"อีกา" ผู้มาก่อนกาล แรงบันดาลใจต้นแบบกฎของอาร์คิมิดีส? ตำนานความเชื่อ เห็น 6 ตัว ความตายกำลังใกล้เข้ามา จริงหรือ บินเฉี่ยวหัวให้รีบสะเดาะเคราะห์
ข่าวที่น่าสนใจ
ว่าด้วยอาร์คิมิดีสและ “อีกา” ?
สำหรับบุคคลซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชากลศาสตร์ เขาผู้นั้นคือ อาร์คิมิดีส (Archimedes) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก เมื่อ 287 ปีก่อนคริสตกาล
อาร์คิมิดีส มีพื้นฐานทางครอบครัวเป็นบุตรของนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อว่า ไฟดาส (Pheidias) อาร์คิมิดีสถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความหลงใหลในวิชาด้านคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่งในศิษย์เอกของ ยูคลิด (Euclid) ที่เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์คนดังในสมัยคลาสสิก ด้วยเป็นต้นแบบและแนวทางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับงานด้านวิชา สถิตยศาสตร์ของไหล, สถิตยศาสตร์ และการอธิบายหลักการเกี่ยวกับคาน ซึ่งเป็นวิทยาการสำคัญในสมัยนั้น ภายหลังจากการศึกษาจบ อาร์คิมิดีสผู้ซึ่งในรับการขนานนามว่าปรัชญาเมธีแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ในตำแหน่งงานที่ได้รับเป็นนักปราชญ์ประจำราชสำนักของพระเจ้าเฮียโร
กฎของอาร์คิมิดีส?
ส่วนเรื่องราวสำคัญที่ทำให้อาร์คิมิดีสมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในฐานะเป็นเจ้าของชื่อกฎที่ว่า กฎของอาร์คิมิดีส (Archimedes Principle) หรือ วิธีการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ (Specific Gravity) ซึ่งเรื่องราวนี้เกิดขึ้นจากกษัตริย์เฮียโรทรงมีรับสั่งให้ช่างทำมงกุฎทองคำ โดยได้มอบทองคำจำนวนหนึ่งไปให้ช่าง แต่เมื่อช่างทำมงกุฎมาถวาย ก็เกิดความระแวงสงสัยว่า ช่างทำทองจะยักยอกทองคำไป และนำโลหะชนิดอื่นมาผสม อาร์คิมิดีสสามารถพิสูจน์หาความจริงดังกล่าวได้ว่า มงกุฎทองคำที่ช่างทำมงกุฎหลอมมีสิ่งเจือปนลงไปในเนื้อทอง ด้วยวิธีวัดปริมาตรมงกุฎทองคำโดยการเอาไปแทนที่น้ำ และปล่อยให้น้ำล้นออกมา ซึ่งกฎนี้เป็นกฎเกี่ยวกับแรงลอยตัวและการแทนที่ โดยกล่าวว่า เมื่อนำวัตถุลงไปแทนที่ของเหลวจะมีแรงต้านเท่ากับน้ำหนักของของเหลวปริมาตรเท่าส่วนจม จากหลักการนี้ทำให้เข้าใจในหลักการหลายอย่าง เช่น เรือเหล็กทำไมจึงลอยน้ำ
“อีกา” หรือ นกกา ?
