เจาะลึก “สภาผู้บริโภค” ผลงานคุ้มค่าเงินภาษีหรือไม่?

เจาะลึก "สภาผู้บริโภค" ผลงานคุ้มค่าเงินภาษีหรือไม่?

เจาะลึก “สภาผู้บริโภค” ผลงานคุ้มค่าเงินภาษีหรือไม่?

จากกรณีสถานีข่าวท็อปนิวส์ ได้ติดตาม ขยายผลที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เสนอขอรับงบอุดหนุนเงินจ่ายขาดประจำปี งบประมาณ 2568 วงเงิน 360.10 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามกรอบงบประมาณ เมื่อวันที่ 20 ก.พ.67 นั้น

ต่อมา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้กำกับดูแลสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ต้องดูแลเรื่องการขออนุมัติงบประมาณ และการกำกับดูแล ติดตาม สภาองค์กรของผู้บริโภคให้เป็นไปตามตัวชี้วัดที่กฎหมายกำหนด ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวท็อปนิวส์เมื่อวันที่ 2 เม.ย.67

เจาะลึก สภาผู้บริโภค

 

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค ส่งคำร้องของบประมาณผ่านสำนักปลัดสำนักนายกมา จากนั้นก็จะต้องส่งไปให้สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณา ซึ่งเคยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเดิมเมื่อปี 64 เป็นเงินตั้งต้นแล้ว 350 ล้านบาท ได้รับประจำปี 2566 ได้งบกลางมา 153 ล้านบาท ในปี 2567 ได้รับการจัดสรร 149 ล้าน ซึ่งในปี 2568 ขอไป 360 ล้านบาทอยู่ระหว่างการพิจารณา หากจะมาถามตนในตอนนี้ ถือว่าเร็วไป หากอยากจะรู้รายละเอียดต้องไปตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งจะตรวจสอบให้ ซึ่งก็ไม่มีปัญหา

เมื่อถามว่านโยบายของรัฐบาลจะมีการกำชับกำกับการใช้งบประมาณแผ่นดินของสภาองค์กรของผู้บริโภคอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่าโปร่งใส ไม่เกิดการทุจริตได้ นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สามารถที่จะยื่นเรื่องให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณได้ ซึ่งทางสำนักปลัดสำนักนายกฯคงจะมีการกำชับเรื่องนี้อยู่แล้ว ใครจะเอาไปใช้เถลไถลไม่ได้หรอกก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า ซึ่งหากพบส่วนไหนมีการทุจริตสามารถร้องเรียนเข้ามาได้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อท็อปนิวส์ ตรวจสอบเรื่องนี้ในเชิงลึกก็พบว่า งบประมาณที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้รับแล้วนั้นจำนวน 503 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอผ่าน วุฒิสภา จำนวน 149 ล้านบาท ถือว่าได้แน่ๆอยู่แล้ว รวมเป็น 652 ล้านบาท และที่ยื่นขอกรอบวงเงินไปอีก 360 ล้านบาท ครม.ก็อนุมัติตามกรอบไปแล้ว ถ้าได้รับเต็มก็จะเท่ากับได้รับงบทั้งสิ้น 1,012 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินงบประมาณที่มาจากภาษีประชาชนจำนวนมาก แล้วสิ่งที่ สภาองค์กรของผู้บริโภคดำเนินการที่ผ่านมา คุ้มค่ากับเงินงบประมาณหรือไม่ ผลงานการช่วยเหลือประชาชนที่เป็นรูปธรรม กระจายทั้งประเทศ หรือไม่

เมื่อเราย้อนกลับไปดูรายงานประจำปี 2564 วันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นรายงานที่ สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ส่งให้สภาผู้แทนราษฏร และ วุฒิสภา เพื่อรายงานผลการดำเนินงานประจำปี พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

โครงสร้างสภาองค์กรของผู้บริโภค

 

ผู้บริหารสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค

 

คณะกรรมการนโยบายสภาองค์กรของผู้บริโภค

รายชื่อคณะอนุกรรมการ 8 ด้าน

 

 

 

 

เมื่อเราตรวจสอบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ระบุว่าสภาได้ทุนประเดิมที่รัฐบาลจ่ายขาดเป็นเงินอุดหนุนสำหรับการดำเนินการจำนวน 350 ล้านบาท มีรายจ่ายเบื้องต้น

