รู้จัก “โจรสลัดโซมาเลีย” กลับมาอาละวาด? บังกลาเทศยอมจ่าย 180 ล้านบาท

รู้จัก โจรสลัดโซมาเลีย กลับมาอาละวาด? บังกลาเทศยอมจ่าย 180 ล้านบาท

"โจรสลัดโซมาเลีย" เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

TOP News รายงานประเด็น “โจรสลัดโซมาเลีย” กลับมาเป็นประเด็นร้อนบนโลกออนไลน์อีกครั้ง เมื่อมีรายงานว่า ได้บรรลุข้อตกลงเงินค่าไถ่เรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่บุกยึดไว้ 1 เดือน จำนวนกว่า 180 ล้านบาท โจรสลัด โซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน นี่คือสัญญาณการกลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่

ข่าวที่น่าสนใจ

โจรสลัดโซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

Cr. Md Asifur Rahman

ค่าไถ่ 183 ล้านบาท?

เรือ เอ็มวี อับดุลเลาะฮ์ ติดธงบังกลาเทศ บรรทุกถ่านหิน 5 หมื่น 5 พันตัน ถูก “โจรสลัดโซมาเลีย” พร้อมอาวุธ บุกยึดเมื่อเดือนที่แล้ว ขณะเดินทางจากกรุงมาพูโต ประเทศโมซัมบิก มุ่งหน้าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จุดเกิดเหตุอยู่ห่างจากชายฝั่งโซมาเลีย ประมาณ 1 พันกิโลเมตร ต่อมา ได้มีการเจรจานำโดย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ของบริษัทเจ้าของเรือกับโจรสลัดคนหนึ่งที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ จนบรรลุความตกลงเรื่องค่าไถ่ บริษัทไม่เปิดเผยจำนวนเงิน แต่โจรสลัดคนหนึ่งบอกสำนักข่าวว่า ได้รับเงินค่าไถ่ 5 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 183 ล้านบาท

ในที่แถลงข่าว มีการเผยคลิปแสดงให้เห็นลูกเรือทุกคนปลอดภัยดี สลัดโซมาเลีย 65 คน ปล่อยเรือที่ยึดไว้มานานหนึ่งเดือน และลงเรือลำเล็ก 9 ลำเดินทางออกไป หลังจากนั้นเรือ เอ็มวี อับดุลเลาะฮ์ ออกเดินทางต่อ โดยมีเรือจากสหภาพยุโรปสองลำคุ้มกัน สลัดโซมาเลียยังมอบหนังสือผ่านทางให้ลูกเรือ เพื่อเป็นหลักประกันว่า เรือลำนี้จะไม่ถูกบุกยึดอีกครั้ง ก่อนถึงท่าเรือดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

โซมาเลีย?

โซมาเลียเป็นประเทศยากจนในทวีปแอฟริกา หลังจากที่ได้เกิดสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2543 ชนเผ่าต่าง ๆ สู้รบกันเองจนทำให้ประเทศไม่มีรัฐบาลกลางที่มีเอกภาพ ทุกเผ่าต่างแสวงหาอำนาจ ตั้งตัวเป็นใหญ่ ต่อมาเมื่อปี 2547 โซมาเลียประสบภัยสึนามิและได้รับเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่จากต่างประเทศ แต่ได้นำเงินไปซื้ออาวุธเพื่อปล้นเรือต่าง ๆ ที่ผ่านน่านน้ำ โดยได้อ้างว่าจักรวรรดิ์นิยมมาปล้นทรัพยากรของประเทศ หลังจากมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทหารที่แตกแถวได้เข้าร่วมปล้นเรือและจับเรือเรียกค่าไถ่ได้เงินจำนวนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ กองโจรสลัดจะนำเงินบางส่วนไปใช้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกยึดเรือครั้งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการจัดหาอาวุธที่ทรงอานุภาพกว่าเดิม เรือที่มีขนาดใหญ่และเร็วกว่าเดิม อุปกรณ์ชั้นสูงต่าง ๆ จนทำให้กองโจรพัฒนาเข้มแข็งขึ้นทั้งทางด้านอาวุธ และเทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อปี 2552 โจรสามารถปฏิบัติการดักปล้นเพียง 165 ไมล์จากฝั่ง ต่อมาปี 2553 ได้พัฒนาระยะไปได้ไกลถึง 1,100 ไมล์จากฝั่งแล้ว

โจรสลัดโซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

Cr. Md Asifur Rahman

“โจรสลัดโซมาเลีย” ?

