลาร์” ไม่ใช่เรื่องตลก 7 วิธีรับมืออย่างเข้าใจและเหมาะสม

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก 7 วิธีรับมืออย่างเข้าใจและเหมาะสม

"ไบโพลาร์" ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

TOP News ชวนเข้าใจ “ไบโพลาร์” ในช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นคำว่า Bipolar ผ่านตาผ่านหูให้ได้ยินกันบ่อยครั้ง คำดังกล่าวมาจากโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่คนเข้าใจในภาพรวมว่าเป็นคนที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวดีใจเสียใจสลับกันไปมา ซึ่งก็ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ไม่ผิด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องตลก ที่จะเอามาล้อเล่น ถ้าหากมีคนใกล้ตัวเป็น Bipolar ขึ้นมาล่ะ เราจะมีวิธีพูดสื่อสารอย่างเข้าใจ รับมืออย่างเหมาะสมได้อย่างไรกัน

ข่าวที่น่าสนใจ

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

“ไบโพลาร์” ?

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือที่เรามักเรียกกันทั่วไปว่า ไบ โพ ลาร์ (Bipolar Disorder) สาเหตุสำคัญเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียด สารเสพติด การเลี้ยงดู เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า สลับอารมณ์ดีผิดปกติ ราวกับเป็นคนละคน ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 1 สัปดาห์ แบ่งเป็น

  1. โรค ไบ โพ ลาร์ วัน (Bipolar I) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยนั้นมีสภาวะอารมณ์ดีอย่างผิดปกติ หรือ แมเนีย (Mania) สลับกับช่วงซึมเศร้า (Depressed) หรือบางรายอาจมีอาการ แมเนีย เพียงอย่างเดียวก็ได้ โดยในกลุ่มนี้อาการ แมเนีย จะชัดเจน
  2. โรค ไบ โพ ลาร์ ทู (Bipolar II) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยนั้นมีสภาวะอารมณ์ซึมเศร้า (Depressed) สลับกับสภาวะอารมณ์ดีอย่างไม่รุนแรง (Hypomania) หลายครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้าเพราะมีอารมณ์เศร้าที่คล้ายคลึงกัน
  3. โรคไซโคลโทมิก (Cyclothymic disorder) หรือโรคอารมณ์หมุนเวียน เป็นโรคที่มีอาการระหว่างภาวะซึมเศร้า (Depressed) และอารมณ์ดีอย่างไม่รุนแรง (Hypomania) โดยมีอาการเป็นจำนวนมาก แต่ไม่รุนแรง
  4. กลุ่มโรค ไบ โพ ลาร์ อื่น ๆ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักมีอาการแสดงของภาวะอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ แต่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยของ ไบโพลาร์วัน ไบโพลาร์ทู และไซโคลโทมิก ซึ่งการวินิจฉัยโรคนี้ จะต้องให้จิตแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย?

ผู้ป่วยโรค ไบ โพ ลาร์ จะเกิดการแบ่งอารมณ์เป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน ได้แก่ ขั้วอารมณ์คึกคัก (Mania) หรืออารมณ์ดีผิดปกติ และขั้วซึมเศร้า (Depress) โดยระยะเวลาในการแสดงอาการของแต่ละขั้วอาจยาวนานหลายวัน หรืออาจยาวนานหลายสัปดาห์

อารมณ์ของผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วง ๆ บางคนอาจมีอารมณ์คึกคักก่อน แล้วจึงมีอาการแบบซึมเศร้าขึ้นมา หรืออาจจะสลับกับอาการปกติต่อเนื่องกันไป โดยอารมณ์ดีผิดปกติ อาทิ

  • คึกคัก มีกำลังวังชา
  • ไม่ยอมหลับ
  • พูดมาก
  • หงุดหงิดง่าย
  • เชื่อมั่นในตัวเองสูง
  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • มีอารมณ์ทางเพศสูง

ส่วนอารมณ์เศร้าผิดปกติ ได้แก่

  • เศร้า หดหู่
  • ไม่อยากพบใคร
  • ไม่อยากทำอะไร
  • คิดช้า ไม่มีสมาธิ
  • คิดลบ
  • คิดสั้น เป็นต้น

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

สัญญาณเตือน?

โรค “ไบโพลาร์” เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้คำแนะนำถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น ไบ โพ ลาร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ
  • มีอาการต่าง ๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพลาร์
  • พูดเร็ว
  • หงุดหงิดง่ายในบางกรณี
  • ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • อารมณ์ดีมากเกินไป หรือที่เรียกว่า ไฮเปอร์
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง

วิธีรับมือ Bipolar ?

