กทม.เดินหน้าจัดระเบียบกรุง รองผู้ว่าฯกำชับเทศกิจ คุมเข้มผู้ค้าแผงลอย เร่งกำจัดซากรถทิ้งริมถนน

กทม.เดินหน้าจัดระเบียบกรุง รองผู้ว่าฯกำชับเทศกิจ คุมเข้มผู้ค้าแผงลอย เร่งกำจัดซากรถทิ้งริมถนน

กทม.เดินหน้าจัดระเบียบกรุง รองผู้ว่าฯกำชับเทศกิจ คุมเข้มผู้ค้าแผงลอย เร่งกำจัดซากรถทิ้งริมถนน Top News รายงาน 

 

 

 

กทม.

ข่าวที่น่าสนใจ

(9 เม.ย.67) นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักเทศกิจ และหัวหน้าฝ่ายเทศกิจสำนักงานเขต ครั้งที่ 3/2567 โดยมีนายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายธีรยุทธ ภูมิภักดิ์ ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครสูง นายสุรเดช อำนวยสาร รองผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักเทศกิจ หัวหน้าฝ่ายเทศกิจ 50 สำนักงานเขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องกรุงธน 3 ชั้น 5 อาคาร 2 สำนักเทศกิจ เขตธนบุรี
“การจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้าเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง กวดขันผู้ค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนนหรือสถานสาธารณะอย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

 

สำรวจตรวจสอบซากรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อเพิ่มช่องทางเดินรถบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด จัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย ที่ติดตั้งบดบังทัศนียภาพกีดขวางทางเดินเท้า อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน ขอให้เจ้าหน้าที่เทศกิจยึดมั่นในศักดิ์ศรีและอุดมการณ์ ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ ยึดหลักความถูกต้อง เชื่อว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ หากทุกท่านมุ่งมั่นตั้งใจจริง” รองผู้ว่าฯ จักกพันธุ์ กล่าวในตอนท้าย

 

ในที่ประชุมได้รายงานผลการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน 86 จุด ผู้ค้า 4,541 ราย ประกาศเป็นพื้นที่ทำการค้าแล้ว 55 จุด ผู้ค้า 3,440 ราย อยู่ระหว่างพิจารณาประกาศ 31 จุด ผู้ค้า 1,101 ราย เจ้าพนักงานจราจรไม่เห็นชอบ 9 จุด ผู้ค้า 692 ราย จากตรวจประเมินพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผันตามหลักเกณฑ์ฯ ปี 2563 และความเหมาะสมของพื้นที่ พบว่าพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน 86 จุด มีความเหมาะสม 73 จุด ไม่เหมาะสม 7 จุด ยกเลิกแล้ว 6 จุด ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน 544 จุด ผู้ค้า 13,210 ราย ที่ผ่านมาได้มีการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า โดยยกเลิกจุด ยุบรวมจุด และย้ายเข้าพื้นที่เอกชน ซึ่งในปี 2567 จะดำเนินการยกเลิกจุดหรือยุบรวมจุด 105 จุด ในพื้นที่ทำการค้าที่มีผู้ค้าจำนวนน้อยราย โดยได้จัดหาพื้นที่รองรับผู้ค้าให้เข้าไปทำการค้าในจุดที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการยกเลิกแล้ว 61 จุด คงเหลือ 44 จุด ดำเนินการยกเลิกนอกเป้าหมาย 43 จุด ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน 440 จุด ผู้ค้า 11,834 ราย ทั้งนี้ผู้ค้าต้องหยุดทำการค้าทุกวันจันทร์ และร่วมกันล้างทำความสะอาดพื้นที่ทำการค้า ผู้ค้าในพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผันต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ฯ ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะผู้ค้าต้องตรงตามบัญชี ผู้ค้าในพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผันให้ยึดตามกฎหมาย แต่ในระหว่างดำเนินการให้นำหลักเกณฑ์ฯ ที่กำหนด มาบังคับใช้ โดยอนุโลมโดยเฉพาะขนาดแผงค้า การตั้งวางต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนการจัดทำ Hawker Center ปี 2566 ดำเนินการแล้ว 39 จุด ใน 29 เขต รองรับผู้ค้าได้ 2,826 ราย หยุดดำเนินการ 5 จุด คงเหลือ 34 จุด ในปี 2567 จัดทำ Hawker Center เพิ่มเติมอีก 28 จุด ใน 26 เขต รองรับผู้ค้าได้ 1,500 ราย ในส่วนของการปรับปรุงร่างประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนนหรือสถานสาธารณะ พ.ศ.2566 ที่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 17 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปรวบรวมผล เพื่อเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป

