กทม.เผยโควิดยังไม่หมด ติดเชื้อมากขึ้นหลัง “สงกรานต์” ส่วน “ไข้เลือดออก” คร่าชีวิตไปแล้ว 22 ราย

กทม.เผยโควิดยังไม่หมด ติดเชื้อมากขึ้นหลัง "สงกรานต์" ส่วน "ไข้เลือดออก" คร่าชีวิตไปแล้ว 22 ราย

Top news รายงาน วันที่ 20 เมษายน 2567 นางทวิดา กมลเวช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2567 วานนี้ (19 เม.ย.67) มีการรายงานสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญในปี 2567 อาทิ โควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก

โดยสถานการณ์โรคโควิด-19 ในช่วง 4 เดือนของปีนี้ พบสถานการณ์ระบาดสูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งปกติแล้วหลังสงกรานต์จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น สำนักอนามัยจึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเดินทางหายใจในช่วงนี้ สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่รายเดือนเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง ในปี 2566-2567 มีค่าสูงขึ้น สำนักอนามัยจึงได้ขออนุมัติจัดซื้อวัคซีนเพื่อฉีดให้นักเรียนสังกัดกทม. ในระดับประถมศึกษา และจะดำเนินการฉีดต่อไป

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือสาเหตุของการเพิ่มจำนวนผู้ป่วย อาจเกิดจากระยะในการรับวัคซีนที่ห่างมานาน ซึ่งการรับวัคซีนไม่ได้รับประกันว่าจะไม่ติดแต่จะลดอาการของผู้ป่วย สำนักอนามัยจึงควรให้ความรู้หลักการปฏิบัติตนให้มากขึ้น

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกทม. สัปดาห์ที่ 13 (17 ม.ค.-เม.ย.67) ประเทศไทยพบผู้ป่วย 24,619 ราย เสียชีวิตแล้ว 22 คน ในกทม.พบผู้ป่วย 1,730 ราย เสียชีวิต 2 คน อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดยประสิทธิผลของยาทากันยุงในผู้ป่วยสามารถลดการแพร่เชื้อได้ จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยทุกรายทายากันยุงเพื่อป้องกันยุงกัดในผู้ป่วยและสมาชิกในครัวเรือน โดยให้ปฏิบัติควบคู่ไปกับมาตรการเสริมอื่น

”โครงการตรวจสุขภาพล้านคนของกทม.เริ่มมีข้อมูลเข้ามาแล้ว ต่อไปจะมีการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินการวิเคราะห์ และวางแผนต่อไปได้ โดยกทม.จะรื้อวิธีการจัดเก็บข้อมูลใหม่และนำความคืบหน้ามารายงานคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครในการประชุมครั้งหน้า“ รศ.ทวิดา กล่าว

 

 

นางทวิดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากทม.รณรงค์เฉพาะในชุมชนและครัวเรือน แต่ไม่เคยรณรงค์ในสถานที่ทำงาน จึงควรทำงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง ทั้งไซต์ก่อสร้าง โรงงานและขอให้สำนักอนามัยวิเคราะห์ข้อมูลลงลึก ลักษณะของชุมชนที่มีการระบาด และสมมุติฐานของการเกิดระบาด เพื่อให้เกิดแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและสามารถลดจำนวนผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ในที่ประชุมสำนักอนามัยยังได้รายงานสถานการณ์โรคไวรัสซิก้า (โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) โรคไอกรน โรคฝีดาษวานร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สรวงศ์" ลุยแก้ปัญหา "เกาะกูด" ดึงนทท.ต่างชาติ ระดับไฮเอนด์ กระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่
ส่องเงินรางวัล "โอปอล สุชาตา" หลังคว้ารองอันดับ 3 เวที Miss Universe 2024
เปิดจำนวนเงินรางวัล "Miss Universe 2024" หลังสาวงามเดนมาร์ก คว้ามงกุฎไปครอง
“บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์” ให้การป.ป.ช. ลือสนั่น คดีช้้น 14 มีมูล จ่อเอาผิดกราวรูด
"กิตติรัตน์" เคลื่อนไหวแล้ว โพสต์ทุกเสียงค้านคือเครื่องเตือนใจ ให้ปฏิบัติดี
“รับน้องขึ้นดอย” นศ.โชว์สปิริตฝ่า “โค้งขุนกัณฑ์” พร้อมเพรียงสุดขนลุก!
เล่นผิดคนแล้ว “กัน จอมพลัง” ดับซ่าส์ “โล้นปีนเสา” แจ้งความจับคาผ้าเหลือง
"พิชัย" นำทีมเจรจา Google ขยายลงทุน คุย Walmart เปิดโอกาสสินค้าไทยวางขายเพิ่ม
สุดห่วง "สามี" วอนช่วยตามหา "ภรรยา" หายตัวปริศนา หลังเครียดสูญเงินลงทุน “ดิไอคอน” นับแสนบาท
ผู้ต้องหา ฆ่าตัดนิ้ว แม่ยายอัยการ ยังปากแข็ง ตร.เชื่อคนร้ายมีมากกว่า 1 คน เร่งขยายผลจับกุม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น