พลิกแฟ้ม “สภาองค์กรผู้บริโภค” ถูกร้องตั้งเครือข่ายทิพย์

"ท็อปนิวส์" พลิกแฟ้ม "สภาองค์กรของผู้บริโภค" เคยถูกร้องตรวจสอบตั้งเครือข่ายทิพย์ หวังให้เข้าเงื่อนไขจัดตั้งได้ เครือข่ายบางแห่งคนในพื้นที่ยังไม่รู้จัก ที่อยู่ไม่มีในทะเบียนราษฏร์ พบงบก้อนแรกที่ได้รับ 350 ล้าน แบ่งไปจ่ายอุดหนุนเครือข่ายรวม 10 ล้าน ค่าประชุมจัดไปอีก 1.4 ล้าน

ท็อปนิวส์” พลิกแฟ้ม “สภาองค์กรของผู้บริโภค” เคยถูกร้องตรวจสอบตั้งเครือข่ายทิพย์ หวังให้เข้าเงื่อนไขจัดตั้งได้ เครือข่ายบางแห่งคนในพื้นที่ยังไม่รู้จัก ที่อยู่ไม่มีในทะเบียนราษฏร์ พบงบก้อนแรกที่ได้รับ 350 ล้าน แบ่งไปจ่ายอุดหนุนเครือข่ายรวม 10 ล้าน ค่าประชุมจัดไปอีก 1.4 ล้าน

 

ความคืบหน้ากรณีท็อปนิวส์ตรวจสอบการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค เนื่องจากถูกวิจารณ์ว่าการทำงานคุ้มค่ากับงบประมาณที่รัฐบาลต้องนำเงินงบประมาณจากภาษีประชาชนไปอุดหนุนหรือไม่ ล่าสุดพบข้อมูลว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคไม่ได้ถูกตั้งข้อสงสัยในการทำงานเป็นครั้งแรก เพราะย้อนไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงการรวบรวมองค์กรผู้บริโภค ที่ต้องรวบรวมให้ได้ไม่น้อยกว่า 150 องค์กร เพื่อจัดตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภค ตามที่พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 มาตรา 9 บัญญัติไว้

 

สภาองค์กรของผู้บริโภค

 

ปรากฏว่าขณะนั้นนายศรีสุวรรณ จรรยา ได้เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักปลักสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ตรวจสอบสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคที่ประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภค จำนวน 151 องค์กร เนื่องจากขาดคุณสมบัติ ไม่เป็นไปตามที่พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคบัญญัติไว้หรือไม่ เพราะ 1.บางองค์กรเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.ไม่มีผลงานในการคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี 3.ไม่มีที่ตั้งหรือมีเพียงเขียนป้ายชื่อองค์กรหลอกๆไว้เท่านั้น 4.บางจังหวัดมีการจัดตั้งองค์กรประเภทนี้ขึ้นเกือบ 20 องค์กร จึงขอให้สำนักปลักนายกรัฐมนตรีฐานะนายทะเบียน ตรวจสอบเพิกถอนสถานะองค์กรผู้บริโภค

 

สภาองค์กรของผู้บริโภค

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้นในเดือนมิถุนายนปี 2564 เครือข่ายสื่อมวลชนปกป้องผลประโยชน์ชาติ ได้เปิดเผยข้อมูลว่า จากการตรวจสอบองค์กรผู้บริโภคกว่า 150 องค์กร พบข้อมูลว่ามี 16 องค์กร ที่ไม่ได้ทำกิจกรรมเชิงประจักษ์ หลายพื้นที่ไม่มีที่ตั้งตามที่องค์กรจดแจ้ง ชาวบ้านหรือผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ยังไม่รู้จักองค์กรเลย ซ้ำร้ายที่อยู่ที่จดแจ้งในทะเบียนราษฎร์ก็ไม่มีเลขที่ในสารบบ บางองค์กรไม่มีคนที่อ้างว่าเป็นประธานเครือข่ายในพื้นที่ ดังนั้นจึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าการรวมตัวก่อเพื่อก่อตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อหวังเงินงบประมาณอุดหนุน 350 ล้านบาทหรือไม่

 

สำหรับ 16 องค์กรผู้บริโภคที่พบว่ามีข้อพิรุธนั้น แจ้งว่าตั้งอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ลำพูน พะเยา ขอนแก่น ลำปาง โดยจังหวัดลำพูนและลำปางมีองค์กรลักษณะนี้ถึง 5 องค์กร

