เตรียมรับ “Golden Boy” ประติมากรรมสำริด กลับคืนสู่ไทย 21 พ.ค.นี้

กระทรวงวัฒนธรรม เชิญชวนประชาชนไทย เตรียมต้อนรับ “Golden Boy”ประติมากรรมสำริด รูปพระศิวะ กลับคืนสู่ประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567

เตรียมรับ “Golden Boy” ประติมากรรมสำริด กลับคืนสู่ไทย 21 พ.ค.นี้ – Top News รายงาน

Golden Boy

 

จากกรณีพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) ในสหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุประติมากรรมสำริด 2 รายการ ซึ่งมีหลักฐานว่าถูกนำออกจากประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย ที่รู้จักกันในนามโกลเด้นบอย (Golden Boy) และประติมากรรมรูปสตรีพนมมือ (The Kneeling Female) จึงมอบหมายให้กรมศิลปากรประสานรายละเอียดขั้นตอนการรับมอบโบราณวัตถุ 2 รายการดังกล่าว ตามข่าวที่รายงานไปแล้วนั้น

ในวันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567 กระทรวงวัฒนธรรม จึงเชิญชวนประชาชนไทย เตรียมต้อนรับ “Golden Boy” กลับคืนสู่ประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า เตรียมรับกลับไทย Golden Boy ประติมากรรมสำริด รูปพระศิวะ  ขอเชิญประชาชนชาวไทยร่วมต้อนรับ Golden Boy กลับคืนสู่ประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 นี้ค่ะ
พร้อมแฮชแท็ก #รมว #รมวปุ๋ง #สุดาวรรณ #กระทรวงวัฒนธรรม #โบราณวัตถุ #GoldenBoy

“Golden Boy” คือ ใคร? สำคัญอย่างไร ?
“Golden Boy” ประติมากรรมสำริด รูปพระศิวะ ศิลปะสมัยลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่าถูกลักลอบขุดค้นจากโบราณสถานปราสาทบ้านยางหรือปราสาทบ้านยางโป่งสะเดา ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และมีการลักลอบซื้อขายออกไปโดยผิดกฎหมายในปี พ.ศ. 2518

รูปแบบประติมากรรมเป็นบุคคลสวมเครื่องทรงแบบชนชั้นสูง มีขนาดความสูง 129 เซนติเมตร ใช้เทคนิคการสร้างแบบพิเศษด้วยการหล่อด้วยสำริดและกะไหล่ทอง มีความงดงามจนได้รับการขนานนามว่า “Golden Boy”

“Golden Boy” เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญของแผ่นดินไทยในอดีต ผ่านความงดงามของฝีมือช่าง และเทคโนโลยีชั้นสูงในการหล่อโลหะของคนโบราณ เป็นของหายาก และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่มคุณค่าในระดับโลก

ภาพ: กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร

 

เว็บไซต์ของ The MET บรรยายถึงประติมากรรม “Golden Boy” ว่า “พระศิวะประทับยืน (?)” หรือ Standing Shiva (?) โดยสันนิษฐานว่าอาจเป็นรูปปั้น “พระศิวะในแบบมานุษยรูปนิยม” ซึ่งไม่พบในศิลปะเขมร ซึ่งไม่ตรงกับหลักประติมานวิทยา (Iconography) ใดๆ จึงมีอีกข้อสันนิษฐานว่า อาจไม่ใช่เทพเจ้าแต่เป็นบุคคล และอาจเป็นรูปฉลองพระองค์ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” กษัตริย์แห่งศรียโสธรปุระ ผู้ครองอาณาจักรพระนคร และเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ “มหิธรปุระ” ซึ่งครองราชย์อยู่นานถึง 27 ปี (พ.ศ.1623-1650)

ส่วนรูปปั้น สตรีนั่งชันเข่าพนมมือ สันนิษฐานว่าเป็นสตรีชั้นสูงในราชสำนัก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 900-1,000 ปีมาแล้ว มีความสูง 43 ซม. หล่อด้วยสำริด เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตงานศิลปกรรมสำริดที่มีคุณภาพในช่วงเวลาดังกล่าว

ภาพ: กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น