“ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” เช็ค 7 อาการ ต้องพบจิตแพทย์หรือไม่

ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว เช็ค 7 อาการ ต้องพบจิตแพทย์หรือไม่

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ "ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว" คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

TOP News รายงานประเด็น “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” เทศกาลสงกรานต์ 2567 หมดลง หลายคนอาจรู้สึกหดหู่ ไม่อยากกลับไปเจอโลกแห่งความจริงของการทำงาน หรือไปติวไปเรียนหนังสือ ซึ่งภาวะอารมณ์ดังกล่าวอาจเป็นอาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว ใช่หรือไม่ ลองเช็คดูก่อนเลย ลักษณะอาการเป็นอย่างไร แล้วเราจะรับมืออย่างไรได้บ้าง

ข่าวที่น่าสนใจ

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

“ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” ?

  • อาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว (Post-Vacation Depression หรือ Post-Vacation Blues) คือ ภาวะอารมณ์เศร้า ๆ หลังกลับจากการไปเที่ยวหรือหลังจากผ่านช่วงวันหยุดยาว ซึ่งเกิดจากการที่เราอนุญาตให้ตนเองมีเวลาแห่งความสุขในช่วงเวลาพิเศษ แล้วต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมกลับสู่วันธรรมดาที่ไม่สุขได้เท่าเวลาไปเที่ยว จึงทำให้เกิดความทุกข์ทรมานใจที่ต้องกลับไปใช้ชีวิตตามปกติในวันธรรมดา ความรู้สึกเศร้าแบบนี้เกิดขึ้นได้เสมอในบุคคลทั่วไป และไม่จัดว่าเป็นโรคป่วยทางจิตเวช

อาการ?

โรคซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว มีลักษณะอาการดังต่อไปนี้

  1. หลังวันหยุดยาว จะรู้สึกไม่อยากทำงาน เบื่อหน่าย และมีอาการซึมเศร้า
  2. เกิดจากการที่ร่างกายเคยชินกับการพักผ่อนและไม่พร้อมที่จะกลับมาเริ่มต้น
  3. อาการนี้มักจะเกิดกับคนที่เบื่องานของตัวเองอยู่แล้ว
  4. ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับความเบื่อหน่ายที่มีอยู่เดิม
  5. อาการนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง สมาธิลดลง หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสีย ใจลอย
  6. ระยะของอาการจะเป็นอยู่ 2 – 3 วัน จากนั้นก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ
  7. สามารถพบได้ในทุกวัย ในกลุ่มคนที่มีความเบื่อหน่ายงานของตัวเอง

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

วิธีรับมือ “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” ?

สำหรับวิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว สามารถทำได้ด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้

  1. หาแรงจูงใจในการไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าหมายความก้าวหน้าในการทำงาน เช่น การได้ขึ้นเงินเดือน โบนัส เป็นต้น
  2. การสร้างคุณค่าในการทำงาน มองหาข้อดีของการทำงาน เช่น มองหาว่าใครได้รับประโยชน์จากการทำงานหรือสิ่งที่สามารถทำประโยชน์ต่อคนอื่น หรืองานที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นอย่างไร
  3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หากการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำซากจำเจ ทำให้เบื่อการทำงาน ก็ลองเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สร้างสรรค์มากขึ้น ได้ท้าทายตัวเองแล้วเกิดความคิดใหม่ ๆ อีกด้วย
  4. หาเพื่อนรู้ใจและทีมในการทำงาน หากการทำงานคนเดียวมันเหงา พาใจให้เฉา ก็ลองหาเพื่อนคู่หูในการทำงาน หรือสร้างทีมเพื่อทำงาน นอกจากงานเสร็จเร็วขึ้นแล้ว ยังลดโอกาสผิดพลาด มีความสร้างสรรค์ และสนุกกับการทำงานมากขึ้นด้วย
  5. อย่ามองข้ามภาวะหมดไฟในการทำงาน ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) ถูกองค์การอนามัยโลก (WHO) จัดว่าเป็นอาการป่วยที่มีผลมาจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน และควรได้รับการดูแลจากแพทย์ก่อนรุนแรงและคุกคามการใช้ชีวิต วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ เหนื่อยล้า หมดพลัง ชอบคิดลบต่อความสามารถของตนเอง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ เจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานประเมินว่าเรามีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานได้ไม่เหมือนเดิม และที่พบบ่อยคือ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและคนรอบข้างแย่ลง
  6. อยู่กับปัจจุบัน หากการติดอยู่ในอดีต คิดถึงแต่ช่วงวันหยุดยาว ทำให้เป็นทุกข์ และอนาคต วันหยุดยาวรอบต่อไป ก็ยังมาไม่ถึง และอาจไม่แน่ไม่นอน ดังนั้น จึงควรอยู่กับปัจจุบัน วางแผนจดลิสต์การทำงานที่ต้องทำแบบวันต่อวัน นอกจากจะทำให้รู้ว่า มีอะไรที่ต้องทำบ้าง ยังทำให้เห็นว่า ทำอะไรเสร็จไปบ้างแล้ว
  7. ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ หลังจากพ้นวันหยุดยาวได้ 2 – 3 วัน จะเป็นช่วงที่หลายคนรู้สึกไม่อยากไปทำงานมากที่สุด จึงต้องใช้ทั้งแรงกายและแรงใจในการปรับสภาพจิตใจในช่วงนี้มากพอสมควร เพื่อเบี่ยงเบนอารมณ์เศร้า ลองทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น เล่นเกม ดูซีรีส์ ฟังเพลง ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ ก็จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้
  8. ออกกำลังกายแก้เครียด ขณะที่เราออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟินให้เรามีความสุข ลืมความทุกข์ไปชั่วขณะ และยังทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
  9. กินอาหารที่ดี พักผ่อนให้เพียงพอ หากรู้สึกอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าจากการไปเที่ยวหลังวันหยุดยาว การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ อุดมด้วยโปรตีน มีไขมันน้อย เช่น ไก่ ปลา ไข่ไก่ ผักและผลไม้สด รวมถึงการนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 7 – 8 ชั่วโมง จะช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น
  10. วางแผนจัดทริปเที่ยวครั้งต่อไป สำหรับใครที่เพิ่งกลับจากการไปเที่ยวหลังหยุดยาว การต้องกลับไปทำงานอาจเป็นเรื่องหดหู่ใจ โดยเฉพาะคนที่มีอาการหมดไฟ ดังนั้น การวางแผนจัดทริปเที่ยวครั้งต่อไปก็จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจเบี่ยงเบนอารมณ์เศร้าได้ โดยเริ่มจากวางแผนว่าจะไปที่ไหน ไปกี่วัน พักที่ไหน ทำกิจกรรมอะไรบ้าง พร้อมเตรียมตัวเก็บเงินสำหรับการเดินทางครั้งต่อไป ด้วยการตั้งใจทำงานให้ดีเพื่อเป้าหมายที่วางไว้นั่นเอง

