เปิดข้อมูลสถิติ "Gen Y" น่าเป็นห่วง มีหนี้บัตรเครดิต สะสมสูงสุด
ข่าวที่น่าสนใจ
โดยพบว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 การจ่ายชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิตจะต้องเริ่มต้นที่ 8%จากเดิมที่ผ่อนผันในช่วงการระบาด covid-19ที่กำหนดไว้ 5%มีคำถามมาตลอดว่าถ้ากติกาใหม่ออกมาจะทำให้หนี้เสียหรือ NPLsกระโดดหรือไม่ จะทำให้หนี้กำลังจะเสียหรือ SM กระโดดด้วยไหม
ตัวเลข ณ มีนาคม 2567 ยอด หนี้บัตรเครดิต ทั้งหมด 24 ล้านใบ,เป็นเงิน 5.5แสนล้านบาทเติบโต 3.2% ถ้าเทียบจากสิ้นปี 2566 หดตัว 5.1% ตัวเลขบัญชีสินเชื่อบัตรเครดิตที่เป็น NPLs ค้างเกิน 90 วันจะมีจำนวนประมาณ 1 ล้านบัตรเศษคิดเป็นยอดเงิน 6.4หมื่นล้านบาทเติบโต 14.6%
เมื่อดูยอดหนี้ที่เป็น SM หรือหนี้ที่กำลังจะเสียพบว่ามีจำนวนบัตรที่ชำระหนี้ได้แบบตะกุกตะกัก ติดๆขัดๆ 1.9แสนบัตร คิดเป็นจำนวนเงิน 1.2หมื่นล้านบาทเติบโต 32.4% ในสามเดือนแรกของการปรับเพิ่มยอดชำระขั้นต่ำ ซึ่งเป็นยอดหนี้ที่โตจากปลายปี 2566 ถึง 20.6 % ซึ่งสะท้อนว่ามีการชำระหนี้สินเชื่อนี้ได้ลำบากมากขึ้นที่ต้องระวังว่ามันจะไหลเพิ่ม ไหลแรงกว่าเดิมหรือไม่ จากปัญหาค่าครองชีพ รายได้ไม่ฟื้นตัว เปราะบางจนนุ่มนิ่ม
ตามภาพกราฟที่ลองทำดูว่าจากบัตรเครดิตที่เป็นหนี้ที่กำลังจะเสียจำนวนเกือบสองแสนใบนั้นเป็นบัตรที่เปิดมานานเท่าใดแล้ว พบว่า
เปิดมาไม่เกิน 2ปี มีจำนวน 3.6หมื่นบัตรอยู่ในมือคน Gen Y 2.3หมื่นบัตร
เปิดมามากกว่า 2ปีแต่ไม่เกิน 4ปีมีจำนวน 3.9หมื่นบัตร อยู่ในมือ Gen Y 2.7หมื่นบัตร Gen X 9.2พันบัตร
เปิดมามากกว่า 4ปีแต่ไม่เกิน 6ปี 4.5หมื่นบัตร อยู่ในมือคน Gen Y 3หมื่นบัตร Gen X 1.2หมื่นบัตร
หนี้กำลังจะเสียจะไหลต่อเป็น NPLs.อีกเท่าใด การกำหนดให้ชำระหนี้ขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจาก 5%เป็น 8% และ 10%ตามลำดับ มันช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้จริงๆหรือไม่ ตามเป้าประสงค์มาตรการ ความจริงคนเรามีบัตรเครดิตได้หลายใบ การเพิ่มอีก 3%ของยอดหนี้ในแต่ละใบ คนไม่เคยเป็นหนี้อาจนึกไม่ออกว่าจะหมุนหาจากไหนไปจ่ายได้ และประการสุดท้ายค่าใช้จ่ายทั้งหลายมันเริ่มเพิ่มอย่างชัดเจนเช่น ไข่ไก่ ผักบางชนิด น้ำมันก็เริ่มขยับ เป็นต้น
การท่องตำราแก้ปัญหากับการท่องยุทธจักรแบบเดินเผชิญสืบ มันใช้ใจที่ต่างกัน ตัวอย่างเรื่องนี้คือหนังชีวิตจริง แต่ถ้ามองเป็นหนังอนิเมะ มันก็อาจผิดเพี้ยน ต้องกลับมาดูกันเพราะแค่ 3 เดือนหนี้เสียยังไม่ธรรมดา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง