“กรมราชทัณฑ์” แจงไทม์ไลน์ “บุ้ง” ก่อนเสียชีวิต โดนสื่อซักหนัก ช่วงวิกฤตสัญญาณชีพอ่อน Top News รายงาน
ข่าวที่น่าสนใจ
จากกรณีที่นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้แจ้งข่าวยืนยันว่า น.ส.เนติพร หรือ “บุ้ง กลุ่มทะลุวัง” ผู้ต้องขังคดีทางการเมือง ได้เสียชีวิตแล้ว หลังมีอาการหัวใจหยุดเต้นเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2567
รวมทั้งยังมีรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 11.30 น. หลังจากทีมแพทย์พยายามช่วยเหลือและส่งตัวไปรักษายัง รพ.ธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ ล่าสุดมีรายงานว่า บุ้ง กลุ่มทะลุวัง ได้เสียชีวิตแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ รพ. ได้เข็นร่างจากห้องฉุกเฉิน มาชันสูตรที่นิติเวชโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
ขณะที่รพ.ธรรมศาสตร์ได้แถลงข่าวกรณีการเสียชีวิตของ บุ้ง หลังทีมแพทย์ได้ยื้อลมหายใจนานกว่า 2 ชั่วโมงด้วย
โดยในเวลาต่อมาได้มีกลุ่มนักการเมือง กลุ่ม 3 นิ้ว โพสต์ข้อความอาลัย และแสดงความเสียใจ แต่ก็มีบางคนที่โยงการเสียชีวิตของบุ้ง ว่าเป็นเพราะเจ้าตัวเห็นต่างทางการเมือง ส่วนทางด้านนักการเมือง รวมทั้งกลุ่มการเมืองฝั่งตรงข้าม ได้ร่วมแสดงความเสียใจ และขออโหสิกรรมหากเคยได้มีประเด็นทะเลาะร่วมกันมาก่อนหน้านี้
ล่าสุดวันนี้ (15 พ.ค.) นายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์, นางอาจารี ศรีสุนาครัว ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง, และนายแพทย์พงศ์ภัค อารียาภินันท์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ร่วมแถลงข่าวกรณี น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ “บุ้ง” ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมือง ที่เสียชีวิตวานนี้ (14 พ.ค.) ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตขณะอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมราชทัณฑ์
โดยนายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากกรณีเสียชีวิตดังกล่าวรัฐบาล ต้องขอแสดงความเสียใจสุดซึ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับตัวบุ้ง เนติพร มาควบคุมตัวไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567โดยขณะนั้นนางสาวนิติพรได้อดอาหารอยู่แล้ว ซึ่งทัณฑสถานหญิงกลางได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากพบว่ามีอาการอ่อนเพลียจากภาวะอดอาหารจึงได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันตสถานหญิงกลาง
จากนั้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์จากอาการอ่อนเพลีย จากนั้นวันที่ 8 มีนาคม-4 เมษายนได้ย้ายตัวนางสาวเนติพร ไปรักษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เป็นเวลา 27 วัน และมีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน แพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์จึงได้มีหนังสือส่งตัวนางสาวเนติพรกลับมารักษาตัวที่ทันฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากเห็นว่าสามารถรักษาต่อได้
โดยหลังจากที่นางสาวเนติพรได้กลับมาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แล้วสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ ทางโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้จัดให้พักในห้องผู้ป่วยรวมที่มีนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพื่อนสนิทพักอยู่ด้วย
ยืนยันว่าแพทย์และพยาบาลได้เฝ้าตรวจรักษาอาการอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นพบว่านางสาวเนติพร รู้สึกตัวดีมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ส่วนการป้องกันนั้น ได้พยายามส่งนักจิตวิทยาเข้าไปโน้มน้าวแล้วอย่างเต็มที่ แต่หากเขายืนยันจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เหตุการณ์ร่างกายทนไม่ไหวแล้ว ราชทัณฑ์ทำได้เต็มที่ก็คือส่งให้แพทย์รักษาเท่านั้น ส่วนการจะให้เปลี่ยนใจนั้นทำไม่ได้เป็นเรื่องยาก หากร่างกายมาถึงจุดที่ไม่สามารถดูแลได้แล้วก็ยาก ต่อให้เป็นแพทย์เทวดาก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้
จนกระทั่งวันเหตุคือวันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 06.00 น. นางสาวเนติพร ได้เกิดอาการวูบและหมดสติไปขณะกำลังพูดคุยกับนางสาวทานตะวัน เจ้าหน้าที่จึงได้ให้การช่วยเหลือและกระตุ้นหัวใจทันที พร้อมประสานส่งตัวไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จนกระทั่งมีข่าวว่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น