กา สัตว์ปีกที่มีเนื้อตัวสีดำขลับ บางคนก็มองว่ามันเป็นสัตว์ที่ดูลึกลับ มีเสน่ห์ น่าค้นหา บางคนอาจมองว่ามันน่ากลัว และไม่ค่อยเป็นมิตรกับมนุษย์สักเท่าไหร่
แต่ไม่ว่าคุณจะคิดอย่างไรกับเจ้านกสีดำ ชื่อเสียงของมันก็โด่งดัง และเรื่องราวของมันก็มีปรากฏร่วมอยู่ในตำนานความเชื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง บางความเชื่อ เจ้านกสีดำถูกยกให้เป็นลางบอกเหตุร้าย แต่ในบางตำนาน มันกลับกลายเป็นผู้นำสารจากพระเจ้า
ในความเป็นจริงแล้ว นกกา นั้นสามารถจำแนกออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ โคร (Crow) และ เรเวน (Raven) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกัน (คือสกุล Corvus) โดยทั่วไปแล้ว เรเวน จะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่า โคร และ เรเวน จะมีขนที่ดกกว่าเล็กน้อย เจ้านก โคร จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับเหยี่ยวหรือนกนักล่าอื่น ๆ ในขณะที่นก โคร จะมีขนาดตัวที่ค่อนข้างเล็ก และถึงแม้ว่านกทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ว่าเสียงของเจ้านก เรเวน จะให้มิติเสียงที่ลึกลงไปในลำคอมากกว่าเสียงร้องของเจ้านก โคร
ตำนานความเชื่อ?
ใน เทพปกรณัมเซลติก (Celtic Mythology) เทพแห่งนักรบและการต่อสู้ ที่รู้จักกันในชื่อ มอร์ริแกน (Morrighan) มักปรากฏกายในร่างของ อี กา หรือรวมฝูงอยู่กับ อี กา ตัวอื่น ๆ ลักษณะการปรากฏจะเป็นกลุ่มของ อี กา 3 ตัว เป็นสัญลักษณ์ว่า เทพมอร์ริแกน กำลังเฝ้ามองอยู่ หรืออาจจะไปเยี่ยมหาใครสักคน
ขณะที่ เรื่องราวร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในวรรณคดีของอังกฤษ (นิทานเรื่อง Mabinogion) อีกาเป็นลางสังหรณ์แห่งความตาย เชื่อกันว่าแม่มดและนักเวทมนตร์ มีความสามารถในการแปลงร่างเป็น อี กา และบินหนีไป ทำให้พวกเขาหลบเลี่ยงการจับกุมได้
ด้านชนพื้นเมืองอเมริกัน หรือ อินเดียแดง มักมองว่า อี กา เป็นตัวตลก เหมือนเจ้าหมาป่าโคโยตี้ มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับความชั่วร้ายของ อี กา ซึ่งบางครั้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง และในตำนานของชนเผ่าต่าง ๆ อี กา มักเกี่ยวข้องกับทุกสิ่ง ตั้งแต่การสร้างโลก ไปจนถึงการเชิดชูว่า อี กา ถือกำเนิดมากจากแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นของขวัญแก่มวลมนุษยชาติ บางเผ่ารู้จัก อี กา ในฐานะที่เป็นผู้ขโมยวิญญา
ความเชื่อของบางชุมชน การเห็น หรือไม่เห็น อี กา อาจบอกอะไรไม่ได้มากนัก แต่การนับจำนวนของมันจะบอกอะไรได้มากกว่า อย่างเช่น
- ถ้าเห็นอี กา 1 ตัว เป็นลางบอกเหตุร้าย
- ถ้าเห็นอี กา 2 ตัว จะเกิดเรื่องดี ๆ ขึ้น
- ถ้าเห็นอี กา 3 ตัว จะมีสุขภาพที่ดี
- ถ้าเห็นอี กา 4 ตัว จะมีความร่ำรวย
- ถ้าเห็นอี กา 5 ตัว ความเจ็บป่วยกำลังจะมาเยือน
- ถ้าเห็นอี กา 6 ตัว ความตายกำลังใกล้เข้ามา
ส่วนความเชื่อโบร่ำโบราณแบบไทย ๆ นั้น ยกให้ อี กา เป็นหนึ่งในลางบอกเหตุร้าย คือถ้าวันดีคืนดี เราเกิดโดน อี กา บินเฉี่ยวหัวไป ให้รีบทำพิธีสะเดาะเคราะห์ อย่าปล่อยให้ข้ามคืน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบข้างได้
อย่างไรก็ดี ในประเทศไทย อี กา เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซากด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง