ดราม่า "ใบรับรองแพทย์" ทัวร์ลงยับ ๆ เจ้าของโพสต์ประณามหมอไม่ไหวจะต้านลบแล้ว รู้หรือไม่ กฎหมายแรงงาน ลาป่วยไม่ถึง 3 วัน นายจ้างขอใบรับรองแพทย์ไม่ได้
ข่าวที่น่าสนใจ
ดราม่า “ใบรับรองแพทย์” ?
Drama-addict ระบุถึงโพสต์ดราม่า กรณีตั้งกระทู้ประณามหมอไม่เขียนให้ลาหยุดเพื่อจะเอาไปลางาน ล่าสุดลบโพสต์ไปแล้ว คือ เจ้าของโพสต์ เล่าว่า เป็นหวัด ไอเจ็บคอ เลยไปหาหมอที่ รพ. ตอนเที่ยงคืน (ซึ่งไปที่ ER แน่ ๆ เพราะทั้ง รพ. เปิดแค่จุดเดียว) แล้วเขาโพสต์ว่า ถ้าจะต้องมา รพ. วันรุ่งขึ้น เพื่อขอใบรับรอง แพทย์ ไปลางาน น่าจะต้องรอคิวนาน คนเยอะ เลยขอให้หมอออก ใบ รับ รอง แพทย์ ให้ตอนนั้นเลย จะเอาไปลางาน หมอก็ไม่ให้ แล้วก็มีปากเสียงกัน หมอออกใบรับรองให้เต็มที่ว่ามาตรวจแค่วันนั้น ไม่ออกใบรับรองว่าให้ลาหยุดต่อ เขาก็เลยเอามาโพสต์ประณามหมอลงเฟซ ซึ่งทัวร์ลงยับ ๆ ขออธิบายให้คนไข้เข้าใจ ดังนี้
- ER มีไว้ดูแลเคสฉุกเฉิน จริง ๆ ถ้าเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ อาการไม่มาก จริง ๆ ไม่ควรมาห้องฉุกเฉิน (ยกเว้นอาการหนักมากจริง ๆ หน้ามืด ใจสั่น ความดันตก เหนื่อย แน่นหน้าอก แบบนั้นโอเค)
- หมอออกใบรับรอง แพทย์ ให้ตามข้อเท็จจริง ถ้าหมอเห็นว่าไม่จำเป็นต้องหยุด ก็เขียนไปตามนั้น เขียนตามที่คนไข้บอกไม่ได้ เพราะถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หมอเขียนไป คุกนะ
- การคิดว่า ถ้ามาวันเวลาปรกติแล้วคนจะเยอะ เลยมาตอนกลางคืนที่ห้องฉุกเฉิน อันนี้ไม่ควร เพราะถ้าคนคิดแบบนี้กันหมด แห่กันมาห้องฉุกเฉินทั้งที่อาการไม่หนัก ไม่จำเป็นต้องมาที่ ER รักษาที่ OPD ก็ได้ แต่ไม่อยากรอคิว
ห้องฉุกเฉินจะกลายเป็นคลินิกนอกเวลาทันที แล้วถ้ามีเคสหนัก ๆ มานี่ เราจะแบ่งทรัพยากรที่มีจำกัดได้ยากมาก แถมหมออาจเหน็ดเหนื่อยหมดแรงไปกับการดูเคสไม่หนักที่มากันมหาศาลนอกเวลาราชการ
ดังนั้น ขอให้ท่านที่ป่วยไม่หนัก โปรดเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องมา ER ให้กินยาตามอาการก่อน แล้วมารอคิวที่คลินิกผู้ป่วยนอกในวันรุ่งขึ้นในเวลาราชการ และเข้าคิวรออย่างเสมอภาคกัน
ถ้าหนักจริง ๆ ไป ER ได้ เพราะที่นั่นแบ่งคิวตามความหนักเบาของอาการ ยิ่งใกล้ตุยเท่าไหร่ก็ยิ่งได้คิวเร็วเท่านั้น
กฎหมายแรงงาน?
เพจ กฎหมายแรงงาน ให้ข้อมูลเอาไว้ กรณีถ้าลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน นายจ้างอาจให้แสดง “ใบรับรองแพทย์” ได้ ดังนั้น การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันจึงต้องมีใบรับรอง แพทย์ เพราะถ้านายจ้างให้แสดง ใบ รับ รอง แพทย์ (แต่ถ้าไม่มีจริง ๆ กฎหมายให้ชี้แจงได้) แล้วไม่มี หรือไม่อาจชี้แจงได้ว่าทำไมไม่มี อาจเป็นเหตุให้นายจ้างอ้างว่าไม่ป่วยจริง และเลิกจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาทำงาน 3 วันได้
ด้วยเหตุที่กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ เรียบร้อย เช่นนี้ นายจ้างจะออกกฎระเบียบให้ขัด หรือแย้งกับที่กฎหมายเขียนไว้ โดยเขียนว่า ลาป่วย 1 ถึง 2 วัน ต้องมีใบรับรอง แพทย์ ย่อมเป็นโมฆะ เพราะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยผลของกฎหมาย (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม. 32)
ส่วนลาป่วยบ่อยได้หรือไม่ กฎหมายแรงงานกำหนดว่า ให้ลูกจ้างลาป่วยได้ เท่าที่ป่วยจริง หมายความว่า จะใช้สิทธิลากี่วันก็ได้ ถ้าป่วยจริง ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาได้ แต่ถ้าลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน ต้องมีใบรับรอง แพทย์ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น
แม้กฎหมายให้ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่การที่นายจ้างได้คนที่ป่วยมาทำงาน ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ว่า ลูกจ้างคนนั้นเป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน เมื่อหย่อนสมรรภาพในการทำงาน นายจ้างจึงสามารถหยิบเอาเหตุลาป่วยบ่อย แม้การป่วยจะน่าเห็นใจ แต่นายจ้างก็นำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างลูกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (ตาม ม.49 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ) แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะเลิกจ้างด้วยเหตุที่ลูกจ้างป่วยไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย
และคิดดี ๆ คิดใหม่ ถ้าลูกจ้างจะปลอมใบ รับ รอง แพทย์ เพราะแม้จะมีปัญหาว่า ข้อบังคับฯ ของนายจ้าง ไม่ได้ระบุว่าการปลอมใบ รับรอง แพทย์ เป็นเรื่องร้ายแรง แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ความร้ายแรงอยู่ในตัวการกระทำนั้น เช่นนี้ แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าเป็นกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องเตือนก่อนก็สามารถเลิกจ้างได้ทันที โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง