“บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง” ถกเดือด โยนอนุฯจังหวัดหาข้อสรุปเงื่อนไขปรับเป็น 400 หรือมากว่า นายจ้างติงเร็วไปขอจบในเดือนก.ค.

"บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง" ถกเดือด โยนอนุฯจังหวัดหาข้อสรุปเงื่อนไขปรับเป็น 400 หรือมากว่า นายจ้างติงเร็วไปขอจบในเดือนก.ค.

“บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง” ถกเดือด โยนอนุฯจังหวัดหาข้อสรุปเงื่อนไขปรับเป็น 400 หรือมากว่า นายจ้างติงเร็วไปขอจบในเดือนก.ค.

หลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 หรือ ไตรภาคี ครั้งที่ 5/2567 โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายวีรสุข แก้วบุญปัน ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นักวิชาการ ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ โดยใช้ระยะเวลาหารือร่วมกันกว่า 3 ชั่วโมง

บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง ถกเดือด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนายไพโรจน์ กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการไตรภาคีมีความเห็นว่า ในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างจะให้คณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด เป็นผู้พิจารณาว่าในจังหวัดแต่ละจังหวัดเห็นว่า จะต้องมีการขึ้นค่าจ้าง 400 บาทหรือไม่ มีกิจการใดที่จำเป็นจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ทำรายการเสนอ และสุดท้ายเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างในเดือนตุลาคมหรือไม่ เพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการไตรภาคีตัดสินใจดำเนินการภายใต้บริบทที่ไม่มีอำนาจการเมืองมาแทรกแซง โดยจะให้เกียรติคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด พิจารณากรอบแนวคิดค่าครองชีพของแต่ละจังหวัด สภาพเศรษฐกิจ สภาพเงินเฟ้อ และราคาสินค้าในแต่ละแต่ละจังหวัด เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน

 

จากนั้น ให้คณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด นำเสนอข้อมูลมายังคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ในเดือน ก.ค. เพื่อพิจารณา ถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นค่าจ้างก็จะเสนอมายังคณะกรรมการไตรภาคีชุดใหญ่เพื่อพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้การดำเนินการค่าจ้างเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ ( ต.ค.)

นายไพโรจน์ ยืนยัน การดำเนินการทั้งหมดไม่ได้เป็นการเร่งรีบ แต่หากจะให้คณะอนุกรรมการเก็บข้อมูลเพื่อที่จะไปปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงปลายปีถือว่านานเกินไป โดยระยะเวลา 2 เดือน ในการเก็บข้อมูลและพิจารณาของคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัดถือว่ามีความเหมาะสม เพราะการพิจารณาจะดูความจำเป็น หากนานเกินไปก็จะไม่ใช่บริบทของการขึ้นค่าแรง โดยการปรับขึ้นค่าแรงเป็นการทำตามเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งตนในฐานะภาครัฐต้องทำหน้าหล่อหลอมความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงต้องใช้มติเสียงส่วนใหญ่เพื่อตัดสิน

 

 

นายไพโรจน์ ยืนยัน เรื่องสูตรการคำนวนค่าจ้างไม่ได้มีการล้มสูตรเดิม แต่เป็นการให้อิสระคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัดเป็นผู้เสนออัตราค่าจ้างของแต่ละจังหวัด ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ที่ 400 บาทต่อวัน บางจังหวัดอาจจะมีค่าแรงที่เกินหรือต่ำกว่า 400 บาทต่อวัน จึงให้อิสระในการนำเสนอค่าจ้าง เพื่อให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณาและคณะกรรมการไตรภาคีชุดใหญ่ตัดสินใจ ส่วนการเสนอปรับขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ ปรับขึ้นแบบรายอาชีพ หรือปรับขึ้นแบบรายจังหวัด สามารถเป็นไปได้ทั้งหมด โดยคณะกรรมการชุดใหญ่จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง

ส่วนกรณีที่การปรับขึ้นค่าแรง 2 ครั้งต่อปี จะผิด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา87 หรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า กระทรวงแรงงานทำตามกฎหมาย และในกฎมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าไม่ให้ขึ้นค่าแรงเกิน 1 ครั้งต่อปี

 

 

สำหรับมติที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบดังนี้

1. ให้อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จังหวัดจัดประชุมเพื่อเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดภายในเดือนกรกฎาคม 2567 และเสนอผลการประชุมให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองและคณะกรรมการค่าจ้าง ใช้ประกอบการพิจารณา

2. แนวทางการพิจารณาให้ใช้สูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่นำมิติของเวลามาใช้ในสูตรประกอบกับการพิจารณาตัวแปรเชิงคุณภาพ ตามมาตรา 87 โดยคำนึงถึง ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและเศรษฐกิจและสังคมในบริบทของแต่ละจังหวัด

คณะกรรมการค่าจ้างจะได้นำเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและข้อมูลเศรษฐกิจสังคมและรายงานในภาพรวมระดับประเทศมาประกอบการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างต่อไป

 

 

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการหารือจบนายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ได้เดินออกมาจากห้องประชุมด้วยสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมบอกสื่อมวลชนว่า วันนี้ จะไม่ขอแถลงข่าวร่วมกับปลัดกระทรวงแรงงาน แต่จะขอแยกแถลงข่าวก่อนปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมระบุว่า การหารือในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งภาคบริการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม โดยจะมีการนำกลับมาเสนอใหม่ในการปรับขึ้นค่าจ้างรายอาชีพ ซึ่งตนได้เสนอให้มีการทำวิจัยเพื่อนำมาใช้กับการคำนวนค่าแรง และวันนี้ ยังมีมติที่ค่อนข้างเร่งรีบที่จะให้อนุคณะกรรมการจังหวัดไปพิจารณาค่าจ้างกลับมาโดยเร็วและให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองต่อไป พร้อมย้ำว่าการพิจารณาครั้งนี้มีข้อสังเกต เรื่องความเร่งรีบดำเนินการ ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมและเพียงพอได้

 

 

จากปกติที่การปฏิบัติหน้าที่ จะให้คณะอนุกรรมการจังหวัดทำการเก็บข้อมูลเพื่อพิจารณารายละเอียดเป็นรายจังหวัดไปจนถึงเดือน ส.ค. รวมถึงในช่วงเดือนก.ย.จะมีการนำตัวเลขเงินเฟ้อ ดัชนีค่าครองชีพ ดัชนีมวลรวมของจังหวัด เพื่อให้คณะอนุกรรมการจังหวัดพิจารณาในเดือน ก.ย. และส่งมาให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อพิจารณาในเดือน พ.ย. และมาประกาศใช้ในเดือนม.ค.ต่อไป

นายอรรถยุทธ กล่าวอีกว่า วันนี้ที่ประชุมมีมติ 5:7 ให้ยกเลิกสูตรคำนวนค่าเเรงเดิมที่ได้ทดลองใช้ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาและใช้สูตร ที่นายจ้างไม่ยอมรับ คือการจะให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างในอัตราใดก็ได้ และไม่มีเพดานของอัตราค่าจ้าง พร้อมทั้งยืนยันว่า ค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องขึ้นตามวิถีทางของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา87 ที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยหลังจากนี้ทางด้าน บอร์ดไตรภาคีจะนัดหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 19 มิถุนายน

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน
สถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองฯ ชาติพันธุ์ชุมชนชาวเลโต๊ะบาหลิว
ผบ.ตร.สั่งสอบคลิปแก๊งต่างด้าว แสดงพฤติกรรมเย้ยกม. กำชับคุมเข้ม ใช้ยาแรง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น