เปิดมุมมอง “ปกรณ์ นิลประพันธ์” การกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public policy)

กดติดตาม TOP NEWS

เปิดมุมมอง "ปกรณ์ นิลประพันธ์" การกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public policy)

TOP News บทความพิเศษ โดย “ปกรณ์ นิลประพันธ์”  การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายหรือ Regulatory Impact Assessment: RIA นั้นสามารถนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ (Public policy) ได้ด้วย และจะทำให้การกำหนดนโยบายสาธารณะต่าง ๆ นั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล มีการคิดวิเคราะห์เป็นระบบและในแบบองค์รวม (Holistically) ว่าปัญหาคืออะไร สาเหตุของปัญหาคืออะไร เป้าหมายในการแก้ปัญหาคืออะไร แล้วจึงมากำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา ว่าแบบพุทธคือแก้ปัญหาโดยยึดอริยสัจ 4 และต้องรับฟังความคิดเห็นของ stakeholders ประกอบด้วยเพราะนโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ถ้านโยบายสาธารณะมีผลกระทบในทางลบต่อภาคส่วนใด จะต้องคิดถึงมาตรการหรือแนวทางในการป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยา ผลกระทบนั้นด้วย

 

อย่างการปรับปรุงหรือขยายถนนหนทาง ข้อดีชัดเจนคือการคมนาคมจะสะดวกขึ้น แต่แทบไม่มีการให้ความสนใจกับผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงหรือขยายถนนหนทางนั้น เช่น การยกถนนให้สูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อมิให้น้ำท่วมถนน ก็จะทำให้ถนนสูงกว่าบ้านเรือนที่ปลูกสร้างริมถนนนั้นมาแต่เดิม ที่ดินข้างทางจะกลายเป็นแอ่งรับน้ำ บ้านชั้นเดียวอาจอยู่ต่ำกว่าถนน บ้านสองชั้นอาจอยู่ได้เพียงชั้นเดียว และถนนกลายเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำตามปกติ เกิดปัญหาน้ำท่วมขังบ้านเรือนดั้งเดิม แต่เจ้าของที่ดินพวกนี้จะไม่ได้รับการเยียวยา เพียงเพราะว่าไม่ได้อยู่ในแนวเขตก่อสร้างโดยตรง เพราะกฎหมายไม่ได้ไปถึงผู้ได้รับผลกระทบโดยอ้อมเหล่านี้ ทั้งยังมีความคิดอีกด้วยว่าที่ดินเหล่านี้ได้ส้มหล่น (wind fall) จากการที่ราคาที่ดินสูงขึ้นเนื่องมาจากการปรับปรุงหรือขยายถนนนั้น อันเป็นการคิดเองฝ่ายเดียว ซึ่งถ้าคิดแบบนี้ การปรับปรุงหรือขยายถนนจะไม่แตกต่างจากการบังคับขายที่ดินทางอ้อมเลย

ถ้านำหลักเรื่อง RIA และ public consultation รมทั้งการคิดแบบองค์รวม มาใช้ในการเสนอหรือกำหนดนโยบายสาธารณะด้วยก็จะทำให้ นโยบายสาธารณะนั้นเป็นที่ยอมรับและป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และมีความยั่งยืน

การสร้างหรือเสนอนโยบายสาธารณะที่ขาดพื้นฐานดังกล่าว เป็น filibuster policy หวือหวาวูบวาบ เรียกเสียงสนับสนุนได้ในระยะสั้น ๆ แต่จะไม่ practical ถูกโต้แย้งได้ง่าย และสร้างความไม่พอใจขึ้นในสังคม โดยเฉพาะจากผู้ได้รับผลกระทบ และจะลุกลามไปยังความเชื่อมั่น (trust) ที่มีต่อผู้เสนอหรือกำหนดนโยบายสาธารณะนั้นในที่สุด ในทางตรงข้าม การสร้างหรือเสนอนโยบายสาธารณะบนพื้นฐานดังกล่าว จะสามารถสร้าง popularity ในระยะยาวได้

ช่วงเวลาที่เหมาะสม (timing) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะสนับสนุนให้นโยบายสาธารณะประสบความสำเร็จในการนำไปประยุกต์ใช้ เท่าที่ผมเห็นมา อะไรที่ “มาก่อนกาล” ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย

กินยาดีกว่า.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น