ปชช.เอวัง “สปน.” อ้างไร้อำนาจหยุดยั้ง เงินใช้จ่าย “สภาผู้บริโภค” แจงมีหน้าที่แค่เป็นท่อส่งต่องบฯ

ปชช.เอวัง "สปน." อ้างไร้อำนาจหยุดยั้ง เงินใช้จ่าย "สภาผู้บริโภค" แจงมีหน้าที่แค่เป็นท่อส่งต่องบฯ

ปชช.เอวัง “สปน.” อ้างไร้อำนาจหยุดยั้ง เงินใช้จ่าย “สภาผู้บริโภค” แจงมีหน้าที่แค่เป็นท่อส่งต่องบฯ

วันที่ 9 เม.ย.67 นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว Top News ถึงกรณีที่สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอขอรับงบประมาณ ประจำปี 2568 จำนวน 360 ล้านบาท ว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ เพื่อคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ของผู้บริโภคซึ่งกฎหมายออกแบบมาให้เป็นหน่วยงานอิสระ เพียงแต่การรับงบประมาณทางราชการ กฎหมายเขียนให้ผ่านทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดสรรให้เพียงพอ อุดหนุนเป็นรายปีและจ่ายขาดให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภคตามที่เสนอ หากไม่เพียงพอสภาองค์กรของผู้บริโภค สามารถ ขอครม. ทบทวนการจัดสรรงบประมาณความเพียงพอได้ จึงเป็นไปตามพ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคพ.ศ. ในปี 2562 มาตรา 16 ซึ่งเมื่อเริ่มแรกก่อตั้งได้รับทุนประเดิม 350 ล้านบาท ซึ่งก็พบว่าใช้ไปจำนวนมากเกือบทั้งหมด เป็นการจัดตั้งหน่วยงานและค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ รวมถึงกิจกรรมโครงการ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกทั่วประเทศและรวมกลุ่มผู้บริโภค

สปน.

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยผู้ที่พิจารณา อนุมัติงบประมาณความคุ้มค่าและจำเป็น เหมาะสมคือ สำนักงบประมาณ ส่วนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ตามกฏหมายคือติดตามการใช้จ่ายของสภาองค์กรของผู้บริโภคให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายข้อบังคับตามมติคณะรัฐมนตรีและหนังสือเวียนให้เป็นไปตามมาตรฐานทางราชการ เช่น ค่าเดินทางค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าตอบแทน เท่านั้นไม่สามารถลงไปสั่งการได้ แต่ไม่ใช่ว่าลงไปกำกับดูแลอะไรไม่ได้เลย ซึ่งหากการใช้จ่ายต่างๆไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีการทุจริตหรือมีการร้องเรียน สำนักปลัดสำนักนายกฯ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จะลงไปตรวจสอบการใช้งบฯ

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา สำนักงบประมาณอนุมัติงบฯ ให้กับสภาองค์กรของผู้บริโภค มา 150 ล้านบาท และอยู่ในกรอบนี้เกือบทุกปี ส่วนความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ที่มาถึงคณะรัฐมนตรี ที่ให้เพิ่มตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ประชาชนได้รับอย่างเป็นรูปธรรมและการใช้งบประมาณไปกับการสัมมนา ค่าเดินทาง ค่าที่พักนั้น ถือเป็นการเสนอความเห็นที่เกินกว่าหน้าที่ของสภาองค์กรผู้บริโภค ซึ่งหน้าที่หลักเป็นการจัดตั้งองค์กร โดยการอบรมสร้างความเข้าใจสร้างความรู้ให้กับผู้บริโภคแต่ละจังหวัดนั้น ถือว่าของผู้บริโภคทำเพิ่มเติมขึ้นมา

 

