ภูมิภาคแถบเทือกเขายูรัลของรัสเซีย และประเทศเพื่อนบ้านคาซัคสถาน เผชิญอุทกภัยรุนแรงที่สุดในรอบ 80 ปี จากฝนตกหนักและหิมะละลายอย่างรวดเร็วจากอุณหภูมิสูงผิดปกติซ้ำเติม ทางการต้องอพยพประชาชนหลายหมื่นคนจากภูมิภาคโอเรนเบิร์ก และคูร์กัน ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดมีเรื่องให้น่าเป็นห่วงซ้ำซ้อนขึ้นมา เมื่อ “อาเกนตส์โว” เวบไซต์ข่าวเชิงสืบสวนของรัสเซีย ตรวจสอบพบว่า เหมืองยูเรเนียม อยู่ในเขตที่ทางการลงไว้ในแผนที่น้ำท่วมในภูมิภาคคูร์กันด้วย
เซอร์เก้ เอเรมิน ประธานองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมแห่งหนึ่งในรัสเซีย บอกว่า จากคลิปที่ชาวบ้านในพื้นที่บันทึกไว้ บ่งชี้ว่า บ่อเก่าแห่งหนึ่งที่มีปัญหายูเรเนียมรั่วไหลมานาน 35 ปี น่าจะจมอยู่ใต้น้ำแล้ว และอาจทำให้น้ำสำหรับการบริโภคปนเปื้อน
นักเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมในคูร์กัน เรียกร้องให้ทางการสั่งห้ามการทำเหมืองยูเรเนียมในพื้นที่มานาน เพราะเกรงว่าแหล่งน้ำใต้ดินและแม่น้ำโทโบลจะปนเปื้อน จากโคลนยูเรเนียมที่สะสมมานานหลายปี ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวมีแนวโน้มเกิดน้ำท่วมในฤดูใบไม้ผลิทุกปี จากน้ำในแม่น้ำโทโบลเอ่อล้น แต่ โรซาทอม (Rosatom) บริษัทพลังงานนิวเคลียร์ของรัฐ มองพวกประท้วงต่อต้าน ว่ากลัวกัมมันตรังสีจนขึ้นสมอง ผสมกับความไม่รู้ พร้อมกับอ้างว่า เหมืองมีปราการธรรมชาติกั้นแยกจากแม่น้ำ จึงไม่เชื่อว่าจะเกิดการรั่วไหลและปนเปื้อน
อันเดร โอซฮารอฟสกี้ นักฟิกสิกส์นิวเคลียร์ และนักรณรงค์ต่อต้านนิวเคลียร์ กล่าวว่า เหมืองเหล่านี้สร้างขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เคยถูกน้ำท่วมมาครั้งหนึ่งในปี 2537 และจากการสำรวจพื้นที่เมื่อหลายปีก่อน พบว่าปล่องเหมืองหลายแห่งไม่ได้ปิดผนึกอย่างเหมาะสม จึงเกิดการรั่วไหล แม่น้ำโทโบลแม้เป็นสายน้ำกว้างใหญ่ สารพิษอาจเจือจางไปมาก แต่ความเข้มข้นยังสูงกว่าปกติอยู่ดี จึงมีผลกระทบอย่างไม่ต้องสงสัย และการรับยูเรเนียมเข้าร่างกายนั้น อันตรายกว่าการสัมผัสภายนอกอย่างมาก
In Kurgan region of Russia, old wells of the Dobrovolnoye deposit, where one of Rosatom’s enterprises mines uranium, flooded. The uranium solution could have flowed into the Tobol river. This information is confirmed by environmentalists.
It is reported that the flood washed the… https://t.co/zdKHolDOJz pic.twitter.com/Z0VxNB8taW
— Anton Gerashchenko (@Gerashchenko_en) April 22, 2024