“ก่อเหตุสังหารหมู่” มักป่วย 2 โรคจิตเวช-โรคจิตเภท ใช่หรือไม่

ก่อเหตุสังหารหมู่ มักป่วย 2 โรคจิตเวช-โรคจิตเภท ใช่หรือไม่

"ก่อเหตุสังหารหมู่" สะเทือนขวัญครั้งแล้วครั้งเล่า พบประวัติผู้ก่อเหตุป่วยจิต รู้จัก 5 โรคจิตเวชสำคัญ อันตรายถึงชีวิต 56% ของผู้ก่อเหตุป่วยโรคจิตเภท จริงหรือไม่

TOP News รายงานประเด็น “ก่อเหตุสังหารหมู่” ล่าสุด เหตุสะเทือนขวัญเกิดกลางห้างในนครซิดนีย์ มือมีดอาละวาดแทงคนเสียชีวิต 6 ศพ พบประวัติป่วยจิตตั้งแต่เป็นวัยรุ่น โรคจิตเวช คืออะไร ทำไมหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ รักษาได้หรือไม่ โรคจิตเภท คือ 1 ใน 5 โรคจิตเวชสำคัญ เช็คด่วน สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคที่ควรพบแพทย์วินิจฉัย

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อเหตุสังหารหมู่ สะเทือนขวัญครั้งแล้วครั้งเล่า พบประวัติผู้ก่อเหตุป่วยจิต รู้จัก 5 โรคจิตเวชสำคัญ อันตรายถึงชีวิต 56% ของผู้ก่อเหตุป่วยโรคจิตเภท จริงหรือไม่

“ก่อเหตุสังหารหมู่” 6 ศพ

ตำรวจออสเตรเลีย เปิดเผยว่า คนร้ายที่ใช้มีดยาวก่อเหตุสังหารหมู่ 6 ศพ กลางห้าง เวสต์ฟีลด์ บอนได จังชั่น ชานนครซิดนีย์ ก่อนถูกตำรวจวิสามัญ เมื่อวันที่ 13 เมษายน มีชื่อว่า นาย โจเอล เคาชี่ อายุ 40 ปี ซึ่งตำรวจไม่เรียกเหตุร้ายครั้งนี้ เป็นเหตุก่อการร้าย เพราะเชื่อว่าเป็นการลงมือโดยไม่ได้มีเหตุจูงใจจากอุดมการณ์ แต่แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพจิต

ด้านครอบครัวของมือมีด ออกแถลงการณ์ผ่านตำรวจรัฐควีนสแลนด์ ว่า ครอบครัวรู้สึกเสียใจกับเหตุสะเทือนขวัญในซิดนีย์ การกระทำของ เคาชี่ เลวร้ายอย่างยิ่ง และกำลังพยายามทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น เคาชี่ต่อสู้กับปัญหาทางจิตมาตั้งแต่อายุ 17 ปี และครอบครัวไม่ติดใจตำรวจหญิงที่ยิงเขาเสียชีวิต เพราะเธอกำลังทำหน้าที่ปกป้องผู้อื่น

ทั้งนี้ ประชาชนหลายร้อยคนนำดอกไม้ไปวางไว้อาลัยที่ประตูทางเข้าห้างฯ บนถนนออกซ์ฟอร์ด หลายคนกลับออกมาด้วยน้ำตานองหน้า ขณะที่ มีอาสาสมัครหลายคนสวมเสื้อกั๊กสีเขียวมีข้อความว่า สุขภาพจิต พร้อมพูดคุยกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ

ก่อเหตุสังหารหมู่ สะเทือนขวัญครั้งแล้วครั้งเล่า พบประวัติผู้ก่อเหตุป่วยจิต รู้จัก 5 โรคจิตเวชสำคัญ อันตรายถึงชีวิต 56% ของผู้ก่อเหตุป่วยโรคจิตเภท จริงหรือไม่

โรคจิตเวช?

โรคจิตเวช คือกลุ่มอาการทางจิตใจหรือพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกิจวัตรต่าง ๆ หรือเกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองป่วย หรือบางคนรู้แต่ไม่มาพบแพทย์ ทำให้อาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดย 5 โรคจิตเวชสำคัญ ได้แก่

  1. โรคแพนิก
  2. โรคซึมเศร้า
  3. โรคจิตเภท
  4. โรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว
  5. โรคสมองเสื่อม

ป่วยจิต “ก่อเหตุสังหารหมู่” ?

