“พิชิต”นำผอ.สำนักพุทธฯ แถลงยันเชื่อมจิต ไม่มีจริงในพระไตรปิฏก ไร้อำนาจหยุดยั้งทีม “น้องไนซ์” Top News รายงาน
ข่าวที่น่าสนใจ
วันที่ 17 พ.ค. 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเด็กเชื่อมจิต ว่า “ศรัทธาอย่าแกว่ง ธรรมะไม่ต้องซื้อไม่ต้องขาย” การแถลงข่าววันนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะใส่ร้ายบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง ขอให้เข้าใจเจตนา ถือเป็นหลักการ หากมีกรณีเกิดขึ้นในทำนองนี้ที่มีการแอบอ้างแอบพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องใช้สติปัญญารับฟัง
ด้านนายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานพระพุทธศาสนา ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการติดตามสถานการณ์มาตั้งแต่ต้น โดยมีกลุ่มงานคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้มีการรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ โดยได้มีการขอคำปรึกษาจากมหาเถระ ผลกระทบซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจะส่งผลต่อเด็กและครอบครัว โดยขณะนี้ได้มีการได้ตั้งคณะกรรมการทำงานตรวจสอบ กลั่นกรอง ข้อมูล ข่าวสาร และ การกระทำอันอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา โดยมี นายบุญเชิด กิตติธรางกรู เป็นประธาน
แม้ว่าทางสำนักพุทธจะไม่ได้มีอำนาจในการห้าม แต่ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี มีการยกระดับทางกฎหมาย และมีองค์กรภาคเอกชน ยื่นเรื่องไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของสำนักพระพุทธศาสนาให้ความกระจ่าง และข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
ขณะที่นายบุญเชิด ระบุว่า จากการสืบค้นข้อมูลในพระไตรปิฎก การเชื่อมจิตไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกแต่อย่างใด และยังขัดต่อหลักธรรมคุณ 6 ประการ แต่ยอมรับว่ามีความพยายามเทียบเคียงในพระไตรปิฎก ว่าสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้ตรัส สนทนาธรรม ต่ออรหันต์ข้ามวันข้ามคืน พร้อมกับมองว่า คำกล่าวอ้างของเด็กต่างๆ ขอให้ต้องนึกถึงว่าพระพุทธศาสนานั้นเป็นหลัก แห่งความจริง และความรู้
ส่วนคุณวุฒิที่เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ อยู่ในการปกครองของบิดา มารดา และไม่ได้มีการเรียนพระปริยัติธรรม กลับมีการแสดงออกต่อสาธารณะในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดความเชื่อ นายบุญเชิด ยืนยันว่า ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่าเป็นจริงหรือเท็จ เป็นเรื่องไม่จริงเนื่องจากในนิกายเถวาทไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ในฝ่ายมหายานก็อาจจะมีการ แต่ไทยยึดเถรวาทเท่านั้น
เมื่อถามว่า การกระทำในลักษณะดังกล่าวผิดกฎหมายหรือไม่ นายพิชิต กล่าวว่า เรื่องกฎหมายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตำรวจที่รับเรื่องราวร้องทุกข์เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาว่ามีใครเสียหายหรือไม่อย่างไร สำนักงานพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นองค์กรศึกษาปกป้องพระพุทธศาสนา ไม่ให้เกิดการผิดเพี้ยนได้มายืนยันในระดับหนึ่งแล้ว อีกทั้งสิ่งที่แถลงพนักงานสอบสวนสามารถนำไปเป็นพยานหลักฐาน ส่วนใครจะเสียหายหรือไม่อะไรอย่างไร ก็เป็นเรื่องของพนักงานสอบสวน
ส่วนเด็กหรือครอบครัว กรมกิจการเด็กฯ ไม่ได้ละเลย มีการยกระดับแล้ว ขอยืนยันว่าต่อไปองค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย จะเป็นผู้ตรวจสอบว่าใครเสียหาย ซึ่งไม่ได้อยู่ในภารกิจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวล่าสุด
เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น