“ผบ.ทสส.” ฮึ่ม สั่งกองทัพพัฒนาอาวุธยิงระยะไกล-โดรน ตอบโต้ภัยคุกคาม ติดเขี้ยวเล็บทหารไทย

“ผบ.ทสส.” ประชุมผบ.เหล่าทัพ เร่งติดเขี้ยวเล็บให้ทหารไทย สั่งกองทัพพัฒนาอาวุธยิงระยะไกล-อากาศยานไร้คนขับ ตอบโต้ภัยคุกคาม ด้าน สตช. จ่อนำโดรนใช้ภารกิจถวายความปลอดภัยทางอากาศ

“ผบ.ทสส.” ฮึ่ม สั่งกองทัพพัฒนาอาวุธยิงระยะไกล-โดรน ตอบโต้ภัยคุกคาม ติดเขี้ยวเล็บทหารไทย – Top News รายงาน

สั่งกองทัพพัฒนาอาวุธยิงระยะไกล-โดรน

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 พลเอกทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 3 ประจำปี 67 ประกอบด้วย

  • พลเอกเจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก
  • พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ
  • พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ
  • พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน

ภายหลังการประชุม นาวาอากาศเอกจงเจต วัชรานันท์ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย และพันเอกหญิงพัชรินทร์ สุนทรวรรณ รองโฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมแถลงข่าว ผลการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ นาวาอากาศเอกจงเจต กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมฯ ได้รับทราบแนวทางการพัฒนาศักยภาพของอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ เพื่อใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งแต่ละเหล่าทัพ มีระบบปฏิบัติการหลายส่วน ที่ผ่านมากองบัญชาการกองทัพไทย ได้ร่วมกับเหล่าทัพ จัดทำแผนป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพไทย ในขั้นปกติ โดยมอบให้กองทัพอากาศเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ในส่วนของกองทัพบก และกองทัพเรือ ให้เตรียมการสนับสนุนเรดาร์แจ้งเตือนภัย เพื่อให้การเฝ้าตรวจในพื้นที่อับสัญญาณ เรดาร์จากกองทัพอากาศสามารถครอบคลุมได้ทั้งหมด

ด้านพันเอกหญิงพัชรินทร์ กล่าวว่า กองบัญชาการกองทัพไทย บูรณาการการใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ของกองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถในการสนับสนุนงานด้านการทหาร และด้านความมั่นคง สามารถรับมือภัยคุกคามซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมกำลัง อาทิ การจัดทำหลักนิยม การฝึกอบรมกำลังพล การปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วย และการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ สำหรับการใช้กำลังในระยะสั้น

ข่าวที่น่าสนใจ

กองบัญชาการกองทัพไทย ได้มอบให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล รับผิดชอบภารกิจต่อต้าน UAS โดยมุ่งเน้นรองรับการก่อเหตุที่มาจาก UAS ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงภายใน รวมถึงพัฒนาขีดความสามารถการใช้ UAS เชิงรุกในระยะยาว มุ่งเน้นการบูรณาการการป้องกันภัยทางอากาศ ในภาพรวมของกองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถในการต่อต้าน UAS ทางทหารที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงอาวุธยิงระยะไกล โดยจะประสานความร่วมมือกับเหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่วนกองทัพบก จะเป็นการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ เพื่อใช้ในการปฏิบัติการกิจทั้งการป้องกันประเทศ การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม และการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ตามนโยบายรัฐบาล โดยนำมาใช้ในการลาดตระเวน เฝ้าตรวจ การระวังป้องกัน และรักษาความปลอดภัย การค้นหาเป้าหมาย และการปรับการยิงอาวุธสนับสนุน ตลอดจนการควบคุมและอำนวยการยุทธ์ในสถานการณ์ต่าง โดยมุ่งเนันการปรับปรุงโครงสร้างกำลังของกองทัพ และเสริมสร้างขีดความสามารถของกำลังทางบก ให้มีความทันสมัย และเชื่อมโยงกับระบบปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

ด้านกองทัพเรือ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับ ประจำฐานบินชายฝั่งจำนวน 6 ระบบ อากาศยาน จำนวน 7 เครื่อง โดยได้จัดทำร่างแนวทางบริหารจัดการระบบอากาศยานไร้คนขับ พ.ศ.2566 เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการระบบอากาศยานไร้คนขับของกองทัพเรือ ซึ่งครอบคลุมในด้านยุทธการและการฝึก การกำลังพล การส่งกำลังบำรุง และโครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสารและควบคุมบังคับบัญชา การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2560-2580

พัฒนาอาวุธยิงระยะไกล

ส่วนกองทัพอากาศ ได้นำเสนอสถานภาพกำลังรบ ด้านระบบอากาศยานไร้คนขับ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ และแนวทางการพัฒนา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ โดยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอากาศยานไร้คนขับที่ประจำการในกองทัพอากาศ ประกอบด้วย การจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับที่ทันสมัยจากต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ

ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้นำระบบอากาศยานไร้คนขับ และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ มาใช้ในภารกิจด้านการถวายความปลอดภัยทางอากาศ งานสืบสวนและความมั่นคง งานป้องกันปราบปราม งานจราจร งานสอบสวน งานบรรเทาสาธารณภัย และงานอำนวยการ โดยปัจจุบันขีดความสามารถของระบบต่อต้านอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบินประเภทควบคุมการบินจากภายนอก ประกอบด้วย ระบบตรวจจับ และระบบต่อต้านอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินฯ แบบรอบทิศทาง แบบกำหนดทิศทาง และแบบพกพา

โดยมีแนวทางการพัฒนาในอนาคต ด้วยการจัดหาอุปกรณ์ระบบตรวจจับ ที่สามารถตรวจจับอากาศยานไร้คนขับได้ครอบคลุมทุกยี่ห้อ ตรวจจับสัญญาณโดรนได้ทุกระดับความสูง สามารถแสดงพิกัดของโมทที่ใช้บังคับอากาศยานได้ และมีจำนวนเพียงพอ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น