“ปิยบุตร” พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ

"ปิยบุตร" พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ

ปิยบุตร” พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ

เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 67 นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง ถ้ารัฐบาลอยากทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยไม่แตะหมวด 1,2 ก็ไม่ควรเสี่ยงกับประชามติ 3 ครั้ง

โดยระบุว่า จุดยืนผมสนับสนุนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ การทำใหม่ทั้งฉบับก็คือ การทำใหม่ทุกหมวด ทุกมาตราอยู่แล้ว มีข้อห้ามแค่เพียงห้ามเปลี่ยนรูปของรัฐและระบอบการปกครองเท่านั้น ในอดีต 40 ,50 ,60 ก็ปรับปรุงสองหมวดนี้มาโดยตลอด ผมเองก็เห็นว่าในหมวด 1 และหมวด 2 มีหลายเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุง และเคยยกร่างเป็นแบบไว้แล้ว แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นๆที่ร่วมรัฐบาลประสงค์จะทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 ก็ไม่ควรเดิน “เกมเสี่ยง” ใช้ประชามติ 3 ครั้ง แต่ควรเลือกทางที่ปลอดภัยกว่า ทางใด ทางหนึ่ง ดังนี้

ปิยบุตร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1. ดำเนินการตามมติคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล แถลงที่สภาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 67 ที่ยืนยันทำประชามติ 2 ครั้ง คือ สส.เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อผ่านรัฐสภา ก็ต้องมาประชามติ ครั้งที่ 1 เมื่อผ่านก็เลือก สสร.มาทำใหม่ เมื่อได้ร่างใหม่ ก็เอามาประชามติครั้งที่ 2 หากอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ให้ดี ศาลไม่ได้บอกว่าต้องทำ 3 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง หากแก้ในรัฐสภาเพื่อเปิดทางให้มี สสร.ก่อน ก็ต้องไปจบที่ประชามติตามมาตรา 256 อยู่แล้ว เมื่อมี สสร.มาร่างใหม่โดย สสร.นี้ ก็ต้องไปจบที่ประชามติ เช่นนี้ ก็เป็นไปตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ แต่ถ้ายังกังวลกันอีก ก็สามารถอธิบายได้ว่าการทำใหม่แบบไม่แก้ หมวด 1,2 ย่อมไม่ใช่การทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ในความหมายที่ปรากฏในคำวินิจฉัย 4/64

 

2. ใช้กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ 2560 รายมาตรา ตั้งแต่ มาตรา 25-มาตรา 279 ไปเลย เว้น มาตรา 1-24 ในหมวด 1 และ 2 ไว้ อาจบอกกันว่าแก้รายมาตราจะไปติด สว.อีก แต่สภาพดุลอำนาจตอนนี้ พรรคเพื่อไทยน่าจะคุยกับ สว.รู้เรื่องกว่าแต่ก่อน และเดือนหน้า สว.250 คน ก็จะพ้นไปแล้ว การใช้วิธีนี้จะเป็นการไม่แก้ หมวด 1,2 โดยไม่ต้องพูดชัดแจ้งว่าจะไม่แก้หมวด 1,2 ให้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา การใช้วิธีนี้เป็นการยกประเด็นการแก้เรื่องหมวด 1 หมวด 2 ออกไปจากรัฐสภาโดยปริยาย สมาชิกและประชาชน ก็ต้องมาโฟกัสหมวดอื่นๆแทน

 

ทั้ง 2 วิธีนี้ ทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่รัฐบาลต้องการ ไม่แตะหมวด 1,2 โดยไม่ต้องไปเสี่ยงกับประชามติรอบแรกว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะถ้าไม่ผ่าน พวกสนับสนุนรัฐธรรมนูญ 60 จะยิ่งอ้างความชอบธรรมมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลา และประหยัดเงิน 3,200 ล้านบาท

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น