“สมศักดิ์-พวงเพ็ชร” โบ้ยดูแล “สภาผู้บริโภค” สุดโป๊ะสส.ก้าวไกลเคยติงหนักใช้งบฯ

"สมศักดิ์-พวงเพ็ชร" โบ้ยดูแล "สภาผู้บริโภค" สุดโป๊ะสส.ก้าวไกลเคยติงหนักใช้งบฯ

“สมศักดิ์-พวงเพ็ชร” โบ้ยดูแล “สภาผู้บริโภค” สุดโป๊ะสส.ก้าวไกลเคยติงหนักใช้งบฯ

ติดตามต่อเนื่องกับประเด็นที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ จากการที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้นำเสนอความเห็นผ่าน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อประกอบความเห็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า มีความจำเป็นต้องให้ สภาองค์กรของผู้บริโภค ทบทวนวิธีการทำงาน หลังจากมีการยื่นของบประมาณกลางปี 2568 จำนวน 360 ล้านบาท

และที่ประชุมครม.มอบหมายให้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอของสภาพัฒน์ ไปพิจารณาประกอบการจัดสรรงบประมาณ ให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อทำให้การใช้งบประมาณดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยข้อเสนอของสภาพัฒน์ ซึ่งรายงานความเห็นประกอบการพิจารณา การยื่นขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปี ของ สภาองค์กรของผู้บริโภค ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

1. สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณากำหนดและเพิ่มตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อน ผลลัพธ์ไปยังประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

2. สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรม ในแผนงานพัฒนานโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมในลักษณะการประชุมสัมมนาหรือการประชุม หารือระยะสั้นเพียง 1-2 ครั้ง ในแผนงาน เพราะงบฯส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าเดินทาง ซึ่งอาจไม่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือด้านนโยบายที่กำหนดไว้

3.เนื่องด้วยงบประมาณกว่า 40% เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานในแผนงานสนับสนุนสมาชิก หน่วยงานประจำจังหวัด หน่วยงานเขตในพื้นที่ โดยเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกและหน่วยงานในพื้นที่

ดังนั้น สภาองค์กรของผู้บริโภค ควรพิจารณาประสานใช้กลไกการดำเนินงานของหน่วยงานอื่นที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีเครือข่ายหลัก กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 500 เครือข่าย

และหากจำเป็นต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานประจำจังหวัดเพิ่ม สภาองค์กรของผู้บริโภคควรต้องคำนึงถึงความซ้ำซ้อนกับกลไกอื่นที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ด้วย หรืออาจพิจารณาจัดตั้งในลักษณะของเขตพื้นที่ที่เป็นการรวมกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้การใช้งบประมาณเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากที่สุด

สภาผู้บริโภค

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาประเด็นดังกล่าวทาง Top News ได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมจาก นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับบทบาทของสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ประชาชนจำนวนหนึ่งให้ความเห็นว่าไม่รู้จัก และ รู้สึกสงสัยเกี่ยวกับตัวเลขการเบิกใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปี จนถูกตั้งคำถามว่างบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไปแล้วกว่า 500 ล้านคุ้มค่าหรือไม่ และในปี 2568 ได้ของบประมาณจากรัฐบาลอีกถึง 360 ล้านบาท

ทั้งนี้ นางพวงเพ็ชร ระบุ ว่า กำลังดำเนินการหาข้อมูล เพราะเข้าใจมีคนร้องมาให้ตรวจสอบหลายคน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี

 

ขณะเดียวกันทีมงานของนางพวงเพ็ชร ได้ส่งเอกสารชี้แจงผลการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค อ้างว่า ปี 2565 มีผู้บริโภคร้องเรียน 14,941 เรื่อง สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคจนได้ข้อยุติ ร้อยละ 91 , ปี 2566 มีผู้บริโภคร้องเรียน 16,142 เรื่อง สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคจนได้ข้อยุติ ร้อยละ 79.52

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับผลการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค แต่ก็มีองค์ประกอบให้พิจารณาว่าผลงานดังกล่าว เหมาะสม เพียงพอ กับเม็ดเงินงบประมาณหรือไม่ กับปริมาณปัญหาของผู้บริโภคในแต่ละวัน ไม่นับรวมความซ้ำซ้อนกับการทำงานของหน่วยงานรัฐอื่น ๆ และข้อกังวลของสภาพัฒน์ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ ในการจัดกิจกรรม สัมมนา ทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้มีการตรวจสอบหรือไม่ อย่างไร

 

 

 

ล่าสุด ประเด็นนี้ ทาง Top News ได้สอบถามเพิ่มเติมจาก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้กำกับดูแล สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลว่า จากรายงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ขออนุญาตจัดตั้งจากทุกจังหวัด ขณะนี้ทั่วประเทศมี 335 แห่ง โดยได้รับทุนประเดิมเมื่อปี 2564 จำนวน 350 ล้านบาท

