“หัวใจวาย” คืออะไร 3 อาการนี้ต้องระวัง คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?

หัวใจวาย คืออะไร 3 อาการนี้ต้องระวัง คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?

เบียร์ สรณัฐ "หัวใจวาย" พั้นช์ ชนมาศ มัสยวาณิช พี่สาวโพสต์อาลัยสุดเศร้า 3 อาการต่อไปนี้ต้องระวังหัวใจกำลังจะล้มเหลว คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?

TOP News รายงานประเด็น “หัวใจวาย” พั้นช์ ชนมาศ มัสยวาณิช โพสต์ภาพคู่ เบียร์ สรณัฐ ผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว originalpunch พร้อมระบุข้อความว่า “Rest in peace นะน้องรัก พี่รักเบียร์นะ ขอให้เบียร์ไปอยู่ในภพภูมิที่ดี เกิดชาติหน้ามาเป็นน้องพี่อีกนะ” แฮชแท็ก iloveyou ท่ามกลางบรรยากาศสุดเศร้า ชาวเน็ตมาร่วมให้กำลังใจ และแสดงความเสียใจ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พั้นช์ ชนมาศ ตอบกลับว่า “น้องหัวใจ วาย ค่ะ” ว่าแต่รู้หรือไม่ หัวใจ วาย คืออะไร 3 อาการต่อไปนี้ต้องระวังหัวใจกำลังจะล้มเหลว คุณ ๆ เสี่ยงอยู่รึเปล่า?

ข่าวที่น่าสนใจ

เบียร์ สรณัฐ หัวใจวาย พั้นช์ ชนมาศ มัสยวาณิช พี่สาวโพสต์อาลัยสุดเศร้า 3 อาการต่อไปนี้ต้องระวังหัวใจกำลังจะล้มเหลว คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?

เรื่องเศร้าคนบันเทิง

เพจเฟซบุ๊ก ดาราภาพยนตร์ โพสต์ภาพพร้อมข้อความแจ้ง ข่าวเศร้าของวงการบันเทิงอีกครั้ง กับการจากไปของ เบียร์ สรณัฐ มัสยวานิช นักแสดงที่เคยมีผลงานละครซิทคอมในตำนานที่ครองใจผู้ชมมาอย่างยาวนาน เรื่อง เฮง เฮง เฮง กับบท อาเล้ง และผลงานละครอีกมาก ภายหลังหายหน้าจากหน้าจอการแสดงไปทำงานเบื้องหลัง โดยผันตัวมาเป็นนักดนตรีและโปรดิวเซอร์เพลง ค่าย Summer Sun Records

โดยพิธีสวดอภิธรรม ณ ศาลารับรองหน้าเมรุ วัดบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 8 – 9 – 10 เมษายน 2567 และพิธีฌาปนกิจ วันที่ 11 เมษายน เวลา 16 นาฬิกา 9 นาที ณ เมรุวัดบางพูน

เบียร์ สรณัฐ หัวใจวาย พั้นช์ ชนมาศ มัสยวาณิช พี่สาวโพสต์อาลัยสุดเศร้า 3 อาการต่อไปนี้ต้องระวังหัวใจกำลังจะล้มเหลว คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?

“หัวใจวาย” ?

หัวใจวาย หรือ หัวใจล้มเหลว หมายถึง หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยสิ้นเชิง กล้ามเนื้อหัวใจเริ่มตายไป อาการอาจเป็นอยู่นานกว่า 15 นาที และไม่ทุเลาโดยการพักหรือการได้รับยา เมื่อเกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ อย่ารอนานหลายชั่วโมงกว่าจะขอความช่วยเหลือ เพราะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดมาเลี้ยงนั้น จะเริ่มตายภายในไม่กี่นาทีในชั่วโมงแรกที่เกิดอาการเจ็บเค้นหัวใจ ถือเป็นชั่วโมงทองที่ควรรีบแก้ไขในทันที จะช่วยบรรเทาความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ และรักษาชีวิตไว้ได้ โดยสาเหตุหัวใจ วาย ได้แก่

  1. เส้นเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจลดลง
  2. ลิ้นหัวใจผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบรุนแรง ทำให้การสูบฉีดเลือดลดลง หรือลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน ทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
  3. กลุ่มโรคต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ
  4. ผู้หญิงครรภ์เป็นพิษ

โรคหัวใจเจ็บหน้าอก?

สำหรับอาการอย่างไรถึงเรียกว่าเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจนั้น ได้แก่

  1. เจ็บ แน่น หรือรู้สึกไม่สบายตรงกลางหน้าอก
  2. อาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปที่คอ แขน หรือขากรรไกร
  3. เหงื่อออกจะมีเหงื่อออกอย่างมากจนรู้สึกหนาวบริเวณลำตัวส่วนบน อาจมีอาการวิงเวียน หายใจไม่อิ่ม และคลื่นไส้ร่วมด้วย
  4. อาการเหล่านี้อาจเกิดขณะที่ออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์เครียดอย่างกะทันหัน
  5. อาการเหล่านี้มักจะคงอยู่นานราว 1 – 10 นาที
  6. รู้สึกหายใจไม่ทันขณะที่ออกกำลังกาย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  7. รู้สึกแน่นอึดอัดท้องอย่างมาก ถ้าออกกำลังกายทันทีภายหลังรับประทานอาหาร