 

 

 

 

นอกจากนี้ สำนักเทศกิจได้จัดทำแผนรักษาความปลอดภัย การจราจร และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2567 โดยตั้งจุดบริการประชาชนที่เดินทางออกจากกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 จุด ประกอบด้วย เส้นทางเข้าออกเมือง 7 จุด ได้แก่ 1.หน้าสถานีบริการน้ำมันบางจาก กม.4+800 ถนนบางนา-ตราด (ฝั่งขาออก) เขตบางนา 2.สถานีบริการน้ำมัน ปตท. กม.12 ถนนพระราม 2 มุ่งหน้ามหาชัย (ฝั่งขาออก) เขตบางขุนเทียน 3.ถนนบรมราชชนนี (ฝั่งขาออก) ใต้สะพานต่างระดับถนนพุทธมณฑลสาย 3 และถนนบรมราชชนนี (ฝั่งขาเข้า) ใต้สะพานถนนพุทธมณฑลสาย 3 เขตทวีวัฒนา 4.ใต้สะพานกลับรถ แยกมหานคร เขตหนองจอก 5.สถานีรถไฟดอนเมือง ถนนวิภาวิดีรังสิต (ฝั่งขาออก) เขตดอนเมือง 6.หน้าสำนักงานเขตหนองแขม ถนนเพชรเกษม เขตหนองแขม 7.หน้าสำนักงานเขตลาดกระบัง ถนนลาดกระบัง เขตลาดกระบัง สถานีขนส่งผู้โดยสาร 4 จุด ได้แก่ 1.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) เขตจตุจักร 2.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เขตคลองเตย 3.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้ใหม่-ตลิ่งชัน) เขตตลิ่งชัน 4.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้ปิ่นเกล้า) ถนนบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย รวมถึงพื้นที่จัดงานสงกรานต์ ได้แก่ ถนนข้าวสาร เขตพระนคร ถนนสีลม เขตบางรัก ลานคนเมือง เขตพระนคร เพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ประจำปี 2567

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สหรัฐวิตกอิสราเอลอาจส่งกองทัพเข้าเลบานอนเร็วๆนี้
“สมศักดิ์” พร้อมคุยรพ.ขาดทุน ขอเพิ่มงบบัตรทอง เตรียมประชุมด่วน บอร์ดสปสช.
นครนายก ! เพจเรื่องจริงนครนายกและจิตอาสาร่วมใจนำของไปบรรเทาทุกข์ พี่น้องปชช. จ.เชียงราย
ขุนศึกฝั่งธนฯ เปิดศึกฟ้องปิดปาก บิ๊กสื่อ หยุดตั้งตนเป็นศูนย์กลางจักรวาล
"ปศุสัตว์หนองคาย" วอนผู้ใจบุญ ช่วยบริจาค "อาหารสัตว์" ขาดแคลนหนัก หลังสถานการณ์น้ำท่วม
อุตุฯเตือนฉบับ 13 'พายุซูลิก' เข้าไทย 48 จว.เสี่ยง เจอฝนถล่ม ระวังน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ถึง 23 ก.ย.นี้
ขุนพล "พท." รุมเจาะยาง "ลุงป้อม" หมายให้ล้มทั้งยืน
"สาว" อัดคลิป สั่งสอนพรรคส้ม ชี้แค่เสี้ยววินาทีคนพิษณุโลกตัดสินใจได้ ว่าไม่เลือก จนต้องพ่ายแพ้
รัฐบาล "อุ๊งอิ๊ง" เหยียบมิดไมล์ ลุยไฟทำเรื่องร้อน ไม่สนแรงเสียดทาน
"เลขาปปง." เผย "บิ๊กโจ๊ก" ยื่นเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ "คดีเว็บพนัน" ยันไม่ได้ทำงานช้า ยึดเงิน 4.8 แสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น