“บิ๊กโจ๊ก” มีสิทธิ์ชิงผบ.ตร. “พล.ต.อ.เอก” ระบุไม่เป็นข้อจำกัด

"บิ๊กโจ๊ก" มีสิทธิ์ชิงผบ.ตร. "พล.ต.อ.เอก" ระบุไม่เป็นข้อจำกัด

จากกรณีที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เข้ารับทราบข้อกล่าวหาสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน ที่สน.เตาปูน และได้รับการประกันตัว เมื่อเย็นวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ต่อมามีกระแสข่าวว่าจะมีการพิจารณาดำเนินการทางวินัยกับพล.ต.อ.สุรเชษฐ์หรือไม่นั้น

 

 

ล่าสุด วันนี้ (4 เม.ย.67) พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความเห็นกรณีดังกล่าวว่า มีประเด็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไป 2 เรื่อง คือ 1.การดำเนินคดี ล่าสุดพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน เรื่องคดีจะต้องมีการสืบสวนสอบสวนในชั้นพนักงานสอบสวน จะมีการสรุปการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนโดยมีความเห็นว่าจะสั่งฟ้อง หรือไม่สั่งฟ้องไปยังอัยการ หากอัยการสั่งฟ้องก็จะส่งต่อไปที่ศาล หากสั่งไม่ฟ้องจะต้องส่งสำนวนกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อมีความเห็น ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นแย้งไม่เห็นด้วยกับอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง ก็ต้องส่งไปให้อัยการสูงสุดเพื่อสั่งวินิจฉัยชี้ขาด

พล.ต.อ.เอก ระบุว่า หากชี้ขาดประการใดก็ยุติไปตามนั้น หากเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเมื่อมีการฟ้องร้องต่อศาลจะเป็นไปตามกระบวนกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ ก็ไปดำเนินการในเรื่องของการพิจารณาในชั้นศาล จนศาลมีคำพิพากษาตัดสิน จะศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงของการตัดสินแต่ละศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ตามกรอบระยะเวลาซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรในการพิจารณาคดีนี้

พล.ต.อ.เอก กล่าวอีกว่า อีกส่วนหนึ่งกรณีข้าราชการต้องหาคดีอาญาจะต้องมีการรายงานโดยตัวผู้ถูกกล่าวหาคือพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาคือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงแม้ในขณะนี้จะไปช่วยราชการอยู่ แต่มีรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอยู่ เพื่อจะให้มีการพิจารณาดำเนินการทางวินัย ซึ่งรายงานดังกล่าวจะประกอบกับรายงานส่วนที่พนักงานสอบสวนที่รับเรื่องที่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์เข้ามอบตัวได้รายงานพฤติกรรมเกี่ยวกับคดี ส่งมาให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาในการตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง หรือตั้งกรรมการพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย ก็อยู่ในดุลยพินิจหรือในอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ส่วนการพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย คณะกรรมการที่ดำเนินการสามารถมีความเห็นว่าผิดหรือไม่ผิด จะเป็นวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง หากวินัยร้ายแรงสามารถเสนอความเห็นให้มีการลงโทษ จะไล่ออก ปลดออก เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่มีการสอบสวน เรื่องวินัยเป็นกระบวนการที่แยกออกมา และสามารถสรุปความผิดทางวินัยได้โดยไม่ต้องรอผลทางคดีอาญา ซึ่งมีกรอบเวลาในการพิจารณา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนหรือจะมีการตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย คาดว่าขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยจะรวบรัดได้เร็วว่าการดำเนินการในส่วนของคดีอาญา เพราะว่ากระบวนการในการพิจารณาชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ไม่เหมือนคดีอาญาเวลาที่จะกล่าวหากล่าวโทษใครว่าต้องคดีอาญาที่มีโทษจำคุกจะต้องดูพยานหลักฐานให้แน่ชัดให้ชัดเจนถ้ายังไม่ตัดสิน การถูกกล่าวหายังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญรองรับ ส่วนทางวินัยการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ แม้ว่าจะไม่มีพยานหลักฐานชัดเจนจนฟังว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรงถึงลงโทษให้ไล่ออก ปลดออก แต่คณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาพิจารณาว่าการกระทำทั้งหมดมีมลทินมัวหมอง หากอยู่ไปก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายอาจมีความเห็นให้ออกจากราชการไว้ก่อนได้

 

เมื่อถามถึงกระบวนการพิจารณาพักราชการให้ออกจากราชการ รักษาราชการแทนสามารถดำเนินการได้หรือไม่ พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า เป็นอำนาจของรักษาการ แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผบ.ตร.อำนาจเป็นของนายกรัฐมนตรี แต่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นรองผบ.ตร. ผู้บังคับบัญชาคือคนที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในขณะนี้คือรักษาราชการราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 

เมื่อถามถึงประเด็นการถูกดำเนินคดีอาญาจะส่งผลต่อการมีชื่อเป็นแคนดิเดตผบ.ตร.คนต่อไปหรือไม่ พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ประเด็นนี้จริง ๆ แล้ว ข้อมูลทั้งหลายมีกระบวนการดำเนินการทั้งทางคดีอาญาและทางวินัย คงต้องมีระยะเวลาในการดำเนินการ หากถามว่าจะเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายเหมือนอย่างที่มีข้อสันนิษฐานหรือมีคนสงสัยมาตลอดว่าการดำเนินคดีอาญาเป็นเรื่องของการเตะตัดขา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ผมขอบอกว่ากระบวนการแต่งตั้งผบ.ตร. เริ่มขึ้นประมาณเดือนต.ค.67 ซึ่งส่วนนี้กฎหมายให้อำนาจนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่เป็นแคนดิเดต 4 คน รวมถึงพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ด้วย