“ตามกฎหมายหน้าที่ของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คือ เวลาที่สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอของรับงบประมาณเราก็ดูในเบื้องต้น ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ส่วนแผนงานที่จะใช้งบประมาณนั้นไม่สามารถไปสั่งได้แต่สามารถพูดคุยกันได้ซึ่งคุยกันมาตลอดว่าขอให้สภาองค์กรของผู้บริโภคไปประสานเชื่อมโยงกับสคบ.ที่เป็นหน่วยงานรัฐ จะไปสั่งให้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาทำไม่ได้แต่พูดคุยกันมาตลอด โดยขอให้ไปอุดช่องว่างระหว่างหน่วยงานรัฐกับสภาองค์กรผู้บริโภคตามจังหวัดต่าง ๆ กฎหมายออกแบบไว้ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นอิสระ”

ปลัดสำนักนายกฯ กล่าวด้วยว่า พูดง่ายง่ายคือสำนักปลัดสำนักนายกฯ เป็นทางผ่านสำหรับการตั้งงบประมาณของสภาองค์กรของผู้บริโภคและเมื่อตั้งงบประมาณก็มีหน้าที่กำกับติดตามซึ่งมีสำนักนโยบายและแผนของสำนักปลัดสำนักนายกฯ ติดตาม เรื่องตัวเลขของงบประมาณที่ขอมานั้นสำนักงบประมาณจะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมจำเป็น

ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียน กรณีที่มีการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคจังหวัดลำปางและลำพูน ที่ไม่พบสถานที่จัดตั้งนั้น ปลัดสำนักนายกฯ ระบุว่า ถ้าความปรากฏหากมีการลงไปตรวจราชการแล้วพบ สามารถตรวจสอบตามกฎหมายได้ ซึ่งเรามีผู้ตรวจราชการอยู่ทุกจังหวัดอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่เห็นข้อมูล แต่หากมีการร้องเรียนก็จะลงไปตรวจสอบและดำเนินการต่อไป

 

 

นอกจากนี้มีการไปร้องศาลปกครองให้เอาผิดสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ไม่กำกับการใช้งบของสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น นายธีระพงษ์ กล่าวว่า เอกสารยังไม่เห็น หากมีเรื่องร้องเรียน อาจจะอยู่ระหว่างที่เจ้าหน้าที่สรุปข้อมูลมา แต่ก็มีหลายคดีที่เกี่ยวข้องกับสำนักปลัดสำนักนายกฯ

“ ตนมาเป็นปลัดสำนักนายกฯเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งตั้งแต่ปีแรกได้พูดคุยกับทางเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นการพูดคุยกันไม่ใช่การสั่งซึ่งทางสภาองค์กรของผู้บริโภคก็มีการปรับให้เกิดความเหมาะสมโดยมีสำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณาตัวเลขยอมรับว่ามีการพูดคุยมาโดยตลอดเพราะกังวลเรื่องการใช้งบประมาณในทุกหน่วยงาน ทั่วประเทศไม่ใช่แค่สภาเท่านั้น ว่าต้องใช้งบเท่าที่จำเป็นประหยัดและเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลที่มากที่สุด ขออย่าทำงานซ้ำซ้อนกับสคบ. หากหลังจากได้งบประมาณไปเกิดการทุจริตสามารถให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบได้ ยืนยันว่าสำนักปลัดสำนักนายกฯทำงานอย่างเต็มที่ตามกรอบของกฎหมาย”

 

 

ปลัดสำนักนายกฯ กล่าวด้วยว่า ราชการมีช่องทางการรับร้องเรียนของภาครัฐ มีศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของทำเนียบรัฐบาลหมายเลข 1111 แต่ยอมรับว่าข้าราชการอาจจะมีขั้นตอน กฎระเบียบ มากกว่า องค์กรหรือบุคคล แต่มีความต้องการอยากที่จะช่วยเหลือประชาชนให้รวดเร็วและเต็มที่อยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ทันใจนัก แต่อาจจะไม่ได้มีการเผยแพร่ผ่านสื่อ ทั้งนี้การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีก็มีการลงไปรับเรื่องร้องเรียนควบคู่ด้วยเสมอ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น