“สสรท.” ยื่นหนังสือหนุนปรับค่าจ้าง 400 ภาคเอกชนถก รมว.แรงงาน ค้านสุดตัว

"สสรท." ยื่นหนังสือหนุนปรับค่าจ้าง 400 ภาคเอกชนถก รมว.แรงงาน ค้านสุดตัว

สสรท.” ยื่นหนังสือหนุนปรับค่าจ้าง 400 ภาคเอกชนถก รมว.แรงงาน ค้านสุดตัว

ภายหลังจากที่มีการประกาศ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศ โดยจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยกระทรวงแรงงาน จะนำประเด็นเรื่องการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ เข้าหารือ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง หรือไตรภาคี ในวันที่ 14 พฤษภาคม นี้ เพื่อศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ว่ากิจการใดมีความพร้อมหรือยังไม่พร้อม และถ้าหากยังไม่พร้อม ต้องทำอย่างไรให้พร้อม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 5 – 6 เดือน ในการประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการประเภท SME ที่เป็นผู้ถือครองจำนวนแรงงานมากที่สุด

สส.รท. ยื่นหนังสือหนุนปรับค่าจ้าง 400

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยวันนี้ 13 พ.ค. 67 สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พาสมาชิกทั้งแรงงานในภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างภาครัฐ เข้ายื่นหนังสือต่อนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุน การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วทั้งประเทศ

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ระบุว่า จากการเก็บข้อมูลสมาชิก ทำให้เห็นว่า แรงงานต้องเจอกับค่าครองชีพและราคาสินค้าแพง เหมือนกันทั่วทั้งประเทศ หากปรับค่าจ้างต่างกัน จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ แรงงานในชนบทอพยพไปสู่เขตที่มีค่าจ้างสูงกว่า จึงเรียกร้องให้ปรับค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ

 

นอกจากนี้ยังขอให้รัฐบาลหาทางคุมราคาสินค้า เพราะทุกครั้งที่เตรียมขึ้นค่าจ้างราคาสินค้าปรับขึ้นไปก่อนแล้ว รวมถึงขอให้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าจ้างแรกเข้า จัดทำโครงสร้างค่าจ้างในทุกสถานประกอบการ เพื่อให้การปรับขึ้นค่าจ้างมีความชัดเจน ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างสามารถวางแผนอนาคตได้

 

 

 

นอกจาก ยื่นหนังสือแล้ว กลุ่มลูกจ้างได้ ยังแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ นำเอา ผัก ผลไม้ เครื่องปรุง และสินค้าอุปโภคบริโภคติดป้ายราคา มาตั้งโต๊ะที่หน้ากระทรวงแรงงาน สะท้อนถึงราคาสินค้าในปัจจุบันแพงขึ้น พร้อมกับเตรียมครกกับสาก มาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตำ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เป็นการตอกย้ำว่าการจะผลักดันค่าแรง 400 บาททั่วทั้งประเทศตามที่ได้ประกาศไว้

 

 

 

ขณะที่หลังจากรับหนังสือจากฝั่งลูกจ้าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ประชุมร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดย ก่อนการพูดคุย นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทน หอการค้าทั่วประเทศ 76 จังหวัด สมาคมการค้า 92 สมาคม ผู้ประกอบการกว่า 15,000 บริษัท ยื่นหนังสือการคัดค้านขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ และขอให้ใช้คณะกรรมการค่าจ้างหรือ ไตรภาคี เป็นกลไกในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างยังเป็นธรรม

 

 

 

ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า หลายธุรกิจได้ก้าวข้ามปรับค่าจ้าง 400 บาทไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกส่วน โดยเฉพาะเป็นกลุ่มSMEs ที่ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 400 บาท ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้หารือกัน ไม่ได้หารือเพียงแค่วันนี้แล้วจบ จะรับเรื่องของทั้งฝั่งภาคธุรกิจ และลูกจ้าง เพื่อหาจุดที่ลงตัว ซึ่งก่อนจะถึงวันที่ 1 ตุลาคม ที่ประกาศไว้ ว่าจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศอาจจะต้องมีการหารืออีกหลายรอบ ซึ่งรัฐมนตรีแรงงาน ยอมรับว่า ตนเองไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้เพียงตัวคนเดียว จะนำเรื่องนี้ ไปหารือกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น