“ดร.สามารถ” ฝาก 4 ข้อเร่งทำ ถ้าไม่อยากเห็นกทม.เป็นเมืองคนตกท่อซ้ำซาก

"ดร.สามารถ" ฝาก 4 ข้อเร่งทำ ถ้าไม่อยากเห็นกทม.เป็นเมืองคนตกท่อซ้ำซาก

ดร.สามารถ” ฝาก 4 ข้อเร่งทำ ถ้าไม่อยากเห็นกทม.เป็นเมืองคนตกท่อซ้ำซาก

วันที่ 6 พ.ค. 67 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” ระบุว่า กทม. “เมืองที่คนตกท่อ” เหตุการณ์คนตกท่อร้อยสายไฟเสียชีวิต สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงให้กับครอบครัวหนึ่ง และสร้างความตระหนกตกใจให้กับผู้คนที่ทราบข่าว เพราะคาดไม่ถึงว่า กทม.ใน พ.ศ.นี้จะมีเรื่องราวเช่นนี้อีก !

ดร.สามารถ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

คนตกท่อในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ส่วนใหญ่เป็นการตกท่อระบายน้ำซึ่งฝาบ่อพักชำรุด ทำให้ “คนตกท่อ” กลายเป็นภัยใกล้ตัวอีกประการหนึ่งในกรุงเทพฯ ในกรุงเทพฯ มีบ่อพักท่อระบายน้ำจำนวนมาก ทำให้มีฝาบ่อพักมากเช่นเดียวกัน บางฝาเป็นเหล็ก บางฝาเป็นคอนกรีต บางฝาเป็นทั้งเหล็กและคอนกรีต ถ้าทุกฝามีสภาพสมบูรณ์ เหตุการณ์คนตกท่อก็จะไม่เกิดขึ้น

ฝาบ่อพักที่ไม่สมบูรณ์ หรือชำรุด หรือที่ถูกขโมย เป็นเหตุให้ผู้ที่สัญจรบนทางเท้าก้าวพลาดตกลงในท่อ ด้วยเหตุนี้ ถ้าสำนักการระบายน้ำ หรือสำนักงานเขตของ กทม.ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบระบายน้ำในกรุงเทพฯ ตรวจสอบและแก้ไขให้ฝาบ่อพักมีสภาพมั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอเหตุการณ์ “คนตกท่อ” ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก คนเดินเท้าคงได้พบเห็นฝาบ่อพักชำรุด ไม่มีป้ายเตือน ไม่มีสิ่งกีดขวางเพื่อไม่ให้ก้าวพลาดลงบ่อพักกันบ้าง เหล่านี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการตกท่อ โดยเฉพาะตอนน้ำท่วมซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นพื้นทางเท้าได้ ทำให้ก้าวพลาดลงบ่อพักได้ง่าย

 

 

ดังนั้น การป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “คนตกท่อ” อีก สามารถทำได้ดังนี้

(1) เร่งสำรวจฝาบ่อพักทั่วกรุง

(2) หากพบฝาที่ชำรุดจะต้องเร่งซ่อมแซมให้มั่นคงแข็งแรงโดยเร็ว ก่อนซ่อมแซมให้ติดตั้งป้ายเตือนผู้เดินเท้า พร้อมทั้งกั้นไม่ให้ผู้เดินเท้าเดินผ่าน ทั้งนี้ ควรเร่งซ่อมแซมฝาบ่อพักให้เสร็จก่อนที่ฝนจะมาเยือน เพราะเมื่อถึงหน้าฝนจะมีน้ำท่วมขัง หากมีฝาบ่อพักชำรุด จะทำให้ก้าวพลาดตกบ่อได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่

(3) หากพบบ่อพักที่ไม่มีฝา (ซึ่งอาจถูกขโมย) จะต้องเร่งหาฝาใหม่มาปิดโดยเร็ว ก่อนปิดฝาใหม่ให้ติดตั้งป้ายเตือนผู้เดินเท้า พร้อมทั้งกั้นไม่ให้ผู้เดินเท้าเดินผ่าน ที่สำคัญ จะต้องหามาตรการป้องกันไม่ให้ฝาบ่อพักถูกขโมยอีก

(4) หากมีการก่อสร้างบ่อพักหรือท่อร้อยสายไฟบนทางเท้า เกาะกลางถนน หรือบนผิวจราจร หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเข้มงวดกวดขันผู้รับเหมาให้ปิดบ่ออย่างมั่นคงแข็งแรง มีไฟแสงสว่างเพียงพอ หากผู้รับเหมาไม่ทำ จะต้องลงโทษอย่างหนัก ในระยะหลัง จะเห็นได้ว่าคนตกท่อใน กทม.ลดน้อยลง แสดงให้เห็นถึงการทำงานเชิงรุกของ กทม. ที่เปิดช่องทางให้ผู้พบเห็นฝาบ่อพักชำรุดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ หรือเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจเอง เป็นผลให้ กทม.สามารถแก้ไขปัญหาฝาบ่อพักได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่ยังมีคนตกท่ออยู่บ้างมักเกิดในพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้รับเหมา

ด้วยเหตุนี้ หากหน่วยงานที่รับผิดชอบเอาจริงเอาจัง เชื่อว่าเหตุการณ์ “คนตกท่อ” จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว

กทม.ก็จะไม่ใช่ “เมืองที่คนตกท่อ” อีกต่อไป

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เมียไรเดอร์ เปิดใจเสียงสั่น กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังรู้ข่าว หนุ่มอินเดียซิ่งเก๋งได้ประกันตัว ลั่น ‘คนมีเงินมันยิ่งใหญ่’
นายกฯ เปิดงาน Thailand Reception เชิญชวนสัมผัสเสน่ห์อาหารไทย ชูศักยภาพเศรษฐกิจ
จีนแห่ ‘โคมไฟปลา’ แหวกว่ายส่องสว่างในอันฮุย
"พิพัฒน์" ตรวจเยี่ยมเอกชน ต้นแบบอุตสาหกรรม ผลิตด้วยเทคโนฯ AI พร้อมเร่งนโยบาย up skill ฝีมือแรงงานไทย
ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น