“ดร.อานนท์” สรุปคลิปสนทนา “แอนิเมชั่น 2475” ชี้ชัด “อ.สุลักษณ์” ควรอ่านหนังสือให้มากกว่านี้

"ดร.อานนท์" สรุปคลิปสนทนา "แอนิเมชั่น 2475" ชี้ชัด "อ.สุลักษณ์" ควรอ่านหนังสือให้มากกว่านี้

ดร.อานนท์” สรุปคลิปสนทนา “แอนิเมชั่น 2475” ชี้ชัด “อ.สุลักษณ์” ควรอ่านหนังสือให้มากกว่านี้

วันที่ 5 พ.ค. 67 ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Arnond Sakworawich” ระบุว่า ในการพูดคุยระหว่าง อาจารย์ Sulak Sivaraksa กับ ศ.ดร. ไชยยันต์ ไชยพรเกี่ยวกับ 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ อ.สุลักษณ์กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงอ่านงานของมาร์กซ์และสตาลิน แต่พอ อ.ไชยันต์ถามหาหลักฐานอ้างอิงในสิ่งที่อ.สุลักษณ์วิพากษ์วิจารณ์ อ.สุลักษณ์ กลับตอบกลับว่า ผมคิดว่า ผมเชื่อว่า บางทีผมอาจจะผิด ผมยังไม่ได้อ่าน

ดร.อานนท์

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ความจริงอันแน่นอนคือ อ.สุลักษณ์ยังอ่านมาไม่พอ ศึกษามาไม่พอ แต่ก็บังอาจวิจารณ์โดยรู้ไม่จริง

อ.สุลักษณ์ สมควรไปทำการบ้าน อ่านหนังสือให้มากกว่านี้ก่อนจะมากล่าวหาลอยๆ ไร้หลักฐาน ว่าในหลวงรัชกาลที่ 7 ไม่เคยทรงอ่านงานของคอมมิวนิสต์ คนที่อ่านมาไม่พอแน่ๆ คือตัวอาจารย์สุลักษณ์เองนะครับ

ถ้าอาจารย์สุลักษณ์เหงา อยากหาเพื่อนทำการบ้านอ่านหนังสือ ผมขอแนะนำให้อาจารย์สุลักษณ์ไปทำการบ้าน และอ่านหนังสือเป็นเพื่อนกับน้องรุ้ง ปณัสยา ก็ได้นะครับ จะได้มีกัลยาณมิตรผู้มีภูมิธรรมภูมิรู้เสมอเสมือนเท่าเทียมกัน ร่วมอ่านร่วมศึกษาไปด้วยกัน

 

 

 

ก่อนหน้านั้น เพจเฟซบุ๊ก “ปราชญ์ สามสี” โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า หลังจากได้มีโอกาสฟังเทปอาจารย์ศิวรักษ์คุยกับอาจารย์ไชยันต์เรื่องภาพยนตร์ 2475 นั้นข้าพเจ้าขอยอมรับว่า…

ต้องขออนุญาตกินยาลดความดันเสียหน่อยครับเพราะว่าจากที่ได้ฟังว่าทางศิวรักษ์ ไม่เชื่อว่ารัชกาลที่ 7 เป็นผู้เขียนหนังสือปกขาวรวมถึงที่ว่าพระองค์ท่านไม่เคยอ่านหนังสือของ สตาลิน..