เมื่อถามว่าขณะนี้ทางพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ อาจถูกตั้งกรรมการและถูกดำเนินคดีอาญาจะเป็นข้อจำกัดสิทธิ์หรือไม่ พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ขอยืนยันว่ายังไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิ์ เพราะนายกรัฐมนตรีสามารถเสนอชื่อของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ได้ ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้ ทั้งอาวุโส ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสืบสวนสอบสวน และเรื่องความประพฤติ ก็จะมีประเด็นที่สังคมมีคำถามว่าต้องหาคดีอาญาหรือโดนตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยจะมีความเกี่ยวข้องเป็นข้อพิจารณาได้หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้แล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างไร ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาและเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ให้ความเห็นชอบซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์สามารถเสนอได้ ส่วนข้อจำกัดตามที่กล่าวอ้างหรือมีประเด็นที่สอบถามกันจะต้องแล้วแต่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา

 

 

 

ส่วนกรณีของพล.ต.อ.ต่อศักดิ์จะถูกดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเหมือนกับพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งก็เป็นไปตามกระบวนการ หากข้อเท็จจริงเวลานี้ที่ปรากฏ มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับเงินจากบัญชีม้า พนักงานสอบสวนก็ต้องมีการเปิดคดีดำเนินการสืบสวนสอบสวน ก็จะต้องมีพยานหลักฐานที่จะกล่าวหา หากพยานหลักฐานเพียงพอก็จะมีความเห็นทางคดี หากอัยการฟ้องต่อที่ศาล หากตำรวจฟ้องหรืออัยการไม่ฟ้อง ก็จะถูกตีกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถทำความเห็นแย้งให้แก่อัยการสูงสุดวินิจฉัยได้

 

 

ณ.เวลานี้มีการเปิดประเด็นที่จะไปร้องเรียนเอาผิดทางวินัยกับ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ การดำเนินการนี้ประชาชนอาจจะยังไม่คุ้นชิน โดยทนายตั้ม ได้นำข้อเท็จจริงที่ร้องคดีอาญา มาร้องเรียนต่อคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้มีจำนวน 9 คน โดย 3 ใน 9 เป็นตำรวจที่ผ่านการคัดเลือกตามระบบ คือ พล.ต.ท. สรศักดิ์ เย็นเปรม ประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ส่วนอีก 2 ท่าน คือ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน และพล.ต.ท. เรวัช กลิ่นเกษร คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ ก.ร.ตร. นอกจากตำรวจ 3 ท่านแล้วทางกฎหมายก็ยังกำหนด ให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการเสร็จเลือกผู้แทนมา 1 คน ส่วนคนที่ 5 ให้สภาทนายความเลือกทนายความที่ว่าความมีประสบการณ์กว่า 20 ปี คือ เลขาสภาทนายความ ส่วนอีก 2 ท่านเป็นผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการตุลาการพิจารณาผู้พิพากษาระดับศาลอุทธรณ์ 1 ท่านมาร่วมในคณะนี้ และคณะกรรมการอัยการชั้นผู้ใหญ่ 1 ท่านเข้ามาร่วม แต่ยังขาดอยู่ อย่างไรก็ตามทางกฎหมายระบุว่าเมื่อมี 7 คนก็สามารถดำเนินการได้

 

ตามข่าวที่ปรากฏก็จะพบว่าทนายตั้มได้นำเรื่องไปร้องเรียน และเมื่อวานก็ยังมีกรณีพี่มาเปิดประเด็นกรณีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกรณีไปเซ็นชื่อรับเข็มวปอ.ที่สน.สุทธิสาร เช่นเดียวกันนี้ก็นำมาเปิดกับข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏว่าไปเซ็นชื่อแทน ก็จะได้เห็นบทบาทว่าคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจจะดำเนินการเรื่องทางวินัย หากไม่พบมูลความผิดก็สั่งยุติตกไป หากมีมูลก็สามารถไต่สวนพิจารณาหลักฐานต่างๆ หากพบการกระทำผิด ก็ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาตำรวจลงโทษได้ทันที หากบทโทษร้ายแรง เน้นย้ำให้ใช้คำว่าไต่สวน โดยจะฟังทั้งสองฝ่ายและให้ความเป็นธรรม

และขอย้ำว่าการร้องเรียนเรื่องของตำรวจการมี ก.ร.ตร. ถือเป็นเรื่องสำคัญในการสนับสนุนการทำงาน ไม่ว่าตำรวจจะทำผิด ก็จะมีการพิจารณาลงโทษโดยองค์กรกลาง มีอำนาจกว้างขวาง โดยพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ก็จะถูกโทษดำเนินคดีอาญาแล้วก็จะถูกกล่าวหาในทางวินัย และดำเนินการตามกรอบระยะเวลาเดียวกัน ประมาณ 120 วัน หากพบมูลการกระทำผิด ก็จะต่อเวลาขยายได้อีก 270 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น