“วราวุธ” ดึง 6 มหาวิทยาลัย “พัฒนาศักยภาพคนพิการ” จ้างงาน – สร้างอาชีพ

“วราวุธ” ระบุ พม. ดึง 6 มหาวิทยาลัย พัฒนาศักยภาพคนพิการ จ้างงาน - สร้างอาชีพเพิ่มทดแทนแรงงานที่หายไป

“วราวุธ” ดึง 6 มหาวิทยาลัย “พัฒนาศักยภาพคนพิการ” จ้างงาน – สร้างอาชีพ – Top News รายงาน

วราวุธ

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 67 ที่อาคาร Knowledge Exchange (KX) กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานแถลงข่าว เปิดตัวโครงการการขยายผลเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อการประกอบอาชีพผ่านโมเดลการฝึกอบรม – ฝึกงานคนพิการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยเครือข่าย และสมาคมคนพิการ

นายวราวุธ กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับภาคีเครือข่าย 5 มหาวิทยาลัย 5 ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเครือข่าย ซึ่งล้วนแต่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูง มีความพร้อมที่จะขยายผลและสนับสนุนคนพิการให้ก้าวไปสู่การมีศักยภาพ พร้อมที่จะทำงานมีรายได้ในการดำรงชีพอย่างยั่งยืน วันนี้ เป็นโอกาสอันดีที่จะเริ่มต้นนำร่องโครงการดังกล่าว โดยมีคนพิการ จำนวน 300 คน เข้าร่วม ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้ง 6 สถาบัน ได้สำรวจความต้องการจ้างงานคนพิการในพื้นที่ แล้วนำมาออกแบบเป็นหลักสูตรที่เหมาะสม โดยมุ่งเป้าหมาย คือ คนพิการที่เข้ารับการอบรม ฝึกทักษะแล้ว สถานประกอบการจะมั่นใจได้ว่า จะมีศักยภาพพร้อมทำงานได้ทันที สามารถรองรับการจ้างงานตามมาตรา 33 และยังมีหลักสูตรพิเศษที่ฝึกให้คนพิการ พร้อมเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง

ข่าวที่น่าสนใจ

นายวราวุธ กล่าวว่า โครงการฯ นี้ จะช่วยยกระดับคุณภาพของคนพิการผ่านการ Upskill และ Reskill สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวง พม. ที่ส่งเสริมและผลักดันหน่วยงานของรัฐและสถานประกอบการภาคเอกชน ได้จ้างงานคนพิการ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะตามมาตรา 33 ที่กำหนดให้สถานประกอบการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่คนพิการ 100 คน จะต้องจ้างพนักงานคนพิการ 1 คน และหากไม่มีการจ้างงานคนพิการจะต้องดำเนินการตามมาตรา 34 ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ มาตรา 35 การให้สิทธิประโยชน์ต่อคนพิการ ทั้งนี้ เป้าหมายของกฎหมายดังกล่าว คือให้โอกาสและเปิดพื้นที่ให้คนพิการได้แสดงศักยภาพด้วยการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนพิการและครอบครัว โดยเฉพาะขณะนี้ประเทศไทยเรากำลังประสบปัญหาจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดน้อยลง และผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงจำนวนคนที่อยู่ในวัยแรงงานเริ่มจะน้อยลง กระทรวง พม. จึงมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้มีการจ้างงานคนพิการ ซึ่งจะสามารถทดแทนแรงงานในสังคมที่หายไปได้

นายวราวุธ กล่าวว่า ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งบุคลากร สถานที่ เครือข่าย และองค์ความรู้ในการพัฒนา นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษา ซึ่งจะก้าวเข้าสู่วัยแรงงาน ได้เรียนรู้ Disabilities Awareness หรือ การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสามารถของคนพิการ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณและชื่นชมมหาวิทยาลัย ทั้ง 6 แห่ง สำหรับความร่วมมือครั้งนีั ซึ่งกระทรวง พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) พร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อการพัฒนางานด้านคนพิการอย่างยั่งยืน

พัฒนาศักยภาพคนพิการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ทักษิณ” ลั่นปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องจบในรัฐบาลนี้ ยึดการพูดคุย เป็นแนวทางสร้างสันติสุข
เลขาธิการ สปส. แจงเสถียรภาพ "กองทุนประกันสังคม" ย้ำชัดสิทธิประโยชน์ดีเพิ่มขึ้นทุกปี
คึกคักสุดๆ แห่เที่ยวตามรอย "ลิซ่า" ในซีรีส์ The White Lotus 3 ทำยอดจองโรงแรมเกาะสมุยพุ่ง
ผู้ลี้ภัยแอลจีเรียไล่แทงตำรวจในฝรั่งเศส
เต่าทะเลกว่า 6 แสนตัวแห่วางไข่ที่ชายหาดอินเดีย
ฮามาสปล่อย 6 ตัวประกันสุดท้ายภายใต้ข้อตกลงเฟสแรก
‘Super AI Engineer Season 5’ รวมพลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ปั้นบุคลากร AI เสริมขีดความสามารถแข่งขันไทย
"ดร.ปณิธาน" ยกพัทยาโมเดล แก้ปัญหา "ชาวอิสราเอล" ล้นเมืองปาย แนะหน่วยมั่นคงบังคับใช้กม.ใกล้ชิด
"อดีตสว.สมชาย" แฉโพย ฮั้วเลือกสว. ชี้เป็นหลักฐาน ดีเอสไอ เร่งนำลากไส้ตัวการใหญ่
‘ทักษิณ’ ปลื้มลงพื้นที่นราธิวาส ในรอบ 19 ปี ปชช.รอต้อนรับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น