แต่การทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสำนักปลัดสำนักนายกฯ คือ มีอำนาจหน้าที่แค่ดูแล อนุมัติการของบประมาณของสภาองค์กรของผู้บริโภค และตรวจสอบการใช้งบประมาณ โดยหน่วยงานนี้ไม่ได้ขึ้นตรงกับและหน่วยงานของรัฐบาล คือ เป็นองค์กรอิสระและทำงานในลักษณะของการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเข้าใจว่าองค์กรนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียนทั้งหมดของผู้บริโภค

 

“ทั้งนี้เมื่อสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่งคำร้องของบประมาณผ่านสำนักปลัดสำนักนายกฯมา จากนั้นเรื่องจะถูกส่งไปให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณา ซึ่งในส่วนของนางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เจอกันแค่ 1-2 ครั้งที่มาแนะนำตัวเท่านั้น ซึ่งปลัดสำนักนายกฯ จะเป็นผู้รับเรื่องที่เสนอมา”

เมื่อถามว่านโยบายของรัฐบาลจะมีการเข้าไปกำกับการใช้งบฯของสภาองค์กรของผู้บริโภค อย่างไร ให้เกิดความคุ้มค่าโปร่งใส นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สามารถที่จะยื่นเรื่องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณได้ แต่ทางสำนักปลัดสำนักนายกฯคงจะมีการกำชับเรื่องนี้อยู่แล้ว ใครจะเอาไปใช้เถลไถลไม่ได้หรอกก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า ซึ่งหากพบส่วนไหนมีการทุจริตสามารถร้องเรียนเข้ามาได้

“ถ้าประชาชนหากมีเรื่องร้องเรียนเดือดร้อน ก็ไปร้องเรียนสภาองค์กรของผู้บริโภคให้มาก ส่วนการแบ่งสรรงบประมาณอะไรนั้น ตนไม่ทราบว่าทางผู้รับผิดชอบเขามีการแบ่งสรรกันอย่างไร”

 

 

 

ทั้งนี้หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ซึ่งมีการประชุมสภาฯ โดยมีวาระพิจารณาคือ สภาองค์กรของผู้บริโภคได้เข้าชี้แจงผลงานคุ้มครองผู้บริโภคในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งนางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นผู้กล่าวชี้แจงผลการทำงาน พบว่า สส.หลายคนได้อภิปรายท้วงติงการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค

อาทิ นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นเรื่องการประชาสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สภาองค์กรของผู้บริโภค” ขาดการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชน และควรเน้นหนักไปที่การทำให้สภาผู้บริโภคเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อลดความสับสนระหว่างสภาผู้บริโภคและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. พร้อมตั้งข้อสังเกตใน 3 ประเด็น คือ

 

1.เรื่องเงินสนับสนุนเครือข่ายสนับสนุนสมาชิก 18 ล้านบาท ใช้เกณฑ์อะไรในการสนับสนุนองค์กรสมาชิก มีข้อชี้วัดอย่างไรว่าจะให้หรือไม่ให้อย่างไร เพราะรายชื่อภาคีเครือข่ายแต่ละคน บางองค์กรก็แทบไม่เคยได้ยินชื่อเลยด้วยซ้ำ บางองค์กรโทรศัพท์ไปก็โทรไม่ติดด้วยซ้ำ

2.งบประมาณโครงการประชาสัมพันธ์สำหรับจ้างที่ปรึกษา 8 ล้านบาทนั้น ใช้งบมากเกินไปหรือไม่ เพราะเมื่อคิดต่อเดือนแล้วอยู่ที่ประมาณ 6-7 แสนบาท และงบ 8 ล้านบาทนี้รวมถึงการสร้างสื่อโฆษณาหรือไม่ แต่จากที่อ่านน่าจะไม่รวม เพราะมีงบในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ จึงขอให้เปิดสัญญา 8 ล้านบาทนี้ ถ้าแค่ที่ปรึกษาตนว่ามากเกินไป และ

3.งบประมาณที่ขอเพิ่มเติมในปีถัดไป 350 ล้านบาท หรือ ประมาณ 5 บาทต่อจำนวนประชากร มีแผนอย่างไร

 

 

ด้าน นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ สส.กทม. พรรคก้าวไกล ได้ขอให้สภาองค์กรของผู้บริโภคชี้แจงเพิ่มเติม เรื่อง การให้เงินสนับสนุนสมาชิกของสภาผู้บริโภค เนื่องจากสมาชิกหลาย ๆ องค์กรของสภาผู้บริโภคถูกตรวจสอบว่ามีการจัดตั้งขึ้นถูกต้องหรือไม่ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาด้านการสื่อสารนั้นมีการจัดจ้างอย่างไร

อีกประเด็นคือการใช้เงินสดหรือรายจ่ายทรัพย์สินไม่มีตัวตนถึง 9.6 ล้านบาท ในการใช้สร้างเว็บไซต์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยมีความคิดเห็นว่าราคากลางในการพัฒนาระบบอาจไม่สูงเท่าที่แจ้งไว้ ส่วนผลลัพธ์จากการใช้งบประมาณเกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคที่สภาผู้บริโภคนำเสนอนั้นเห็นว่าไม่สอดคล้องกับงบประมาณในการลงทุนและอาจต้องพิจารณางบส่วนนี้เพิ่มเติม

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น