ต่อมาในเดือนกรกฏาคม 2564 นายศรีสุวรรณ ได้นำข้อมูลดังกล่าวไปยื่นเรื่องต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้ตรวจสอบเพิ่มเติม รวมถึงไปยื่นร้องกระทรวงยุติธรรมให้ดำเนินการตรวจสอบ กระทรวงยุติธรรมจึงมอบหมายให้ดีเอสไอดำเนินการ ต่อมาเจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้ลงพื้นที่ตรวจสอบองค์กรสมาชิกองค์กรของผู้บริโภคในหลายจังหวัด เช่น นครนายก ฉะเชิงเทรา แต่ปรากฏว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวโวยวายว่าดีเอสไอไปตรวจสอบไม่ถูกต้อง ไปแบบโจร ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า พร้อมโยนบาปไปที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยอ้างว่าหากองค์กรสมาชิกใดตั้งขึ้นมาไม่ถูกต้อง ก็ให้ไปตรวจสอบกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่มาตรวสอบกับสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนงบประมาณที่ได้รับมา 350 ล้านบาท ก็ใช้จ่ายโปร่งใส มีโครงการชัดเจน

 

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบงบการเงินของสภาองค์กรของผู้บริโภค เมื่อปี 2564 หลังได้รับงบประมาณก้อนแรกเป็นทุนประเดิมในการจัดตั้ง 350 ล้านบาท พบว่ามีเงินจำนวนถึง 10,157,250 บาท ที่จ่ายสนับสนุนแก่เครือข่ายองค์กรของผู้บริโภค โดยในระดับกลไกเขตพื้นที่ 4 พื้นที่ พบว่าภาคเหนือได้รับงบประมาณมากที่สุด 102,200 บาท รองลงมาภาคตะวันตก 88,400 บาท ภาคใต้ 87,800 บาท ภาคตะวันออก 85,100 บาท

 

 

ส่วนระดับจังหวัด มี 12 จังหวัด พบว่า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับงบประมาณสนับสนุนมากที่สุด จำนวน 1,085,139 บาท ตามด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับ 1,067,000 บาท จังหวัดสตูล ได้รับ 1,042,263 บาท จังหวัดพะเยา ได้รับ 1,038,320 บาท ที่เหลือ 8 จังหวัดได้รับงบอุดหนุนหลักแสนบาท ตั้งแต่ 1 แสน ถึง 9 แสนบาท ยังไม่นับงบค่าใช้จ่ายการประชุมที่ใช้ไปถึง 1,418,264 ล้านบาท

 

 

ซึ่งเรื่องของสภาองค์กรของผู้บริโภคนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นายศรีสุวรรณยังได้ยื่นฟ้องปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีต่อศาลปกครองด้วย เพราะไม่เพิกถอนการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ทั้งที่องค์กรที่มาร่วมการจัดตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภค มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามกกหมาย โดยขณะนี้เรื่องยังค้างอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง ทั้งนี้ต้องติดตามว่าศาลปกครองจะมีคำพิพากษาเรื่องในเวลาใด โดยท็อปนิวส์จะดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไป

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

การเคหะแห่งชาติปลื้ม “อาคารเช่าพักอาศัยเชียงใหม่ (หนองหอย)” ยอดจองทะลักเต็มโครงการ เหตุทำเลดีมีศักยภาพสูง ใกล้แหล่งงาน สถานศึกษา
หมอปลา พา "อดีตแม่ชี" พร้อมคลิปเสียงลับ ร้องหลวงพี่น้ำฝน ปมพระพลล่วงละเมิดแต่คดีไม่คืบ
สุดสลด "ด.ช.3 ขวบ" ถูกไฟคลอกดับกลางป่า ตร.พบพิรุธหลายอย่าง
รบ.เปิดขึ้น "รถไฟฟ้า-รถเมล์" ฟรี 7 วัน แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกทม.ลดการใช้ยานพาหนะ
การรถไฟฯ เผย “คณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลก” แนะ ปรับลดความสูงของหลังคาสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ไม่ให้โครงสร้างหลังคาซ้อนทับกับสถานีรถไฟอยุธยาเดิม ย้ำ รฟท.พร้อมอนุรักษ์และคงคุณค่าสถานีรถไฟอยุธยาเดิมไว้ ให้สมกับที่ได้รับยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลก
“ดร.ธรณ์” ชี้ทนฝุ่น PM2.5 ยาวถึงสุดสัปดาห์ ก่อนลมหนาวจะพัดไล่ฝุ่นพิษได้พักหายใจ 3-4 วัน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ยกขบวนสินค้าและผลผลิตจากสหกรณ์ทั่วประเทศมาจำหน่าย หนุนเพิ่มช่องทางกระจายรายได้กลับคืนสู่สมาชิกสหกรณ์
โฆษก ศธ. กำชับ ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่หมด งดกิจกรรมกลางแจ้งเด็ดขาด สุขภาพผู้เรียนสำคัญที่สุด
โพลชี้ สุดยอดซอฟต์พาวเวอร์ของไทยคือ “ลิซ่า-ประเพณีวันสงกรานต์”
"สมุทรปราการ" สั่งปิดโรงเรียนหลายแห่ง หลัง "อ.บางเสาธง" ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งติดอันดับ 6 ปท.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น