กับประเด็นคำถามที่ว่าผู้ก่อเหตุ สังหารหมู่ / กราดยิง มักป่วยจิตเวช ใช่หรือไม่? คงต้องตอบว่า ไม่แน่ เพราะประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากข้อมูลมีอยู่อย่างจำกัด และประเด็นที่สำคัญคือ วิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละการศึกษาที่แตกต่างกันมาก ทำให้ผลการศึกษาแตกต่างกันไปด้วย

แต่มีตัวอย่างการศึกษาที่น่าสนใจ คือ เซอร์โฟลิโอ (Cerfolio) และคณะ (ค.ศ. 2022) ใน สหรัฐอเมริกา (USA.) ทำการศึกษาผู้ก่อเหตุ 55 คน โดย 35 คนยังมีชีวิตอยู่ และได้รับการประเมินด้วยแบบสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา สัมภาษณ์โดยจิตแพทย์ที่ทำงานด้านนิติเวช และเพิ่มข้อมูลอีก 20 คน ที่เสียชีวิตไปแล้วด้วยการทบทวนรายงานด้านจิตเวชที่ส่งต่อศาลหลังเหตุการณ์เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่า 87.5% ของผู้ก่อเหตุมีโรคทางจิตเวช โดยมากที่สุดคือ 56% ป่วยด้วยโรคจิตเภท (schizophrenia)

ส่วนคำถาม ผู้ป่วยจิตเวชมักก่อความรุนแรง ใช่หรือไม่? นั้น ก็ตอบได้ว่า ไม่ใช่ ผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่ไม่ได้ก่อความรุนแรง ตามการศึกษาของ ไวทิง (Whiting) และคณะ (ค.ศ. 2020) ผู้ป่วยจิตเวชก่อความรุนแรงมากกว่าคนที่ไม่มีโรคทางจิตเวช 2 – 4 เท่า และผู้ป่วยจิตเวชที่ก่อความรุนแรงที่เป็นปัญหาทางกฎหมาย (violent crime) ในช่วงเวลา 5 – 10 ปี ดังต่อไปนี้

  • น้อยกว่า 5% ในโรคจิตเวชอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคจิตเภท (schizophrenia) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders) และผู้ที่มีการใช้สารเสพติดหรือใช้สารในทางที่ผิด
  • 6 – 10% ในโรคจิตเภท (schizophrenia) และโรคบุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorders)
  • มากกว่า 10% ผู้ที่มีการใช้สารเสพติดหรือใช้สารในทางที่ผิด

ดังนั้น จึงสรุปความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ก่อเหตุสังหารหมู่กับอาการทางจิตเวชได้ว่าผู้ก่อเหตุ สังหารหมู่ / กราดยิง นั้น ไม่แน่ว่าจะป่วยจิตเวช และผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่ไม่ได้ก่อความรุนแรง

โรคจิตเภท?

โรคจิตเภทเป็นภาวะความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรม ความคิด แตกต่างจากบุคคลทั่วไปอย่างมาก อาการที่พบได้ในภาวะความเจ็บป่วยของโรคนี้ ได้แก่

  1. มองโลกผิดไปจากความเป็นจริง
  2. ประสาทหลอน
  3. ความคิดหลงผิด
  4. ความคิดผิดปกติ
  5. การแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสม
  6. การฆ่าตัวตาย

ในปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงของโรคจิตเภท ดูเหมือนว่ากรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคนี้พอ ๆ กัน นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ตรงไปตรงมาว่า ยีนอะไร สารเคมีตัวไหน หรือความเครียดแบบใดที่เป็นสาเหตุของโรคจิตเภทนี้โดยตรง

ดังนั้น หากสังเกตเห็นอาการของโรค สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นอาการเริ่มต้น โดยผู้ป่วยมักเป็นคนเงียบ ๆ แยกตัว เพื่อนน้อยตั้งแต่เด็กจนวัยรุ่น มักไม่มีเพื่อนสนิท หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เช่น กลุ่มกิจกรรม กลุ่มกีฬา หมกมุ่นด้านศาสนาปรัชญามากขึ้น มีความเชื่อที่ฟังดูแปลก ประสิทธิภาพการเรียน การทำงานแย่ลง การดูแลด้านอนามัยส่วนตัว สุขภาพ ลดลงจนปล่อยปละละเลย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษาโดยด่วน

ก่อเหตุสังหารหมู่ สะเทือนขวัญครั้งแล้วครั้งเล่า พบประวัติผู้ก่อเหตุป่วยจิต รู้จัก 5 โรคจิตเวชสำคัญ อันตรายถึงชีวิต 56% ของผู้ก่อเหตุป่วยโรคจิตเภท จริงหรือไม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน ปชช.ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
ระทึก ! บุกยิงบ้านผู้ใหญ่ โบว์ คาดว่า การเมือง ท้องถิ่นเป็นเหตุ
‘บิ๊กต่าย’ เผยตร.ทำงานยังคงทำคดี ‘ดิไอคอน’ ตามที่ DSI ร้องขอ
ครูบาอริยชาติ เกจิภาคเหนือวัดแสงแก้วโพธิญาณ เชียงราย สร้างพระพุทธเมตตา จากหยกรัสเซียใหญ่ที่สุดในโลก น้ำหนักกว่า 10 ตัน
นายกฯ-สามี พา "น้องธิธาร" ลูกสาว วิ่งเล่นสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า
กระทรวงดีอี – ดีป้า เปิดศึกบิน – ซ่อมโดรนเกษตรชิงแชมป์ประเทศไทย ในรายการ “Thailand Agriculture Drone Competition 2024”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น