เปิดสาเหตุ “เครื่องบินตกหลุมอากาศ” มีความรุนแรงกี่ระดับ หลังสิงคโปร์แอร์ไลน์ ประสบอุบัติเหตุ

เปิดสาเหตุ "เครื่องบินตกหลุมอากาศ" มีความรุนแรงกี่ระดับ หลังสิงคโปร์แอร์ไลน์ ประสบอุบัติเหตุ

Top news รายงาน จากเหตุการณ์เครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER เดินทางจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ประเทศอังกฤษ มุ่งหน้าสู่ประเทศสิงคโปร์ เครื่องบินตกหลุมอากาศ ก่อนขอลงจอดฉุกเฉิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นชายชาวอังกฤษ วัย 73 ปี และ มีผู้บาดเจ็บอีก 71 ราย นั้น

ข่าวที่น่าสนใจ

จากข้อมูลเส้นทางการบิน ของ FlightRadar24 และจากการวิเคราะห์ของสำนักข่าวเอพี ได้แสดงให้เห็นว่า เครื่องบินลำดังกล่าว ร่วงจากระดับความสูง 37,000 ฟุต ไปอยู่ที่ระดับ 31,000 ฟุต หรือ ร่วงลงไป 6,000 ฟุต (ราว 1.82 กิโลเมตร) ภายในเวลาราว 3 นาทีเท่านั้น ก่อนที่เครื่องบินจะคงระดับการบินอยู่ที่ 31,000 ฟุต เป็นเวลาไม่ถึง 10 นาที แล้วลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม สำหรับหลุมอากาศ นั้นคือเวลา เครื่องบินตกหลุมอากาศ ผู้โดยสารจะเหมือนตกลงไปจากระดับการบินเดิมเล็กน้อย บางครั้งเครื่องจะสั่น และหากรุนแรงมาก ก็อาจเกิดความเสียหายของข้าวของภายในเครื่องได้   เวลาเครื่องบินบินอยู่กลางอากาศนั้น ต้องใช้แรงยกจากอากาศที่เคลื่อนที่ผ่านปีกไป ซึ่งโดยปกติแล้ว อากาศจะมีความหนาแน่นเท่ากัน และเคลื่อนที่สม่ำเสมอไปพร้อมกัน แต่บางครั้ง เมื่ออากาศส่วนบน และส่วนล่างมีความเร็วในการเคลื่อนที่แตกต่างกัน หรือมีความหนาแน่นต่างกันมาก ๆ บริเวณรอยต่อจึงเกิดการปั่นป่วน และเคลื่อนที่คล้าย ๆ กับระลอกคลื่น เมื่อเครื่องบินบินผ่านเข้าไปในบริเวณนี้จึงเกิดการสั่นสะเทือน เหมือนตกหลุมนั่นเอง

สาเหตุ เครื่องบินตกหลุมอากาศ เกิดขึ้นตอนไหน?

1.เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบิน บินเข้าไปใกล้กับรอยต่อระหว่างขอบนอกของกระแสลมกรด กับบริเวณสภาพอากาศปกติ

2.เกิดขึ้นเมื่อมีลมพัดปะทะภูเขา ทำให้อากาศอีกด้านปั่นป่วน เกิดเป็นหลุมอากาศ สามารถคาดการณ์ได้

3.พายุฝนฟ้าคะนอง สามารถตรวจพบได้ นักบินจึงหลีกเลี่ยงไม่บินไปใกล้ได้

 

 

 

Clear Air Turbulence คืออะไร

CAT (Clear Air Turbulence) คือความปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส

เมฆทุกชนิดที่เกิดขึ้นในท้องฟ้าสามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบถึงความปั่นป่วนได้ว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งนักบินจะต้องเลือกว่าจะหลีกเลี่ยงหรือบินผ่านเข้าไปในเมฆชนิดนั้น เมื่อนักบินสังเกตเห็นเมฆปรากฏอยู่เบื้องหน้า นักบินสามารถประเมินความรุนแรงของความปั่นป่วนได้ และอาจตัดสินใจลดความเร็วของเครื่องบินลงหรือปฏิบัติการอย่างอื่น ตามคำแนะนำเพื่อผจญกับความปั่นป่วนนั้น แต่มีความปั่นป่วนอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเตือนใดๆ ที่มองเห็นได้ มีเครื่องบินจำนวนมากที่บินอยู่ในบริเวณที่ไม่มีก้อนเมฆปรากฏอยู่เลย แต่เครื่องบินได้รับการกระแทกหรือราวกับถูกจับโยนเหมือนกับเรือที่แล่นอยู่ในทะเล ที่เต็มไปด้วยระลอกคลื่น เรียกความปั่นป่วนในลักษณะนี้ว่า ความปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส

สาเหตุของความปั่นป่วนบริเวณ Jet Stream เกิดจากด้านในสุดของแกนของ Jet Stream อาจมีความเร็วสูงสุดถึง 250 mph แต่ถัดออกมาด้านนอก ความเร็วลมก็จะลดลงเรื่อยๆจนถึงขอบนอกอาจเหลือเพียง 50 mph โดยในแต่ละจุดของความแตกต่างของความเร็วลม จะเกิดกระแสอากาศหมุนวน เกิดความปั่นป่วน เรียกว่า CAT ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อยเมื่อเครื่องบิน บินผ่านบริเวณ CAT คือเครื่องบินจะเกิดการโยนตัวอย่างทันทีทันใด หรือที่เรียกว่า ตกหลุมอากาศ (Air Pocket) ระดับความรุนแรงของความปั่นป่วนนี้อาจอยู่ในขั้นปานกลางถึงขั้นรุนแรง

