“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” แจงแล้วปมวัคซีน “แอสตร้าเซนเนกา” ทำเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แจงแล้วปม ‘วัคซีนแอสตร้า’ ยอมรับเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจริง แต่ไม่ใช่ข้อมูลใหม่ WHO ออกคำเตือนเป็นระยะ บริษัทก็มีเอกสารข้อควรระวัง ชี้ภาวะนี้พบน้อยมาก ในประเทศไทย 1 ใน 10 ล้านคน

“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” แจงแล้วปมวัคซีน “แอสตร้าเซนเนกา” ทำเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน – Top News รายงาน

แอสตร้าเซนเนกา

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ออกเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่อง ภาวะลิ่มเลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำภายหลังการได้รับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนกา โดยระบุรายละเอียดว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวในประเด็น บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ยอมรับว่าวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทอาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือ TTS ซึ่งอาจทำให้เกิดความกังวลใจของประชาชนได้นั้น สถาบันวัคซีนแห่งชาติรับทราบข้อกังวลดังกล่าวแล้ว และขอให้ข้อมูล ดังนี้

ข่าวที่น่าสนใจ

1.ข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ข้อมูลใหม่ แต่เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการใช้วัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าในวงกว้าง ซึ่งจากข้อมูลทั่วโลกพบว่าภาวะTTS ที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบได้น้อยมาก โดยรายงานการเกิดภาวะTTS ภายหลังการฉีดวัคซีนส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป และจากรายงานทั่วโลกพบว่าอุบัติการณ์ของภาวะTTS ภายหลังการฉีดวัคซีน มีความแตกต่างทางภูมิศาสตร์อย่างมาก

โดยมีรายงานน้อยมากที่มาจากประเทศนอกยุโรป จากข้อมูลของสหราชอาณาจักร ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2564 และสหภาพยุโรปคาดการณ์ว่าความเสี่ยงในการเกิด TTS ของประชากรในภูมิภาคอยู่ที่ประมาณ 1 ราย ต่อ 100,000 ประชากร ในขณะที่ฐานข้อมูลความปลอดภัยระดับโลกของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า พบว่าอัตราการรายงาน TTS ต่อประชากร 1,000,000 ราย อยู่ระหว่าง 0.2 ในประเทศแถบเอเชียและบราซิล ถึง 17.6 ในกลุ่มประเทศนอร์ดิก

สำหรับประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ทั้งหมด 48,730,984 โดส พบผู้สงสัยหรือยืนยันภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจำนวน 7 ราย อัตราการเกิดภาวะ TTS เท่ากับ 0.014 ต่อ 100,000 ประชากร หรือจะพบผู้มีภาวะดังกล่าวได้ 1 รายในผู้ได้รับวัคซีนจำนวน 10,000,000 คน

2.ภาวะTTS ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการได้รับวัคซีน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายใน 3-21 วันแรก หลังจากที่ได้รับวัคซีน ซึ่งมักพบภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มแรกมากกว่าเข็มที่สอง และพบในคนอายุน้อยมากกว่าผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ ข้อมูลความเสี่ยงของภาวะดังกล่าว ได้ถูกเพิ่มเติมในเอกสารกำกับยาของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า หัวข้อ “คำเตือนพิเศษ และข้อควรระวังในการใช้ยา”ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2564 ภายหลังจากที่มีข้อมูลภายหลังการใช้วัคซีนในวงกว้างมากขึ้น ทำให้หลังจากนั้นสามารถติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการฉีดวัคซีน และสามารถให้การรักษาภาวะดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

3.ความเสี่ยงของการเกิดภาวะ TTS ภายหลังจากการป่วยด้วยโควิด-19 สูงกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการได้รับวัคซีนโควิด-19 หลายเท่า จากการเก็บข้อมูลในอังกฤษ ซึ่งมีประชาชนจำนวน 19,608,008 คน ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ของ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า เป็นโดสแรก กับกลุ่มประชาชนที่มีผลบวกในการตรวจการติดเชื้อ SARS-CoV-2 จำนวน 1,758,095 คน

4.องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกเอกสารคำแนะนำสำหรับการใช้วัคซีนโควิด-19 ของ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 และได้ปรับคำแนะนำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เมื่อมีข้อมูลภายหลังการใช้ที่มากขึ้น โดยปรับปรุงคำแนะนำล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 มีใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นภาวะ TTS ที่เกิดภายหลังการได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ดังนี้ ในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมีมากกว่าความเสี่ยงอย่างมาก อย่างไรก็ตามการประเมินประโยชน์และความเสี่ยงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้แต่ละประเทศควรพิจารณาสถานการณ์ทางระบาดวิทยา ความเสี่ยงในระดับบุคคลและประชากร ความพร้อมของวัคซีนชนิดอื่นๆ และทางเลือกสำหรับการลดความเสี่ยง ฯลฯ

5.ปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้าแล้ว เมื่อพิจารณาจากข้อมูลข้างต้น พบว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะ TTS ที่เป็นผลมาจากการป่วยด้วยโควิด-19 มีอุบัติการณ์สูงกว่า ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ของ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า อย่างมากและทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย มีระบบกำกับดูแลความปลอดภัยของการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนมากกว่าความเสี่ยงที่ได้รับอย่างดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงภายหลังจากการได้รับวัคซีนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่จะมีการควบคุมให้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด ก่อนการพิจารณาอนุญาตให้ใช้วัคซีนในวงกว้าง ขอให้ประชาชนคลายความกังวลใจ ทั้งนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติม สถาบันวัคซีนแห่งชาติจะทำการอัปเดตข้อมูลให้ท่านทราบเป็นระยะ

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดทน "พ่อพิการ" ร้อง "กัน จอมพลัง" หลังถูกลูกทรพี ใช้จอบจามหัว-ทำร้ายร่างกาย จนนอน รพ.นับเดือน
สลด กระบะชนจยย.พลิกคว่ำตก "ดอยโป่งแยง" เชียงใหม่ เจ็บตายรวม 13 ราย
“สมศักดิ์” ยกนวดไทยเป็นมรดกชาติ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจสุขภาพ เล็งพาหมอนวดโกอินเตอร์ โชว์ฝีมืองาน เวิลด์เอ็กซ์โปโอซาก้า ญี่ปุ่น
ห่ามาแล้ว! “แม่สอด” พบติดเชื้ออหิวาต์ เผยญาติฝั่งพม่าซื้อข้าวมากินด้วยกัน
ผกก.สภ.รัตนาธิเบศร์ สั่งตั้งคกก.สอบ "ตร.จราจร" รีดเงินแทนเขียนใบสั่ง
สตม. บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลางคอนโดหรูห้วยขวาง รวบ 6 คนจีน อึ้งเจอซิมการ์ด 2 แสนซิม
ครูบาอริยชาติ เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ฉลองสมโภช 18 ปีวัดแสงแก้วโพธิญาณ และทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล 44 ปี
กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา "ชวาล" ส.ส.พรรคประชาชน ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ โทษคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
จีนเตือนสหรัฐกำลังเล่นกับไฟหลังส่งอาวุธให้ไต้หวัน
อิลอน มัสก์วิจารณ์แรงผู้นำเยอรมันเหตุโจมตีตลาดคริสต์มาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น