"ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" อบรมนักการเมืองลั่นตัดสินคดีการเมืองไม่มีธงออกได้แค่ซ้ายหรือขวาไม่มีตรงกลางพร้อมรับคำวิจารณ์แต่ต้องโดยสุจริตไม่หยาบคาย
ข่าวที่น่าสนใจ
ย้อนถามสังคมเมื่อมีข้อขัดแย้งจนตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไรถ้าไม่จบที่ศาล
ส่วนกรณีที่การวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมค่อนข้างมาก ตนมองว่าการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่ดีแต่น่าคิดว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นทำให้บ้านเมืองสงบคือเป็นที่ยอมรับหรือไม่ เดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ปัญหาอยู่ตรงนี้ไม่ได้อยู่ตรงที่การวิพากษ์วิจารณ์ เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งตนก็ยินดีที่จะรับคำวิจารณ์จากทั้งนักวิชาการ พรรคการเมือง องค์กรต่างๆ การสัมมนาวันนี้เราก็เชิญพรรคการเมืองมาร่วมหลายพรรค สามารถวิจารณ์ได้เต็มที่ แต่ต้องวิจารณ์โดยสุจริตไม่ใช้คำหยาบคาย ดูถูกเหยียดหยามองค์กรตุลาการ เพราะมีโทษทางกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่าการวิพากษ์วิจารณ์ก่อให้เกิดแรงกระแทก ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ก็เข้าใจ แต่ในแง่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าศาลฯเป็นที่ยอมรับ เพราะข้อขัดแย้งทางการเมืองมันไม่ได้ลดน้อยไป แต่ปัญหาคือเมื่อมีข้อขัดแย้งทางการเมืองแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ความจริงการแก้ไขปัญหาทางการเมืองส่วนหนึ่งมาจากการเจรจาของพรรคการเมืองและองค์กรต่างๆ ถ้าตกลงกันได้ก็ไม่ต้องมาศาลจบที่สภาดีกว่า แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้แล้ว แต่ยื่นมาศาลก็แสดงว่าเห็นศาลเป็นที่พึ่ง ซึ่งก็จะให้โต้แย้งกันและศาลจะรับฟังสองฝ่าย และพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายก่อนที่จะตัดสิน
ยันศาลรัฐธรรมนูญไม่มีธงตัดสินคดี
ส่วนที่บางคนมองว่าการตัดสินหลายครั้งมีธงนั้น เห็นว่าเรื่องที่ขึ้นมาศาลจะออกได้เพียง 2 หน้า คือซ้ายกับขวาเท่านั้นไม่มีตรงกลาง ตนเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสอนลูกศิษย์มันตอบได้หลายทาง ซึ่งก็ถูกหมด ใครให้เหตุผลดีก็ได้คะแนนไป แต่มาศาลออกได้แค่ด้านซ้าย ด้านขวาเท่านั้น คือขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราอาจคิดว่ามันเป็นธง คำว่า”ธง”เป็นกิจกรรมการเรียนของคณะนิติศาสตร์ เวลาเรียนวิชากฎหมายก็ต้องมีธงซึ่งต้องไปอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาเก่าๆ คำตอบของครูบาอาจารย์เก่าๆ แล้วเอามาเป็นธงว่าข้อกฎหมายนี้จะตอบอย่างไร แต่สำหรับในศาลรัฐธรรมนูญไม่มีธง เราโต้เถียงกันมากพอสมควรและต้องดีใจว่าเรามีตุลาการใหม่เพิ่มเข้ามาทั้งนายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยเจริญกุล ซึ่งก็จะทำให้ความเห็นทิศทางบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปได้
เมื่อถามว่าสภามีมติยื่นคำร้องขอให้ศาลฯ พิจารณาเรื่องการจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง นายนครินทร์ กล่าวว่า ยื่นมาแล้วและจะพิจารณาวันที่ 17 เม.ย.นี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง