“สมยศ-รุ้ง-มายด์” ดาหน้าร้องกมธ.นิรโทษฯเพิ่มคดี 112 -สิทธิประกันผตห.รวมด้วย

"สมยศ-รุ้ง-มายด์" ดาหน้าร้องกมธ.นิรโทษฯเพิ่มคดี 112 -สิทธิประกันผตห.รวมด้วย

Top news รายงาน กลุ่มทะลุฟ้า และเครือข่าย นำโดย นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ หรือ มายด์ แกนนำคณะราษฎร นายเอกชัย หงส์กังวาน ยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม สภาฯ เพื่อขอให้เร่งพิจารณากำหนดให้คดีกระทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้รับการนิรโทษกรรม

 

 

น.ส.ภัสราวลี กล่าวว่า จากกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องคดีมาตรา 112 ระหว่างการคุมขังในเรือนจำ ถือเป็นเหตุความจำเป็นที่ กมธ.ควรพิจารณาให้ชัดเจนและจริงจังต่อการกำหนดให้คดีมาตรา 112 และ คดีทางการเมือง ได้รับการนิรโทษกรรม นอกจากนั้นแล้วขอเรียกร้องให้ชะลอคดีความของผู้ต้องหาคดีทางการเมือง รวมถึงพักการดำเนินการ ไม่ต้อนคนเข้าเรือนจำ หรือ ต้อนคนให้ไปตาย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ภัสราวลี กล่าวด้วยว่า ขอให้พิจารณาปล่อยผู้ต้องขังคดีการเมือง โดยสิทธิการประกันตัว ซึ่งคนต้องคดีการเมืองไม่ควรมีข้อยกเว้นที่จะได้รับสิทธิประกันตัว อีกทั้งควรมีพื้นที่ปลอดภัยให้ได้ใช้สิทธิต่อสู้ในคดีอย่างเต็มที่

 

 

ขณะที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานกมธ.นิรโทษกรรมฯ กล่าวว่า กมธ.ขอแสดงความเสียใจต่อกรณีของน.ส.เนติพร และไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียขึ้นอีก ทั้งนี้ในข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาชน รวมถึงความเห็นของ น.ส.ภัสราวลีนั้น ถูกบันทึกไว้ในที่ประชุมกมธ.แล้ว โดย กมธ. ไม่ได้ปฏิเสธหรือไม่รับไว้ แต่หลายเรื่องนั้นเป็นประเด็นในกระบวนการยุติธรรม ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานสอบสวน อัยการ และ ศาล ส่วนรัฐสภา หรือ รัฐบาลนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบไม่ใช่ผู้บริการกระบวนการยุติธรรม

 

 

นายชูศักดิ์ ย้ำว่า เรื่องนี้สำคัญอยู่ที่นโยบาย เพื่อให้ฝ่ายต่างๆ พูดคุยและทำความเข้าใจในกระบวนการทำงาน หากทำงานแล้วหน่วยงาน เช่น ศาลไม่รับรู้ ศาลต้องยึดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ดังนั้นหากเป็นการทำตามนโยบายในภาพรวมคือส่วนสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องหารือในทางออกร่วมกัน

นายชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่าการนิรโทษกรรม คดีมาตรา 112 กมธ.ไม่ตัดออก แต่อยู่ระหว่างหารือ ข้อดี ข้อเสีย ซึ่งกมธ.พยายามทำเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุดตามสติปัญญาของกมธ. อย่างไรก็ดีตามประสบการณ์พบว่าสิทธิการประกันตัวถูกกำหนดให้เป็นดุลยพินิจของตุลาการ ซึ่งกำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ อาญา) ขณะที่รัฐธรรมนูญมีกำหนดไว้ในกรอบกว้างๆ ดังนั้นอาจต้องรื้อฟื้นการแก้รัฐธรรมนูญและ ป.วิ อาญา อย่างไรก็ดีข้อเสนอของภาคประชาชนนั้น กมธ.รับไว้และจะพิจารณาอย่างจริงจังและเต็มที่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปภ.ประชุมด่วน ผู้ให้บริการ 3 เครือข่ายมือถือ ซักซ้อม-ปรับวิธีส่งข้อมูลแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS และ Cell Broadcast
"ยูเน็กซ์ อีวี" เปิดตัวแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนอัจฉริยะปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย พร้อมจับมือพันธมิตร ธุรกิจสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร
"พาณิชย์–DITP" จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาล-น้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์
“การรถไฟฯ” แจง ผลตรวจเหล็ก สร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
"ผบ.ทบ." เยี่ยมหน่วยตรวจเลือกทหารภาคใต้ ย้ำทุกกระบวนการยึดตามระเบียบ โปร่งใส
นาทีเดือด "กลุ่ม ศปปส." ปะทะ "แกนนำกลุ่มแรงงานพม่า Bright future" หลังจะมาตั้งม็อบประท้วงหน้า UN
"กรมทางหลวงชนบท" โร่แจง ไม่เคยเป็นคู่สัญญากับ "บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 "
"ก.แรงงาน" เตรียมถกแนวทาง "หลักประกันค่าชดเชย" กรณีถูกเลิกจ้าง 9 เม.ย.นี้
จนท.นำเครื่องจักรหนักเข้าพื้นที่โซน B ได้แล้ว ลุยตัดสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่
วอร์รูม “ก.แรงงาน” เร่งเครื่องจ่ายเงินเยียวยา เหยื่อแผ่นดินไหวแล้ว 17.4 ลบ.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น