อาจารย์สุลักษณ์ใช้หลัก”ผมไม่เคยเห็น” “ผมไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนั้น” ” ผมจึงไม่เชื่อ”

ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการของนักประวัติศาสตร์

จะใช้หลักคำว่าผมเชื่อว่าจึงเป็นหลักของประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้อีกเช่นกัน!!!!
ยิ่งตั้งตนเป็นนักประวัติศาสตร์ระดับนักปราชญ์แห่งยุค ….(เขาเรียกตัวเองว่าปัญญาชนสยาม) แต่กลับไม่เคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 นับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตลกดีครับ

 

เรื่องสมุดปกขาวนั้นจะต้องเท้าความของการกำเนิดของสมุดปกเหลืองเสียก่อน
โดยเฉพาะสมุดปกเหลืองที่อาจารย์ปรีดีได้พูดเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจที่อ้างอิงแนวคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งพระยามโนปกรณ์นิติธาดาซึ่งเป็นนายกฯ ในเวลานั้นเล็งเห็นแล้วว่าวิธีการนี้อาจจะไม่เหมาะสมจึงได้หารือปรึกษากับรัชกาลที่ 7 จนออกเป็นหนังสือปกขาวขึ้นเพื่อท้วงติงการบริหารการจัดการของอาจารย์ปรีดีว่าไม่เหมาะสมกับประเทศสยามของเรา

เหตุการณ์นั้นส่งผลทำให้เกิดความขัดแย้งภายในสภาทำให้พระยามโนปกรณ์ที่ป็นนายกฯจำเป็นที่จะต้องปิดสภาและบังคับใช้กฎหมายบางมาตราเพื่อรักษาความสงบในเวลานั้นสุดท้ายแล้วก็โดนรัฐประหารกันอยู่ดี

โดยฝ่ายพระยาพหลซึ่งสนับสนุนอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ก่อรัฐประหาร…

การที่ศิวรักษ์ไม่เชื่อว่ารัชกาลที่ 7 จะเขียนเอกสารนี้และพยายามทำให้เข้าใจว่า เป็นการกระทำของพระยามโน โดยจินตนาการเอาเองว่าพระยามโนน่าไม่พอใจ ปรีดี จึงแต่งเรื่องขึ้นเรื่องนี้ไม่มีทั้งหลักฐานและไม่เคยปรากฏในพงศาวดารใดๆเลยครับ
แล้วถ้าพูดกันตามข้อเท็จจริงแล้วการออกเอกสาร ภายใต้พระปรมาภิไธยนั้นไม่สามารถทำแทนกันได้ ถ้าแอบทำป่านนี้โดนกฎหมายตัดหัว ติดเกาะตะรุเตากันไปนานแล้วครับ

ดังนั้นรัชกาลที่ 7 จึงเป็นผู้เขียนสิ่งนี้อีกทั้งเรื่องนี้ยังสอดคล้องกับบันทึกส่วนพระองค์ที่ถูกเขียนขึ้น 6 หน้า ที่เกี่ยวข้องสละราชสมบัติด้วยนะครับ

ในแถลงการสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ก็พูดชัดเจน โดยเฉพาะใน “หน้าสาม” ก็ระบุถึงรัฐบาลที่มีความพยายาม เปลี่ยนเปลงเศรษฐกิจ นำไปสู่ความขัดแย้ง ทางการเมือง…ซึ่งเป็นเรื่องที่พระองค์ไม่โปรดเช่นกัน!!!

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่สมุดปกขาวจะไม่ใช่เอกสารมาจากรัชกาลที่ 7 เพราะรัชกาลที่ 7 ก็ชี้ชัดเจนในสำนวนเดียวกันในเรื่องความบาดหมางของคณะราษฎรที่มีต่อปวงชนชาวไทย

 

ความร้ายกาจของปรีดีเป็นเรื่องจริง!!
ในบันทึกของพระยามหิธรที่เป็นผู้จดบันทึก ก็ยังมีระบุชัดเจนเกี่ยวข้องกับความไม่สบายใจที่อาจารย์ปรีดีได้กล่าวหารัชกาลที่ 7 ว่าเป็น “คนร้าย” ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะราษฎร ซึ่งเป็นความเท็จจึงต้องเรียกมาเข้าเฝ้าเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและปรีดีซึ่งตอนนั้นยังเป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องทำเอกสารแก้ทำปรักปรำให้พระองค์เสียด้วยซ้ำ
ซึ่งบันทึกฉบับนี้ก็มีให้เห็นที่ ชั้นสาม พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า ถนน ราชดำเนิน ….สามารถดูได้ฉบับเต็มนะครับ