และหากมี 3 อาการต่อไปนี้ อาจกำลังบ่งบอกว่าหัวใจกำลังจะวายหรือล้มเหลว จึงควรสังเกตอย่างใกล้ชิด ได้แก่

  1. เหนื่อยง่าย อาการเหนื่อยอาจบ่งบอกว่าหัวใจมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งความรุนแรงของโรคมักจะสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำ หากมีอาการเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา มักจะสื่อถึงความผิดปกติที่รุนแรง
  2. แสบแน่นหน้าอก จุกแน่นลิ้นปี่ อาการแสบแน่นหน้าอกที่บ่งบอกว่าหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่จะแน่นบริเวณกลางหน้าอก อาจมีปวดร้าวจากคอขึ้นไปกราม มีอาการตึง ๆ ชา ๆ ที่หัวไหล่ไปถึงช่วงแขน รู้สึกเหมือนมีของหนักทับ หากมีอาการเหล่านี้นานเกิน 20 นาที อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
  3. อึดอัดเวลานอนราบ อาการอึดอัดเวลานอนราบอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ปริมาณน้ำในหัวใจเพิ่มขึ้นจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติค่อนข้างรุนแรง

“หัวใจวาย” ใครเสี่ยง?

  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่เส้นเลือดหัวใจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบกับสุขภาพในอนาคตได้ จึงแนะนำให้ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงและชอบอาหารมัน ๆ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คนอ้วน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย เครียดง่ายและเครียดบ่อย หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน ตรวจเช็คสุขภาพหัวใจเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากรู้ถึงความเสี่ยงโรคหัวใจโดยเร็ว ย่อมสามารถปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คหัวใจเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้ในระยะยาว

การป้องกัน?

  • สำหรับการป้องกันโรคหัวใจ วาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีดังต่อไปนี้ คือ
  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
  2. หยุดสูบบุหรี่
  3. ลดความเครียด
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

อาการเจ็บเค้นหัวใจ เป็นสัญญาณเตือนว่าหลอดเลือดหัวใจเริ่มตีบแคบลง อาจเกิดหัวใจ วาย ได้ ถ้าลักษณะของอาการเจ็บเค้นเปลี่ยนแปลงไป เช่น เจ็บบ่อยขึ้นหรือเจ็บเค้นหน้าอก แม้ไม่ได้ออกแรงมากเหมือนที่เคย เป็นต้น และยิ่งถ้ามีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน หรือมีปัจจัยเสี่ยงด้วยแล้ว โอกาสที่จะเกิดหัวใจ วาย ยิ่งสูงมากขึ้น

เบียร์ สรณัฐ หัวใจวาย พั้นช์ ชนมาศ มัสยวาณิช พี่สาวโพสต์อาลัยสุดเศร้า 3 อาการต่อไปนี้ต้องระวังหัวใจกำลังจะล้มเหลว คุณเสี่ยงอยู่รึเปล่า?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นพ.สสจ.เมืองคอนเตือน ระมัดระวังโรคฉี่หนู เมืองคอนสังเวยชีวิตแล้ว 8 ราย ชี้อำเภอฉวางสุ่มเสี่ยงมากที่สุด เสียชีวิตถึง 7 ราย -เตือนประชาชนประชาชนรักษาสุขภาพและเฝ้าระวังโรคที่จะมากับหน้าฝนนอกจากฉี่หนูแล้วให้ระมัดระวังให้โรคไข้เลือดออก
"เงินดิจิทัล เฟส 2 ได้วันไหน" ชัดเจนแล้ว พร้อมเช็ก เงื่อนไขเงิน 10,000 ล่าสุด
CPF สานต่อความมุ่งมั่นสร้างงานมีคุณค่าสำหรับคนพิการ หนุนวัฒนธรรมเคารพความแตกต่างและหลากหลาย
หมอวรงค์ นำกลุ่มคนรักชาติ ยื่นกว่าแสนรายชื่อ ร้องรบ.ยกเลิก MOU 44
กุ้ง อาหารทะเลยอดฮิต โปรตีนคุณภาพดี อร่อยด้วย ช่วยชาติได้
หมอถึงขั้นเข้าไปถามคนไข้ หลังพยาบาล เจาะเลือดไม่เข้า อึ้งห้อยพระเต็มคอ แต่ละองค์ราคาไม่ธรรมดา
“บิ๊กโจ๊ก” ด่าแรง “ทนายตั้ม” แอบอ้างชื่อ ลวง “เจ๊อ้อย” ไปเขื่อนเชี่ยวหลาน
“เจ๊อ้อย”โคตรแค้น “ทนายตั้ม” พาลูกเมียทัวร์ยุโรปถลุงเป็นล้าน แว้งกัด-คิดเอาชีวิต
รัฐบาลเพิ่ม 73,388 ที่นั่ง แก้ตั๋วเครื่องบินแพงช่วงปีใหม่
เปิดใจเจ้าของป้ายสุดแปลก "รับซื้อบ้านผีสิง" ยันซื้อจริง ไม่คอนเทนต์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น