โจรสลัด โซมาเลีย เป็นกลุ่มคนอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งของประเทศที่มีความยาว 4 พันไมล์ มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่รัฐพุนต์แลนด์ (Puntland) ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองทางตอนเหนือของโซมาเลีย โดยโจรสลัดเหล่านี้ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อขอใช้ท่าเรืออายล์ (Eyl) และท่าเรืออื่น ๆ ใช้เป็นฐานปฏิบัติการ รวมถึงนำเรือที่จับได้มาเก็บไว้ขณะที่รอเจรจาเรียกเงินค่าไถ่ มีสมาชิกมากกว่า 1,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มมากกว่า 10 กลุ่ม มีอุปกรณ์ไฮเทคล่าสุด ทั้งโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม และระบบ GPS อาวุธหนักอย่าง เครื่องยิงจรวด RPG กับปืนกล AK-47 มีเรือควบคุมการปฏิบัติการที่อาจแฝงมากับเรือต่าง ๆ บรรทุกเรือยนต์เร็วออกไปปฏิบัติการในทะเล มีสายสืบคอยแจ้งข่าวจากเมืองท่าต่าง ๆ ในอ่าวเอเดน เรือก็เป็นเรือเร็วมีเครื่องยนต์ที่ทรงพลังในการบุกเข้าหาเป้าหมาย และบางครั้งจะเป็นการปล่อยเรือเร็วออกจากเรือใหญ่ซึ่งเป็นเรือแม่ที่ลอยลำอยู่ในทะเลลึกเพื่อไปก่อเหตุ

โจรสลัด โซมาเลีย ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน อายุ 20 – 35 ปี โครงสร้างการทำงานของกลุ่มโจรสลัดคล้ายกันเกือบทุกกลุ่ม ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนสมอง มาจากอดีตชาวประมงที่รู้เส้นทางเดินเรือในทะเลอย่างดี จะเป็นฝ่ายวางแผน
  2. ส่วนใช้แรง เป็นทหารแตกแถว หรืออดีตกลุ่มติดอาวุธ มีหน้าที่บุกจู่โจมเรือเป้าหมาย
  3. ส่วนไฮเทค เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม ระบบกำหนดตำแหน่งผ่านดาวเทียม หรือ GPS เป็นต้น

โจรสลัด โซมาเลีย เคยสร้างความเดือดร้อนแก่เรือสินค้า จนสร้างความโกลาหลไปทั่ว ช่วงปี 2551 – 2561 แต่หลังจากนั้นก็เงียบไปนาน กระทั่งเริ่มออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว อาศัยช่วงที่นานาชาติผ่อนมาตรการรักษาความปลอดภัย และกลุ่มฮูตีในเยเมนก่อเหตุโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง แต่เมื่อเทียบกับช่วงปี 2554 ยังนับว่าน้อยกว่ามาก ช่วงนั้นโจรสลัดเคยออกมาอาละวาดในมหาสมุทรอินเดีย ไกลจากชายฝั่งโซมาเลียถึงกว่า 3,600 กิโลเมตร

อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องโจรสลัด โซมาเลีย มีผลประโยชน์และเงินทองทับซ้อน มีผู้ร่วมผลประโยชน์ในเรื่องนี้จำนวนมาก ซึ่งมิใช่แต่พวกโจรสลัดในโซมาเลีย มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ทั่วโลก ทั้งในรูปของรัฐบาล ภาคเอกชน กลุ่มนายหน้า ผู้สั่งการ บริษัทไถ่เรือ บริษัทประกันภัย ผู้ทำหน้าที่เจรจา เอ็นจีโอ และอีกมากมาย ทางออกของปัญหานี้อีกทางที่น่าพิจารณา คือ เหมือนอย่างที่รัฐบาลของบางประเทศประกาศห้ามไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ห้ามไม่ให้เรือสัญชาติของตนเองทุกชนิดเข้าใกล้น่านน้ำโซมาเลียโดยเด็ดขาด

โจรสลัดโซมาเลีย เป็นใครมาจากไหน กลับมาอาละวาดอีกครั้งใช่หรือไม่ ล่าสุด ปล่อยเรือสินค้าบังกลาเทศพร้อมลูกเรือ 23 คน ที่ยึดไว้ 1 เดือน หลังได้ค่าไถ่กว่า 180 ล้านบาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า
"พิพัฒน์" ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
ศาลอาญา สั่งจำคุก 4 ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM คนละ 2-4 ปี ฐานทำร้ายคฝ. ก่อนได้ประกันตัว
ครบรอบ 118 ปี กองทัพเรือ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสารจาก ผบ.ทร.
นายกสมาคมสื่อมวลชน และ นักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก พร้อม ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออก ร่วมแสดงความยินดี นริศ นิรามัยวงศ์ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผลักดัน "โครงการ สร้าง ซ่อม ที่อยู่อาศัย" เพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2567
โซเชียลแห่ยกย่อง “น้องโนอาห์” วัย 1 ขวบ เสียชีวิตภาวะสมองตาย ครอบครัวบริจาคไตให้ผู้รอรับการรักษา
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นำกำลังพลร่วมกิจกรรม "วันกองทัพเรือ" 20 พ.ย.
ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ นาวาเอก อเล็กเซย์ แอนต์ซิเฟรอฟ ผู้บังคับหมู่เรือ กองทัพเรือรัสเซีย พร้อมด้วยคณะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น