พฤติการณ์ สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณเดือน พฤศจิกายน 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ได้มีการจับกุมกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่มีการสร้างเว็บไซต์กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ปลอมขึ้นมา เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายที่เคยโดนมิจฉาชีพหลอกเอาเงินไป ซึ่งเหมือนเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนผู้เสียหาย โดยกลุ่มคนร้ายที่ปลอมเว็บไซต์ CIB นี้ขึ้นมา จะสร้างความน่าเชื่อถือกับผู้เสียหายว่า สามารถติดตามเงินคืนกลับมาให้ผู้เสียหายได้ ก่อนที่จะหลอกเอาเงินผู้เสียหายซ้ำอีกครั้ง
โดยต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ได้สืบสวนติดตามจับกุมขบวนการดังกล่าว โดยร่วมกันตรวจค้น 9 จุด เป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , สมุทรสาคร , เชียงราย , สุราษฎร์ธานี และสระแก้ว ขณะนั้นจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 ราย ในจำนวนนี้มี 4 รายที่ทำหน้าที่ในการฟอกเงิน และอีก 1 รายเป็นโปรแกรมเมอร์ มาดำเนินคดีตามกฎหมาย จากการจับกุมในครั้งนั้น มีการสืบสวนขยายผลกลุ่มคนร้ายต่อเนื่อง กระทั่งพบคนร้ายที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด เพิ่มเติม โดยมีการแบ่งหน้าที่กันทำ ดังนี้
1. MR.CHEN สัญชาติ จีน และนายอนันต์ฯ สัญชาติไทย เป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัลที่ใช้ในการกระทำความผิด และร่วมกันการฟอกเงินดิจิทัล ให้เป็นเงินสด (บาทและหยวน) เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายเงินของกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. ได้รวบรวมพยานหลักฐาน ขอศาลอาญาออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 5 รายไว้ ก่อนเปิดปฏิบัติการ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดยกก.2 บก.ปอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กก.1 บก.ปอท. , กก.4 บก.ปคบ. และ ทล.1 กก.6 บก.ทล. บูรณาการกำลังร่วมกัน เข้าทำการตรวจค้นและจับกุม กลุ่มผู้ร่วมขบวนการการกระทำความผิดดังกล่าว
โดยเข้าทำการตรวจค้นทั้งสิ้น 8 จุด แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 จุด, จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 2 จุด,จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 2 จุด และ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 จุด จับกุมผู้ต้องหาในคดีได้ จำนวน 2 ราย ได้แก่ MR.CHEN สัญชาติ จีน และนายอนันต์ฯ สัญชาติไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัลที่ใช้ในการกระทำความผิด และร่วมกันการฟอกเงินดิจิทัล ให้เป็นเงินสด(บาทและหยวน) เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายเงินของกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ได้ทำการเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาสอบสวนให้ปากคำ อีกจำนวน 5 ราย
จากการตรวจค้น สามารถตรวจยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จำนวนหลายรายการ (ตามของกลางข้างต้น) เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตรวจยึดไว้ พร้อมนำส่งพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ปอท. ดำเนินคดีตามกฎหมาย
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น MR.CHEN ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่จากการสืบสวนขยายผลพบว่า MR.CHEN มีหน้าที่ในการบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัลให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยโทรศัพท์มือถือที่ตรวจยึดได้จาก MR.CHEN มีการใช้แอปพลิเคชันหนึ่งในการบริหารจัดการกระเป๋าดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์จำนวนหลายใบ มียอดเงินหมุนเวียนของกระเป๋ารวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท โดยกระเป๋าดิจิทัลเหล่านี้พบว่าเป็นกระเป๋าที่ตรงกันกับ ที่ได้มีการเข้าแจ้งความไว้ในระบบรับแจ้งความออนไลน์ มากกว่า 30 คดี โดยมีพฤติการณ์การก่อเหตุ ดังต่อไปนี้
1.) หลอกทำงานออนไลน์ 2.) ข่มขู่ผู้เสียหายว่าจะถูกดำเนินคดี 3.) หลอกลงทุนเงินดิจิทัล-หุ้น 4.) หลอกเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าหรือเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง หลอกลงแอปพลิเคชันดูดเงิน 5.)หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแจ้งผู้เสียหายกำลังถูกแฮ็กบัญชีธนาคารให้ผู้เสียหายโยกเงินไปเก็บไว้ที่ปลอดภัย ฯลฯ
อีกทั้ง MR.CHEN ผู้ต้องหารายนี้ ยังมีหน้าที่ฟอกเงินโดยแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิตอลเป็นเงินสกุลต่างๆ ให้กับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่มีฐานปฏิบัติการในประเทศกัมพูชา อีกทั้งตัวของ MR.CHEN ได้ใช้ชื่อของบุคคลอื่น (สัญชาติไทย) ในการทำธุรกรรมเพื่อซื้อและถือครองทรัพย์สินหลายรายการด้วยเงินสด อาทิเช่น บ้านเดี่ยว 2 ชั้น, ที่ดิน, รถยนต์และทรัพย์สินมีค่าเครื่องประดับ
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบวีซ่าของ MR.CHEN พบว่าเป็น วีซ่าประเภท อีลิท การ์ด แพคเกจแบบ 5 ปี และในวันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุม MR.CHEN พบภรรยาสัญชาติจีนของ MR.CHEN พักอาศัยอยู่ด้วยกันกับ ลูก 3 คน โดย MR.CHEN ได้ให้ภรรยาของตนจดทะเบียนสมรสกับชายไทยและให้ชายไทยคนดังกล่าวรับเป็นบิดาของลูกทั้ง 3 คน โดยจุดประสงค์เพื่อให้ลูกที่เกิดมาได้รับสัญชาติไทย
ขณะที่ นายอนันต์ฯ ผู้ต้องหาปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยให้การว่าได้รู้จัก MR.CHEN มาประมาณ 10 ปี และได้ให้ MR.CHEN ใช้บัญชีธนาคารและบัญชีแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัลของตนเอง แต่ไม่ได้มีส่วนในการไปหลอกลวงแต่อย่างใด