 

 

 

ลำดับชั้นความรุนแรงของความปั่นป่วน

การแบ่งชั้นความรุนแรงความปั่นป่วน โดยความหมายในตารางนี้ ใช้ได้กับทุกๆคน โดยนักบินประเมินค่าความรุนแรงได้ ตามชนิดของเครื่องบินนั้นๆ ซึ่งการประเมินความรุนแรงนี้ต้องทำตามแนวทางการปฏิบัติงานและข้อจำกัดของนักบินแต่ละบุคคล

  • ความรุนแรง ระดับเล็กน้อย : สภาพอากาศเกิดความแปรปรวนเล็กน้อย ผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัด และอยู่กับที่ โดยสิ่งของต่างๆ ในเครื่องบินจะไม่ขยับ และอยู่นิ่งกับที่
  • ความรุนแรง ระดับปานกลาง : สภาพอากาศเกิดความแปรปรวน โดยผู้โดยสารจะต้องรัดเข็มขัด และอยู่กับที่ ความรุนแรงนี้อาจทำให้ผู้โดยสารอาจถูกโยนตัวเป็นครั้งคราว แม้รัดเข็มขัด และสิ่งของในเครื่องบินอาจเคลื่อนที่ได้
  • ความรุนแรง ระดับรุนแรง : สภาพอากาศเกิดความแปรปรวน ทำให้นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ชั่วขณะหนึ่ง ผู้โดยสารจะถูกโยนตัวขึ้น – ลง อย่างรุนแรง ขณะรัดเข็มขัด พร้อมกับสิ่งของต่างๆ อาจถูกโยนขึ้น และลอยตัวในอากาศได้
  • ความรุนแรง ระดับรุนแรงมากที่สุด : หนึ่งในระดับที่เกิดขึ้นน้อยมาก ทำให้สภาพอากาศเกิดความแปรปรวน ทำให้นักบินไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้เลย เครื่องบินถูกโยนขึ้น-ลง อย่างรุนแรง และอาจสร้างความเสียหายต่อตัวเครื่องบินได้

 

 

บริเวณของ CAT จะเคลื่อนที่ไปในทิศตะวันออกเสมอ โดยจะเคลื่อนที่ตามแนวปะทะอากาศ (Front) ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ของผิวพื้นโลก

อันตรายของ CAT (Clear Air Turbulence) ต่อเครื่องบินที่กำลังทำการบินในอากาศโดยเฉพาะเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่ทำการบินในระดับสูง ๆ เมื่อเครื่องบินเข้าสัมผัสกับบริเวณของ CAT จะประสบกับความปั่นป่วนของอากาศ เกิดการสั่นสะเทือนของเครื่องบินอย่างรุนแรง ทำให้ผู้โดยสารตกใจ ขาดความสุข หรือบางครั้งรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องบินและผู้โดยสารบาดเจ็บได้

ดังนั้น ก่อนทำการบินทุกครั้ง นักบินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการบินจะต้องศึกษาตำแหน่งของ CAT ให้ละเอียดจากเอกสารประกอบการบิน (Flight folder) และข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยง หรือ ลดความรุนแรงของ CAT เพื่อให้เกิดความสะดวก ความสุข ความปลอดภัยและความมีประสิทธิภาพของการบิน

 

ขอบคุณข้อมูล : สสวท. , กรมอุตุนิยมวิทยาการบินวิทย์สนุกรอบตัว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้นำปานามาลั่นคลองปานามาไม่ใช่ของขวัญจากสหรัฐ
จีนไม่เห็นด้วยหลังไทยยืนยันไม่มีแผนส่งกลับอุยกูร์ในขณะนี้
"ดีเอสไอ" อนุมัติให้สืบสวนคดี "แตงโม" ปมมีการบิดเบือน บุคคลอื่น-จนท.รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่
"พิพัฒน์" นำถก "คบต." ลงมตินายจ้างต้องยื่นบัญชีชื่อต้องการแรงงานต่างด้าว ให้เสร็จใน 13 ก.พ.68
ส่องรายได้ "ดิว อริสรา" หลัง "ไผ่ ลิกค์" เฉลยชื่อดาราดัง ปมยืมเงินปล่อยกู้ โซเชียลจับตา รอเจ้าตัวชี้แจง
ศาลให้ประกันตัว "หนุ่มลูกครึ่งอินเดีย" ขับรถชนไรเดอร์เสียชีวิต ตีวงเงิน 6 แสนบาท คุมเข้มใส่กำไล EM ภรรยาผู้ตาย ลั่นไม่ให้อภัย
ทบ.ขานรับนโยบายปราบยาเสพติด เพิ่มทหาร 6 กองกำลัง วัดเคพีไอ 10 กพ.-10 มิ.ย.
ซีพีเอฟ ซีพี-เมจิ ร่วมหนุนสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ "รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย”
สละเรือแล้ว! "ผบ.อิสราเอล" ยื่น "ลาออก" เซ่นเหตุ 7 ต.ค. ไล่แทงกันในเทลอาวีฟเจ็บ 5
สุดปัง “นายกฯ” สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น