“พายุฤดูร้อน” เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

ไขข้อสงสัยหมดเปลือก "พายุฤดูร้อน" เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

Top news พามาทำความรู้จัก “พายุฤดูร้อน” กรมอุตุนิยมวิทยา ให้ความหมาย พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนอง ว่ามีสาเหตุมาจากการหมุนเวียนของอากาศ แปรปรวนอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก มีลมกระโชกแรง และมีฟ้าผ่า บางครั้ง อาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย มักเกิดราว กลางเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม โดยฝนที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนมักจะตกไม่นาน บางครั้งเกิดขึ้นเพียง 15-30 นาที และเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ ประมาณ 10-20 ตารางกิโลเมตร

 

ไขข้อสงสัยหมดเปลือก "พายุฤดูร้อน" เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

ข่าวที่น่าสนใจ

พายุฤดูร้อน จะก่อตัวจากเมฆคิวมูลัส ซึ่งเป็นเมฆที่มีลักษณะปุยคล้ายก้อนสำลี ยอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก ฐานเมฆแบนเรียบ เมื่อเมฆคิวมูลัสขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะขยายตัวสูงใหญ่เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง การเกิดเมฆพายุฟ้าคะนองในบรรยากาศต้องมี อากาศร้อนและมีความชื้นมาก
อากาศไม่มีเสถียรภาพ และ มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน

เมื่ออากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ถ้ามีลมเหนือซึ่งมีความเย็น พัดลงมาจากประเทศจีนก็จะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อธิบายเรื่องพายุฤดูร้อนไว้ว่า พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนองจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่าง ๆ เริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลางโดยทั่วไปพายุฤดูร้อนนี้ มักเกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ไขข้อสงสัยหมดเปลือก "พายุฤดูร้อน" เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

สิ่งบอกเหตุก่อนเกิด พายุฤดร้อน

– อากาศร้อนมาหลายวัน และในวันที่จะเกิดพายุฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากขึ้น
– ลมสงบ
– ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยไม่ดี
– มีเมฆทวีมากขึ้นในท้องฟ้า ลักษณะที่ฝนจะตกมีมากขึ้น
– ลมเริ่มพัดแรงขึ้นในทิศทางใดทางหนึ่ง มีลักษณะเป็นลมกระโชกเป็นครั้งคราว
– เมฆก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว และมีฟ้าแลบ และมีฟ้าคะนองในระยะไกล

 

ความรุนแรงของพายุเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อนและอากาศเย็นที่ปะทะกัน ความรุนแรงนี้จะปรากฏออกมาในลักษณะของพายุลมแรง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทบ.ยืนยันอีกรอบ! ปมร้อน “แสตมป์” ไม่เกี่ยวกองทัพ พบไม่เคยร้อง 112
ผบ.ทร.เข้าเยี่ยม พร้อมมอบของบำรุงขวัญ สร้างกำลังใจทหารผ่านศึก ขอบคุณเสียสละเพื่อชาติจนทุพพลภาพ
“อัจฉริยะ” ยอมเสี่ยงชีวิต มาขึ้นไต่สวนคดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมเปิดแผลผ่าตัดโชว์นักข่าว
"อิสราเอล" บิดหยุดยิง ถล่มเวสต์แบงก์ดับเกลื่อน "ฮามาส" รวมพลด่วน
ตม.4 บุกทลายเว็บพนันฯเกาหลีใต้ ใช้ไทยเป็นฐานบัญชาการควบคุมทั่วโลก เงินหมุนเวียน 100 ล้านบาท
เปิดคำพิพากษา “เต้ มงคลกิตติ์” ทำสัญญาประนีประนอม ยอมขอโทษ หมิ่นกล่าวหา “ศักดิ์สยาม”
KIA-PDF ตีวงล้อมพม่า! ทอ.โผล่ช่วย แต่ยิงพลาดเป้า-สอยร่วงพวกเดียวกัน
จังหวัดฉะเชิงเทราปล่อยปลากะพงขาวเสริมทัพ คุมปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ชูกินได้-อร่อยด้วย
ห้าดาว คว้า 3 รางวัลใหญ่ 'แฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปี 2024' พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการสู่ธุรกิจมั่นคง
ปลาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำญี่ปุ่นล้มป่วยเพราะเหงา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น