เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานต้นไม้ใหญ่ ด้านหน้ามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ พบ 2 สามี ภรรยา ได้จอดรถตู้คันเก่า ที่ตกแต่งภายในสำหรั
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานต้นไม้ใหญ่ ด้านหน้ามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ พบ 2 สามี ภรรยา ได้จอดรถตู้คันเก่า ที่ตกแต่งภายในสำหรั
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยทั้ง 2 สามี ภรรยา มีชื่อว่า นาย จำรัส เอี่ยมสุธนกุล อายุ 42 ปี เป็นชาวตำบลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และ นางสาว คนารักษ์ ชัยช่วย อายุ 37 ปี เป็นชาวอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ อดีตทำงานเป็นนักสื่อสารมวลชนอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้ออกจากงานประจำ ไปศึกษาหาความรู้ที่ประเทศออสเตรเลีย แล้วกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยตั้งเป้าไว้ว่า อยากมีรถสักคัน ขับไปเที่ยวด้วย ได้ขายของไปด้วย โดยได้ใช้เงินเก็บที่ไปทำงานเก็บประสบการณ์ที่ประเทศออสเตรเลีย มาซื้อรถตู้คันเก่า นำมาตกแต่งภายในเองตามชอบ แล้วนำประสบการณ์ที่ได้จากการขายกาแฟ และเป็นเชพที่ร้านอาหารอิตาเลี่ยน มาประยุค ดัดแปลง ให้เข้ากับบ้านเมือง ตระเวณออกขายตามงานเฟสติวัลทั่วประเทศ และจอดขายตามเส้นทางที่ผ่าน หากท่านใดสนใจอยากติดตามความเคลื่อนไหว หรืออยากลองแวะชิม สามารถติดต่อ หรือติดตามได้ที่เพจ เฟซบุ๊ค Khoipen Khoipai ข้อยเป็น ข้อยไป
นางสาว คนารักษ์ ชัยช่วย อายุ 37 ปี เป็นชาวอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ ได้เล่าว่า แฟน อดีตทำงานเป็นสายกราฟฟิก ผลิตแม็กกาซีน ในบริษัทแห่งหนึ่ง หลังจากที่สื่อออนไลน์รุกหนักขึ้น แม็กกาซีนก็เริ่มปิดตัวลงไป ส่วนตนเองนั้น ทำงานเป็นครีเอทีฟ รายการตลกชื่อดัง จึงได้ชักชวนกันไปทำงานเก็บตังค์อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย โดยที่ตนเองได้ไปทำงานที่ร้านกาแฟ ส่วนแฟนตน ทำงานเป็นเชฟที่ร้านอาหารอิตาเลี่ยน ได้ 5 ปีกว่า จึงได้พากันกลับมาอยู่เมืองไทย ที่บ้านเกิดแฟน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มาอยู่ใกล้และดูแลครอบครัว โดยได้ใช้เงินเก็บที่มี หาซื้อซากรถ และช่วยกันออกแบบตกแต่งภายใน ลงทุนไปร่วมกว่าครึ่งล้านบาท โดยมีความฝันว่า ขับรถไปท่องเที่ยวและขายของไปด้วย โดยที่ตนเองนั้นมักจะเดินทางไปขายตามงานมิวสิคเฟสติวัลต่างๆทั่วประเทศ และหากไปทำธุระที่ไหนก็จะขับรถคันนี้ไปเปิดขายตามเส้นทางด้วย หากไม่มีเทศกาล หรือไม่ได้ไปไหน ตนเองก็จะจอดขายริมทางในตัวอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางเชื่อมระหว่าง ถนนแจ้งสนิทไปจังหวัดศรีสะเกษ จุดสังเกตุจะมีต้นไม้ใหญ่ๆ
โดยรายได้ในแต่ละวันก็พออยู่ได้ หากได้ออกงานจะขายดีหน่อยสูงสุดราว 100 แก้ว ในราคาเริ่มต้นที่ 40-80 บาท ส่วนเมนูก็ไม่ได้แตกต่างไปจากคนอื่นมาก ก็มีบ้างที่ตนทำวัตถุดิบเองกับมือ เพราะตนเองรู้สึกว่า กลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด หรือตามชนบท เขาอาจจะยังไม่เคยได้กิน คราฟโคล่า พาสต้าเส้นสด ที่มีขายเฉพาะในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ ตนจึงอยากจะนำมาเสริฟให้ถึงที่ในราคาที่สมเหตุสมผล พออยู่ได้ กำไรไม่มาก ซึ่งตนเห็นได้เห็นแววตาคนกินแล้วรู้สุขใจแทน ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ แต่อาจจะเป็นสิ่งแปลกใหม่ของคนในชนบท
สำหรับความหมายของชื่อร้านว่า ‘ข้อยเป็น ข้อยไป’ อยากให้คนฟังหรือเห็น รับรู้ถึงทั้ง 2 ความหมาย คนทั่วไปจะนึกถึง ค่อยเป็น ค่อยไป หมายความว่า ร้านนี้จะเดินเนินไปแบบค่อยๆทำนะ แล้วเราก็เป็นเครื่องดื่มแนว สโลว์ บาร์ ตามคอนเซ็ปต์ “ชงช้า ๆ แต่มีเสน่ห์” ส่วนอาหารก็เป็นแนว โฮมเมด ทำเส้นสดเอง มันก็ช้าอยู่แล้ว โดยรวมคือการค่อยๆทำ ส่วนความหมายของ (ข) ข้อย ก็คือ ตัวเราเอง คือพวกเราเป็นแบบนี้ ค่อยเป็น ค่อยไป ทำไปเรื่อยๆเท่าที่มีกำลัง
โดย นาย จำรัส เอี่ยมสุธนกุล อายุ 42 ปี เป็นชาวตำบลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้เล่าว่า ตนเองอยากจะนำเสนออะไรที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน fusion (ฟิวชั่น) กับอิตาเลี่ยน ที่เป็นการหลอมระหว่างอาหารอิตาเลี่ยนกับอาหารอีสานเข้าด้วยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ ตนเองเป็นเชฟอยู่ร้านอาหารอิตาเลี่ยน ที่ประเทศออสเตรเลีย ได้ 5 ปี จึงได้นำทักษะที่ได้ มาประยุคใช้กับบ้านเรา ซึ่งบ้านเราก็จะมีพาสต้าจำพวก ผัดขี้เมา ซึ่งของอิตาเลี่ยนเลยก็จะมี คาโบนาร่า หรืออะไรประมาณนี้ ซึ่งคนอื่นเขาทำมาหมดแล้ว ตนเองจึงอยากจะหาอะไรใหม่ๆมานำเสนอบ้าง จึงได้ไปเลือก ingredient อินกรีเดียน หรือส่วนผสม มาจากตลาดชาวบ้าน คือถ้าเดินไปเจออะไรก็คิดตาม ว่ามันจะใช้กับอาหารฝรั่งได้ไหม แล้วค่อยเอามาประยุคใช้ ลองผิดลองถูกมา จนได้มาเป็นสูตรนี้ คือ พาสต้าแกงขี้เหล็ก บักบก(จบก) ที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจมาก โดยจบกก็ดัดแปลงมาจากอัลม่อนนั่นเอง แต่ราคาก็น่าจะใกล้เคียงกับอัลม่อนเช่นกัน ซึ่งมันดูมีเสน่มากกว่า.
ทีมข่าว จ.สุรินทร์ รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น