กรณีเรื่องรัฐสวัสดิการก่อน สงครามโลก นี่ก็ไม่จริง

ทั้งนี้การแอบอ้างว่าประเทศต่างๆในเวลานั้นเป็นรัฐสวัสดิการเรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริงอีกเช่นกันเพราะว่าใน2475 นั้นยังไม่ปรากฏชัดเจนถึงระบบรัฐสวัสดิการ มีเพียงแต่”อุดมคติ”ที่อยากเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์เท่านั้น
คำว่าsocialist เกิดขึ้นแล้ว แต่การจะทำได้จริง ต้องใช้เวลาอีกทั้งในยุโรปโดยเฉพาะรัสเซียนั้นเพิ่งปฏิวัติราชวงศ์โรมานอฟไปได้ไม่นาน…
ดังนั้นจึงไม่ใช่รัฐสวัสดิการโดยทันทีอย่างแน่นอน
Socialist = สังคมนิยม
รัฐสวัสดิการ = Welfare state

อย่าลืมนะครับว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยนั้นเกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการต่อสู้กับแนวคิดการปกครองของคอมมิวนิสต์และลัทธินาซีและฝ่ายเสรีนิยม แต่ละฝ่ายก็ยืนยันชัดเจนว่าเป็นระบบการปกครองที่ทำให้โลกสงบสุข แต่มันก็ไม่ใช่ไงครับ หลังสองครามโลกครั้งที่สอง ก็ยังแข่งขันเรื่องนี้ จนเป็นสงครามเย็น ….หลังสงครามเย็นโซเวียตถึงได้แตก

คำรัฐสวัสดิการเกิดกำเนิดขึ้นและเป็นรูปธรรมจริงๆโดยนำเอาหลักคิดของสังคมนิยมและเสรีนิยมมาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาสมดุลของทั้งสองฝ่ายเหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรปหลังสงครามเย็น… ไม่ใช่ในยุค ก่อนสงครามโลกครั้งที่2 อย่างที่ ศิวรักษ์ เข้าใจ

เอาเป็นว่า นี่เป็นงานเขียนเชิงบ่น ๆ ถึงความไม่อะไรของศิวรักษ์ เลยละครับ
เซง….

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายอนันต์ชัย" โพสต์อาลัย "แบงก์ เลสเตอร์" ซัดคนให้ดื่มส่อผิดม.291
“สุริยะ” ตรวจเข้มมอเตอร์เวย์ M81-ถ.พระราม 2 ดูแล ปชช.ช่วงเทศกาลปีใหม่
คึกคัก นทท.แห่ใช้บริการเรือเฟอร์รี่ ข้ามไปเกาะสมุย ร่วมฉลองเทศกาลปีใหม่
สื่อกัมพูชาตีข่าวกลุ่มชาตินิยมไทยจุดประเด็นพิพิาทชายแดน
วัยรุ่นอินโดฯถูกคลื่นซัดจมน้ำขณะถ่ายรูปบนโขดหิน
สภาเกาหลีใต้มีมติถอดถอนรักษาการประธานาธิบดี
สวนสัตว์สหรัฐเปิดตัวฮิปโปแคระเกิดใหม่
ปธน.สีจิ้นผิงจ่อเยือนรัสเซียปี 2568
"เอ็ม เอกชาติ" รับมีการท้าทายให้ดื่มเหล้าจริง เผยหาก "แบงค์ เลสเตอร์" ดื่มหมดจ่ายแบนละหมื่น
กกต.เริ่มสอบปมคลิปเสียงเงิน 20 ล้าน โยงเลือกอบ จ.ปราจีนบุรี แต่ยังอุบความคืบหน้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น