วันนี้เราได้รวบรวมวิธีคุยกับคนเป็น ไบ โพ ลาร์ มาไว้แล้ว เชื่อว่าหากได้นำวิธีที่แนะนำไปปรับใช้กับแนวทางการสื่อสารของตนเอง จะสามารถอยู่ร่วมกับคนเป็น ไบ โพ ลาร์ ได้อย่างเข้าใจและมีความสุขได้ ดังนี้

  1. ไม่ว่าจะช่วงซึมเศร้าหรือช่วงอารมณ์ดีผิดปกติ หลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยก็อาจจำเป็นต้องมีคนข้าง ๆ คอยช่วยเหลือ เราจึงควรบอกว่า ฉันอยู่ข้าง ๆ และพร้อมที่จะช่วยเหลือเธอนะ
  2. หลายครั้งผู้ป่วยมักเกิดการด้อยค่าและโทษตนเองถึงสิ่งที่เป็นอยู่ เราสามารถอยู่ร่วมโดยเข้าใจและบอกกลับไปว่า มันไม่ใช่ความผิดของเธอนะ
  3. ถามและพูดคุยในเรื่องของอาการ จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทบทวนตนเอง เช่น ช่วงเวลาไหนที่เธอมักจะอารมณ์เศร้า และเธอจัดการอารมณ์ยังไง หรือ เวลาที่ความคิดแล่นเข้ามาในหัวจนเยอะไปหมด เธอจัดระเบียบความคิดอย่างไร เป็นต้น
  4. ฉันยังเป็นเพื่อนเธอเหมือนเดิมนะ นี่คืออีก 1 วิธีสื่อสารกับคนที่เป็น ไบ โพ ลาร์ เพราะหลายคนจะหลีกเลี่ยงพูดคุย หรือตีตัวออกห่างไม่อยากอยู่ร่วม จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าแย่
  5. หลีกเลี่ยงคำว่า ฉันเข้าใจนะ แม้วิธีพูดกับคนเป็น ไบ โพ ลาร์ นี้อาจดูเหมือนเป็นคำที่ดี แต่ก็ไม่เสมอไป ผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ อาจเข้าใจผิด ให้ลองพูดว่า ฉันอยากเข้าใจนะ ช่วยเล่าให้ฉันฟังหน่อยได้ไหม
  6. สะท้อนในสิ่งที่เขาเป็นและประสบอยู่ เช่น ฉันเห็นนะว่าสำหรับเธอมันคงยากลำบากมาก ๆ แบบนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเรานั้นสามารถรับรู้ได้ถึงความยากลำบากของเขาโดยไม่เป็นการตัดสิน หรือตีความจากความเชื่อของตัวเราเอง
  7. ชื่นชมในสิ่งที่ดีของเขา ไม่ว่าจะเป็นการที่เขานั้นไปหาคุณหมอและทานยาอย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาในการจัดการอารมณ์ที่ดีขึ้น การที่เราชื่นชมในส่วนที่เขาทำได้ดี ก็จะเป็นกำลังใจที่ดีมาก ๆ สำหรับเขา

การรักษา?

ในปัจจุบัน โรค ไบ โพ ลาร์ สามารถรักษาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่ผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ ที่รับการรักษา สามารถกลับมาใช้ชีวิต ทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน ได้เหมือนกับคนทั่วไป โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น

  1. การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองของผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติ
  2. การบำบัดทางด้านสังคมจิตใจ รับการปรึกษาและการทำจิตบำบัด
  3. คนรอบข้างช่วยกันดูแล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรับการรักษา

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย ไบ โพ ลาร์ ที่เข้ารับการรักษา จะต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน คนรอบข้างก็ต้องทำความเข้าใจและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ เพราะโรค ไบ โพ ลาร์ สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 – 90 โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น ได้แก่ เหตุการณ์สะเทือนใจ เหตุการณ์พลิกผันในชีวิต ภาวะเครียด และการใช้สารเสพติด

ไบโพลาร์ ไม่ใช่เรื่องตลก รู้จักเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เช็คสัญญาณเตือนก่อนจะสาย แม้รักษาได้แต่ไม่หายขาด กลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80 - 90

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวเมืองน่าน เข้าพบ "นิพนธ์" อดีตรมช.มหาดไทย ผลักดันพิสูจน์สิทธิ ออกโฉนดที่ดินสำเร็จ หลังรอคอยนานกว่า 30 ปี
"สันติสุข" ปลื้มปริ่ม "ในหลวง-พระราชินี" ทรงขับเครื่องบิน เสด็จฯเยือนราชอาณาจักรภูฏาน ทรงได้รับการถวายพระเกียรติ สุดประทับใจคนไทย
“ทักษิณ” ลั่นไม่สั่งใครเบรค “กัน จอมพลัง” ยุ่งคดีพีช ฟาด "เต้ มงคลกิตติ์" หลังปูดข่าว
"เจ้าอาวาส" สุดทนขึ้นป้าย “ไม่มีเงินให้ขโมยแล้ว” หลังคนร้ายงัดตู้บริจาคหลายครั้ง
“ทักษิณ” กลับเชียงใหม่อีกครััง เปิดให้รดน้ำดำหัว ขอพรในเทศกาลสงกรานต์ ก่อนช่วย “อัศนี” หาเสียงพรุ่งนี้
“นายกฯ” เตรียมลุยประชุม ครม.สัญจร หลังออกจาก รพ.แล้ว จ.นครพนม 28-29 เม.ย.นี้
"ดีอี" ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบ “โจรออนไลน์”
"กนก" โพสต์แฟนข่าว "ท็อปนิวส์" เต็มอิ่ม สนุกสุดทัวร์ย้อนประวัติศาสตร์ "ลั่วหยาง-ซีอาน"
อุตุฯ เตือนรับมือ "พายุฤดูร้อน" 45 จังหวัด ฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง กทม.โดนด้วย
ก่อนคิดถึง "กาสิโน" บังคับใช้กม.ให้ได้ก่อน 2 ปีคดีฟอกเงิน "นอท" ไม่คืบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น