โซเชียลซัดเละ “ส.ศิวรักษ์” ดีเบต 2475 เน้นความเชื่อ ไร้ข้อมูล กล้ายกหางตัวเองเป็นปัญญาชนสยาม Top News รายงาน
ข่าวที่น่าสนใจ
ยังมีประเด็นให้กล่าวถึงสำหรับกรณีศึกดีเบตประวัติศาสตร์การเมือง 2475 ระหว่างนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ กับ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านช่องยูทูปธนดิศ โดยในโลกออนไลน์ได้มีการแสดงความเห็นในเรื่องนี้อย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่ต่างเห็นว่าส.ศิวรักษ์แพ้ศ.ดร.ไชยันต์ราบคาบ เพราะศ.ดร.ไชยันต์มีการอ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ส่วนส.ศิวรักษ์ใช้ความเชื่อและความเห็นส่วนตัวเป็นหลัก อาทิเพจเฟสบุ๊ก The MattaD ได้ทำภาพสรุปธนดิศแบบ 4 ช่องจบ โดยเป็นภาพ ส.ศิวรักษ์แบ่งเป็น 4 ช่อง มีข้อความแต่ละช่องว่า ผมเชื่อว่า ,ผมอาจจะผิดก็ได้ ,อันนี้ผมไม่รู้ ,เล่มนั้นผมไม่เคยอ่าน อีกภาพแบ่งเป็น 4 ช่องเหมือนกัน และมีข้อความว่า ผมเชื่อว่าพระยามโนเขียนสมุดปกขาวเอง , ผมไม่เชื่อว่า ร.7อ่านสตาลิน ,ประยูรโกหก , เป็นความเห็นส่วนตัวของผม
ขณะที่เพจเฟซบุ๊กปราชญ์ สามสี ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และเป็นหนึ่งในทีมข้อมูลของหนังแอนิเมชั่น 2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ ได้โพสต์ข้อความตอนหนึ่งว่า หลังจากได้มีโอกาสฟังเทปอาจารย์ศิวรักษ์คุยกับอาจารย์ไชยันต์เรื่องภาพยนตร์ 2475 นั้นข้าพเจ้าขอยอมรับว่า ต้องขออนุญาตกินยาลดความดันเสียหน่อย เพราะว่าจากที่ได้ฟังว่าทางศิวรักษ์ ไม่เชื่อว่ารัชกาลที่ 7 เป็นผู้เขียนหนังสือปกขาว รวมถึงที่ว่าพระองค์ท่านไม่เคยอ่านหนังสือของสตาลิน อาจารย์สุลักษณ์ใช้หลัก “ผมไม่เคยเห็น” “ผมไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนั้น” “ผมจึงไม่เชื่อ” ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่ใช่วิธีการของนักประวัติศาสตร์ จะใช้หลักคำว่าผมเชื่อว่า จึงเป็นหลักของประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้อีกเช่นกัน ยิ่งตั้งตนเป็นนักประวัติศาสตร์ระดับนักปราชญ์แห่งยุค (เขาเรียกตัวเองว่าปัญญาชนสยาม) แต่กลับไม่เคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 นับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องตลกดีครับ
ปราชญ์ สามสี ระบุอีกว่า เรื่องสมุดปกขาวนั้น จะต้องเท้าความของการกำเนิดของสมุดปกเหลืองเสียก่อน โดยเฉพาะสมุดปกเหลืองที่อาจารย์ปรีดีได้พูดเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจที่อ้างอิงแนวคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ การที่ศิวรักษ์ไม่เชื่อว่ารัชกาลที่ 7 จะเขียนเอกสารนี้ และพยายามทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของพระยามโน โดยจินตนาการเอาเองว่าพระยามโนน่าไม่พอใจปรีดี จึงแต่งเรื่องขึ้นเรื่องนี้ ไม่มีทั้งหลักฐานและไม่เคยปรากฏในพงศาวดารใดๆเลย แล้วถ้าพูดกันตามข้อเท็จจริงแล้ว การออกเอกสารภายใต้พระปรมาภิไธยนั้นไม่สามารถทำแทนกันได้ ถ้าแอบทำป่านนี้โดนกฎหมายตัดหัว ติดเกาะตะรุเตากันไปนานแล้วครับ ดังนั้นรัชกาลที่ 7 จึงเป็นผู้เขียนสิ่งนี้ อีกทั้งเรื่องนี้ยังสอดคล้องกับบันทึกส่วนพระองค์ที่ถูกเขียนขึ้น 6 หน้า ที่เกี่ยวข้องสละราชสมบัติด้วย
ส่วนความร้ายกาจของปรีดีเป็นเรื่องจริง! ในบันทึกของพระยามหิธรที่เป็นผู้จดบันทึก ก็ยังมีระบุชัดเจนเกี่ยวข้องกับความไม่สบายใจที่อาจารย์ปรีดีได้กล่าวหารัชกาลที่ 7 ว่าเป็น “คนร้าย” ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ของคณะราษฎร ซึ่งเป็นความเท็จจึงต้องเรียกมาเข้าเฝ้าเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย และปรีดีซึ่งตอนนั้นยังเป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องทำเอกสารแก้ทำปรักปรำให้พระองค์เสียด้วยซ้ำ ซึ่งบันทึกฉบับนี้ก็มีให้เห็นที่ชั้นสาม พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า ถนน ราชดำเนิน
ส่วนกรณีเรื่องรัฐสวัสดิการก่อนสงครามโลกนี่ก็ไม่จริง ทั้งนี้การแอบอ้างว่าประเทศต่างๆในเวลานั้นเป็นรัฐสวัสดิการเรื่องนี้ก็ไม่เป็นความจริงอีกเช่นกัน เพราะว่าใน2475 นั้นยังไม่ปรากฏชัดเจนถึงระบบรัฐสวัสดิการ มีเพียงแต่”อุดมคติ”ที่อยากเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์เท่านั้น คำรัฐสวัสดิการเกิดกำเนิดขึ้นและเป็นรูปธรรมจริงๆโดยนำเอาหลักคิดของสังคมนิยมและเสรีนิยมมาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาสมดุลของทั้งสองฝ่ายเหมือนที่เกิดขึ้นในยุโรปหลังสงครามเย็น ไม่ใช่ในยุค ก่อนสงครามโลกครั้งที่2 อย่างที่ ศิวรักษ์ เข้าใจ เอาเป็นว่า นี่เป็นงานเขียนเชิงบ่นๆ ถึงความไม่อะไรของศิวรักษ์ เลยละครับ เซ็ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น