แม้อาการซึมเศร้า หลังวันหยุดยาว จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่รุนแรง แต่ส่งผลอย่างมากต่อทัศนคติและความรู้สึกที่มีต่อการทำงานและประสิทธิภาพต่อการทำงาน

หากปล่อยให้มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่ายต่อการทำงานเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลกระทบต่อภาวะหมดไฟและความก้าวหน้าในการทำงาน จึงควรดูแลจิตใจตนเอง รับมือกับภาวะนี้อย่างเข้าใจ รวมทั้งใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพจิตดังกล่าวข้างต้น ก็จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานและทำให้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าอาการซึมเศร้ายาวนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

เช็คด่วน 7 อาการ ภาวะ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เบื้องต้น 10 วิธีรับมือด้วยตนเอง เป็นนานแค่ไหน ควรปรึกษานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เดือดร้อนหนัก ! เด็กนักเรียน มพย.7 กว่า 1,000 คน ไม่มีห้องเรียนต้องอาศัยเรียนนอกอาคาร หลังคนร้ายลักลอบตัดสายไฟ จากหม้อแปลงส่งไฟไปอาคารเรียนและโรงยิม วอนเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดี
ไม่รอดสายตา 2 นายพรานย่องเบาหวังเข้ามาล่าสัตว์ในเขตอุทยานฯ เจ้าหน้าที่เร็วกว่าเข้ารวบก่อนลงมือล่า
"พิพัฒน์" ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
ศาลอาญา สั่งจำคุก 4 ผู้ชุมนุมกลุ่ม REDEM คนละ 2-4 ปี ฐานทำร้ายคฝ. ก่อนได้ประกันตัว
ครบรอบ 118 ปี กองทัพเรือ ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีสารจาก ผบ.ทร.
นายกสมาคมสื่อมวลชน และ นักประชาสัมพันธ์ภาคตะวันออก พร้อม ผู้สื่อข่าวภาคตะวันออก ร่วมแสดงความยินดี นริศ นิรามัยวงศ์ เดินทางมารับตำแหน่งใหม่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด ผลักดัน "โครงการ สร้าง ซ่อม ที่อยู่อาศัย" เพื่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้สูงอายุและผู้พิการประจำปี 2567
โซเชียลแห่ยกย่อง “น้องโนอาห์” วัย 1 ขวบ เสียชีวิตภาวะสมองตาย ครอบครัวบริจาคไตให้ผู้รอรับการรักษา
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นำกำลังพลร่วมกิจกรรม "วันกองทัพเรือ" 20 พ.ย.
ผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือสัตหีบ ให้การต้อนรับ นาวาเอก อเล็กเซย์ แอนต์ซิเฟรอฟ ผู้บังคับหมู่เรือ กองทัพเรือรัสเซีย พร้อมด้วยคณะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น