1.รายจ่ายเกี่ยวกับการบริหารจัดการ 3,168,872 บาท

2.รายจ่ายแผนงาน โครงการและงานต่างๆ 1,710,565 บาท

 

 

3.เงินสนับสนุนให้แก่องค์กรของผู้บริโภค หน่วยงานเขต และหน่วยงานประจำจังหวัด รวม 10,157,250 บาท และยังมีค่าใช้จ่ายเรื่องอาคารสถานที่ตั้งสำนักงานด้วย

 

เดิม สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ทำสัญญาเช่ากับบริษัท คอมมอนกราวด์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเช่าพื้นที่สำนักงานอาคารจีทาวเวอร์ ระหว่างวันที่ 18 มิ.ย.64 – 30 มิ.ย.67 มูลค่าสัญญา 14,568,264 บาท แบ่งเป็น ปี2565 จำนวน 4,776,480 บาท ,ปี2566 จำนวน 4,836,186 บาท ,ปี 2567 จำนวน 3,761,478 บาท

 

ซึ่งสำนักงานดังกล่าวนั้น สภาผู้บริโภค ได้เช่านั้น อาคารจี ทาวเวอร์ ห้องเลขที่ W01 ,W19 ,H15 ,H16 ชั้น 30 เลขที่ 9 ถนนพระราม9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

 

 

 

และนอกจากนั้น ยังพบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญา 16 ก.ย.-15 ต.ค.64 มูลค่าสัญญา 26,500,000 บาท ซึ่งตรวจสอบพบว่า เป็นการซื้ออาคารสูง 6 ชั้น พร้อมที่ดิน 78.5 ตร.ว. เลขที่ 110/1 ซ.ลาดพร้าว26 แยก1-2 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ มีงบประมาณสำหรับปรับปรุงตกแต่งอาคาร จำนวน 23,500,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับเงินค่าซื้อที่ดินอาคารแล้ว สภาใช้งบไปกว่า 50,000,000 บาท

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

การเคหะแห่งชาติปลื้ม “อาคารเช่าพักอาศัยเชียงใหม่ (หนองหอย)” ยอดจองทะลักเต็มโครงการ เหตุทำเลดีมีศักยภาพสูง ใกล้แหล่งงาน สถานศึกษา
หมอปลา พา "อดีตแม่ชี" พร้อมคลิปเสียงลับ ร้องหลวงพี่น้ำฝน ปมพระพลล่วงละเมิดแต่คดีไม่คืบ
สุดสลด "ด.ช.3 ขวบ" ถูกไฟคลอกดับกลางป่า ตร.พบพิรุธหลายอย่าง
รบ.เปิดขึ้น "รถไฟฟ้า-รถเมล์" ฟรี 7 วัน แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกทม.ลดการใช้ยานพาหนะ
การรถไฟฯ เผย “คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก” แนะ ปรับลดความสูงของหลังคาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ไม่ให้โครงสร้างหลังคาซ้อนทับกับสถานีรถไฟอยุธยาเดิม ย้ำ รฟท.พร้อมอนุรักษ์และคงคุณค่าสถานีรถไฟอยุธยาเดิมไว้ ให้สมกับที่ได้รับยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก
“ดร.ธรณ์” ชี้ทนฝุ่น PM2.5 ยาวถึงสุดสัปดาห์ ก่อนลมหนาวจะพัดไล่ฝุ่นพิษได้พักหายใจ 3-4 วัน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยกขบวนสินค้าและผลผลิตจากสหกรณ์ทั่วประเทศมาจำหน่าย หนุนเพิ่มช่องทางกระจายรายได้กลับคืนสู่สมาชิกสหกรณ์
โฆษก ศธ. กำชับ ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่หมด งดกิจกรรมกลางแจ้งเด็ดขาด สุขภาพผู้เรียนสำคัญที่สุด
โพลชี้ สุดยอดซอฟต์พาวเวอร์ของไทยคือ “ลิซ่า-ประเพณีวันสงกรานต์”
"สมุทรปราการ" สั่งปิดโรงเรียนหลายแห่ง หลัง "อ.บางเสาธง" ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งติดอันดับ 6 ปท.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น