“ธปท.” ไม่ขัดข้องรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นศก. ย้ำจุดยืนแจก “ดิจิทัลวอลเล็ต” ต้องใช้งบคุณค่า ทำแบบเจาะจง

"ธปท." ไม่ขัดข้องรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นศก. ย้ำจุดยืนแจก "ดิจิทัลวอลเล็ต" ต้องใช้งบคุณค่า ทำแบบเจาะจง

“ธปท.” ไม่ขัดข้องรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นศก. ย้ำจุดยืนแจก “ดิจิทัลวอลเล็ต” ต้องใช้งบคุณค่า ทำแบบเจาะจง    Top News รายงาน 

 

ดิจิทัลวอลเล็ต

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.2567 นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยภายในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 1/2024 โดยย้ำว่า สำหรับจุดยืนของ ธปท.เกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet นั้น ในภาพรวมแล้ว ธปท.ไม่ได้ขัดข้องกับการที่รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เห็นว่าหากเป็นไปได้ ควรดำเนินนโยบายแบบเจาะจง

 

 

 

ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะดำเนินการตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐฯ โดยนำเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาดำเนินโครงการฯ นั้น นายปิติ ระบุว่า “เราไม่ได้มีอำนาจตัดสินว่า จะทำหรือไม่ทำโครงการดิจิทัลวอลเลต ตอนนี้ต้องส่งให้กฤษฎีกาตีความให้ชัดเจนว่า จะใช้มาตรา 28 กับโครงการนี้ได้หรือไม่ และขึ้นอยู่กับบอร์ด ธ.ก.ส. ว่า จะดำเนินการอย่างไร แบงก์ชาติเรา ดูแลในแง่การกำกับเรื่องสถานะการเงินทั่วไป”

 

นายปิติ ย้ำด้วยว่า “ในภาพรวม เราไม่ได้ขัดข้องกับการที่รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอะไร แต่เป็นเรื่องรูปแบบ ที่อยากจะให้มีการเจาะจง ถ้าเป็นไปได้ เพราะจะได้ช่วยกลุ่มที่มีความยากลำบากจริงๆ คุ้มค่ากับเม็ดเงิน และโดยหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ถ้าไปกระตุ้นกับคนที่ขาด ก็จะมีแรงส่งต่อเนื่องสูงกว่าด้วย ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบที่คุยกันว่า ถ้าเป็นไปได้ควรจะ targeted (กำหนดกลุ่มเป้าหมาย) น่าจะดี และประหยัดงบประมาณ

 

ในแง่รูปแบบการ financing (การจัดหาแหล่งเงินทุน) ก็อยากทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีความยั่งยืน และเป็นไปตามกรอบเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ในแง่นโยบายใหญ่ เราไม่ได้มีมุมมองอะไรที่ว่า ไม่ได้ควรทำอะไรอย่างนั้น เป็นเรื่องรายละเอียดมากกว่ารูปแบบ ส่วนเรื่อง ธ.ก.ส. นั้น ก็อยากให้กฤษฎีกาเป็นคนตีความ แบงก์ชาติไม่ได้มีจุดยืน ไม่ได้มี recommendation (คำแนะนำ) อะไรตรงนี้เลย”

 

นายปิติ กล่าวถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย ซึ่งล่าสุด ธปท. คาดว่าเศรษฐกิจปี 2567 จะขยายตัวที่ระดับ 2.6% ว่า เศรษฐกิจในภาพรวมมีความเสี่ยงด้านต่ำ (downside risk) เช่น การเบิกจ่ายภาครัฐที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเบิกจ่ายน้อยกว่าที่คาดไว้ ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งรวมถึงการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน เป็นต้น แต่ก็มีความเสี่ยงด้านสูง (upside risk) เช่นกัน อาทิ การเบิกจ่ายที่อาจดีกว่าที่คาด และการส่งออกที่อาจฟื้นได้มากกว่าที่มองไว้

 

 

สำหรับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนั้น แน่นอนว่าการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปดูแลราคาน้ำมันในประเทศ จะส่งผลกระทบต่อภาระการคลัง และในปัจจุบันเองภาระกองทุนน้ำมันฯก็อยู่ในระดับสูงมาก ส่วนในแง่การดำเนินการเงินนั้น ก็ต้องดูว่าช็อกที่เกิดขึ้นอยู่นานขนาดไหน และจะส่งทอดไปสู่กิจกรรมเศรษฐกิจโดยรวมมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังคิดว่า ไม่น่าทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก

นายปิติ กล่าวด้วยว่า ในการประชุม กนง.ครั้งล่าสุด กนง.ยังคงเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยที่อยู่ในระดับ 91% ต่อจีดีพี ซึ่งถือว่าระดับหนี้ที่สูงมาก ซึ่งหากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ Emerging markets พบว่ากลุ่มประเทศเหล่านั้นมีหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีที่ 60% ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ต่อจีดีพี และมีเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เป็นต้น ที่มีระดับหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90% ต่อจีดีพี

ดังนั้น ที่ประชุม กนง.จึงกำหนดนโยบายการเงิน ที่จะไม่ทำให้สถานการณ์หนี้สินครัวเรือนของไทยแย่ไปกว่าเดิม หรือไปซ้ำเติมปัญหาหนี้สินครัวเรือน

“เป็นระดับหนี้ที่สูง และแทนที่จะเป็นหนี้เพื่อซื้อบ้าน ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว แต่กลับเป็นหนี้บริโภคมากกว่า อันนี้เป็นโครงสร้างที่น่าเป็นห่วง จึงไม่อยากให้มันแย่ลงไปกว่านี้ นี่คือจุดประสงค์ของ กนง.โดยรวมในการกำหนดนโยบาย โดยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่คำนึง แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก เพราะเรื่องดอกเบี้ยนั้น เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพลวัตของหนี้ไม่มากก็น้อย เราไม่ได้คิดเลยว่า ดอกเบี้ยจะเป็นเครื่องมือหลักในการลดหนี้ และเป็นไปไม่ได้

 

 

ถ้าดูประสบการณ์ในต่างประเทศ ดอกเบี้ยไม่ได้มีบทบาทเยอะ และไม่สามารถลดปัญหาระดับหนี้ที่สูงได้ แต่สามารถช่วยให้ปัญหาไม่แย่ไปกว่านี้ได้ระดับหนึ่ง ส่วนตัวหลักที่จะทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนลดลง คือ ต้องทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น nominal income ต้องสูงขึ้น โดยเฉพาะการสูงขึ้นจากแรงส่งที่ไม่ได้มาจากดอกเบี้ย เช่น การส่งออกไปต่างประเทศที่ดีขึ้น และ productivity ที่สูงขึ้น เราไม่อยากให้เรื่องดอกเบี้ยไปซ้ำเติมปัญหามากกว่า” นายปิติ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น