จัดยิ่งใหญ่ เทศกาลสงกรานต์ช้างโลก-สุรินทร์ ครั้งที่ 1และเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29

สุรินทร์ – จัดยิ่งใหญ่ เทศกาลสงกรานต์ช้างโลก-สุรินทร์ ครั้งที่ 1และเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2567 ได้มีการจัดเทศกาลสงกรานต์ช้างโลก-สุรินทร์ ครั้งที่ 1และเทศกาลศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 ขึ้นที่ วัดป่าอาเจียง หมู่บ้านช้าง บ้านหนองบัว ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์  โดยมี  ฯพณฯ ดร.ชานโดร์ ชีโปช เอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสันทัด แสนทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ , นายอำเภอท่าตูม  และ ดร.ติลัก เอฟ. และศิลปินชาวศรีลังกา ดร.สมศรี บุญมี (ไทย) ดร.จอห์น เทวราช (อินเดีย) & ไมโกะ โอ (ญี่ปุ่น) ดร.สเวตโลซารา ดอยกิน ประเทศบัลแกเรีย รศ.ดร.วรนุช แจ้งสว่าง มรภ.พระนคร ประเทศไทย 5 ตัวแทนมหาวิทยาลัยของฟิลิปปินส์ ศ. ไอแซค เทราน เม็กซิโก ดร.คาวินี มุเนียนดี ประเทศสิงคโปร์ และดร.ป๊อก จันดารา ราชอาณาจักรกัมพูชา พร้อมศิลปินนาๆชาติ หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน อสม.กรรมการวัดฯลฯ คอยให้การต้อนรับ ที่ศาลาเอราวัณ วัดป่าอาเจียง  โดยมี ศ.ดร.อัจฉรา ภาณุรัตน์ ประธาน ThailandIFF 2024 กล่าวรายงาน และ ท่านพระครู ดร.สมุห์หาญ ปัญญาธโร กล่าวสัมโมทนียกถา

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้น นายสันทัด แสงทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ก็ได้กล่าวต้อนรับ โดยมีใจความว่า จังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุดในโลก และในประเทศไทย จังหวัดสุรินทร์มีช้างกว่า 1,000 เชือก กระจายอยู่ในหลายจังหวัดท่องเที่ยว และอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์กว่า 500 เชือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำบลกระโพ มีหมู่บ้านช้างอยู่หลายหมู่บ้าน บางหมู่บ้านมีช้างเลี้ยงเกือบ 100 เชือก ได้ขึ้นทะเบียนในโครงการศูนย์คชศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 80 เชือก และโครงการคชอาณาจักรจังหวัดสุรินทร์ 200 เชือก จังหวัดสุรินทร์ ได้นำช้างมาแสดงเป็นงานประจำปีมาแล้ว 64 ครั้ง ซึ่งเป็นงานประจำปีของชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา ที่นี่มีการเลี้ยงช้างเสมือนสมาชิกในครอบครัว เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน เมื่อเวลานำช้างไปอาบน้ำ ช้างจะพ่นน้ำเล่นกันกับช้างด้วยกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นที่มาของการนำมาจัดเทศกาลสงกรานต์ช้างโลกในวันนี้ ซึ่งในปีนี้ยังมีการจัดงานที่โครงการคชอาณาจักรจังหวัดสุรินทร์อย่างเต็มรูปแบบด้วย ในวันที่ 12 เมษายน และวันที่ 13-15 เมษายน 2567 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา รัชกาลที่ 9 โดยจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารจังหวัดสุรินทร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ และอื่น ๆ  ซึ่งชาวจังหวัดสุรินทร์ยินดีต้อนรับทุกท่าน หากมีโอกาสก็ขอเชิญทุกท่านมาเยือนในช่วงเวลาดังกล่าวและในปีต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากนั้น ฯพณฯ ดร.ชานโดร์ ชีโปช เอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย ก็ได้กล่าวเปิดงาน และได้มอบรางวัลให้กับบุคลต่างๆที่ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  จากนั้นก็ได้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 จากประเทศฟิลิปปินส์ ฮังการี บัลแกเรีย  ศรีลังกา อินเดีย กัมพูชา ญี่ปุ่น ลาว เม็กซิโก เมียนมาร์ สิงคโปร์ และไทย จากนั้นผู้แทนจากมหาวิทยาลัย 28 แห่งทั่วโลก จำนวน 4 คน ก็ได้ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ ยืนยันว่า “ช้างเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพโลก และเป็นซอฟท์เพาเวอร์ของไทย”  ในงานนี้ด้วย

ต่อจากนั้นคณะก็ได้ลงจากศาลาเอราวัณ เพื่อร่วมเทศกาลสงกรานต์ช้างโลก-สุรินทร์ ครั้งที่ 1 โดยมีขบวนแห่ช้างและนางสงกรานต์  เพื่อมาร่วมในพิธีสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวสงกรานต์คนกับช้างอย่างสนุกสนาน  จนถึงเวลา 17.00 น. จึงได้ยุติงานและเดินทางกลับ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว ชูชัย ดำรงสันติสุข ผู้สื่อข่าว จ.สุรินทร์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น