“พิชัย” ติงแรงแบงก์ชาติ คงนโยบายอัตราดอกเบี้ยทำศก.ไทยขยายตัวต่ำในอาเซียน เน้นย้ำร่วมรัฐแก้หนี้สินครัวเรือน ก่อนพังทั้งระบบ

"พิชัย" ติงแรงแบงก์ชาติ คงนโยบายอัตราดอกเบี้ยทำศก.ไทยขยายตัวต่ำในอาเซียน เน้นย้ำร่วมรัฐแก้หนี้สินครัวเรือน ก่อนพังทั้งระบบ

พิชัย” ติงแรงแบงก์ชาติ คงนโยบายอัตราดอกเบี้ยทำศก.ไทยขยายตัวต่ำในอาเซียน เน้นย้ำร่วมรัฐแก้หนี้สินครัวเรือน ก่อนพังทั้งระบบ

วันที่ 27 พ.ค. 67 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกฯ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวได้เพียง 1.5% แม้จะดีกว่าที่คาดการณ์กันว่าจะขยายไม่ถึง 1% แต่ก็ยังถือว่าแย่มาก และเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในอาเซียนโดย เวียดนามขยายได้ 5.7% ฟิลิปปินส์ขยายได้ 5.7% อินโดนิเซียขยายได้ 5.1% มาเลเซียขยายได้ 4.2% แม้กระทั่งสิงคโปร์ยังขยายได้ 2.7% แสดงถึงเศรษฐกิจของอาเซียนยังดี แต่เศรษฐกิจไทยกลับแย่

พิชัย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้หากจำกันได้ ตนได้เตือนไว้ก่อนแล้วว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกจะแย่เพราะรัฐบาลเพิ่งเข้ามาบริหารได้ไม่นาน และการดำเนินนโยบายทางการคลังผ่านทางงบประมาณยังทำไม่ได้เพราะงบประมาณเพิ่งจะผ่านสภา ในเดือนเมษายนนี้เอง โดยเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งออกนโยบายทางการเงินเพื่อสนับสนุนและประคองเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรก แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับ

 

ทั้งนี้หากย้อนดูธนาคารกลางของประเทศสหรัฐที่เป็นอิสระ แต่เมื่อเศรษฐกิจประเทศสหรัฐย่ำแย่ ธนาคารกลางสหรัฐยังต้องสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ โดยออก QE จำนวนมหาศาลเป็นเวลานาน จนกระทั่งเศรษฐกิจสหรัฐฟื้น แต่ ธปท. กลับไม่ทำอะไร นอกจากนี้หากพิจารณาประเทศในอาเซียนที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากในไตรมาสแรก จะพบว่าประเทศเหล่านี้มีค่าเงินที่อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ และยังลดลงมากเมื่อเทียบกับสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งด้วย โดยค่าเงินดองเวียดนาม ลดลงเหลือ 25,400/ดอลล่าร์ จาก 14,000 ดองในปี 2000 เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ ลดลงเหลือ 58 เปโซ/ดอลล่าร์ จาก 39.95 เปโซ ในปี 2000 เงินรูเปีย อินโดนิเซีย ลดลงเหลือ 16,000 รูเปีย/ ดอลล่าร์ จาก 7,000 รูเปียในปี 2000 เงินริงกิต มาเลเซีย ลดลงเหลือ 4.7 ริงกิต/ดอลล่าร์ จาก 3.8 ริงกิตในปี 2000 แต่ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นเป็น 36.7 บาท/ดอลล่าร์ จาก 44.20 บาทในปี 2000 นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าประเทศคู่แข่งใช่หรือไม่

 

 

นอกจากนี้ ช่วงห่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทยยังสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในประเทศคู่แข่งมาก โดยช่วงห่างดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 6-7% ในขณะที่ช่วงห่างดอกเบี้ยของประเทศคู่แข่งอยู่ที่ 2-3% เท่านั้น ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจต้องแบกต้นทุนและค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่า ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการเรียกร้องหลายครั้งแล้ว ทั้งที่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยนโยบาย และ ธปท. สามารถทำได้ทันที แต่ ธปท. กลับไม่ทำอะไร ขนาดนายกรัฐมนตรียังต้องลงมาเจรจากับธนาคารพาณิชย์เอง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของ ธปท. โดยเฉพาะคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ทำให้คนจำนวนมากสงสัยกันว่า ธปท. เอาใจธนาคารพาณิชย์เกินไปหรือไม่

 

 

 

ทั้งนี้ตนไม่ได้มีอคติอย่างใดกับ ธปท. เพียงอยากเห็น ธปท. ทำหน้าที่ที่ควรปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำมาเป็นเวลาเป็น 10 ปีแล้ว อีกทั้งนโยบายการเงินของ ธปท. มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่านโยบายการคลังของรัฐบาลเสียอีก โดยประเทศต่างๆในโลกต้องอาศัยความร่วมมือของธนาคารกลางเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ถ้าหาก ธปท. ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิธีการทำงาน เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงได้ยาก ดังนั้นจึงอยากให้มีจุดประสงค์และแนวทางที่ตรงกันกับรัฐบาล สมัยอาจารย์โกร่ง ดร. วีรพงษ์ รามางกูร อดีตประธานคณะกรรมการ ธปท. ก็มีความกังวลปัญหาของ ธปท. ในเรื่องนี้เหมือนกัน

 

ปัญหาเร่งด่วนที่ ธปท. และ รัฐบาลจะต้องร่วมมือกันเร่งแก้ไขคือปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 91 % ของจีดีพี หรือ 16.3 ล้านล้านบาท และ ยังคงเพิ่มสูงขึ้นไปอีก และ ปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถยนต์ ซึ่งปัญหาหนี้เสียนี้ตนได้เตือนมาตลอดว่าจะเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วแล้ว ทั้งนี้ปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นกำลังจะตามมาเพราะหนี้สาธารณะปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 63.37% ของจีดีพีแล้ว อีกทั้งรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาสินค้าจากประเทศจีนราคาถูกที่ทะลักเข้ามาขายในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ SMEs ไทยได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะราคาสินค้าแข่งขันไม่ได้ อีกทั้งเงินไหลออกไปประเทศจีนจำนวนมาก เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำมาก โดยรัฐบาลได้กลับมาเก็บภาษีสินค้าจีนที่ต่ำกว่า 1,500 บาทแล้ว แต่ก็อาจจะต้องออกมาตรการที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อป้องกันปัญหานี้

 

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยยังมีปัญหาอย่างมากในหลายด้านจากปัญหาที่สะสมมาในอดีต ซึ่ง ธปท. จะต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา โดยรัฐบาลเองจะต้องเร่งแก้ปัญหาและออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยต้องออกหลายนโยบายพร้อมๆกัน โดยเฉพาะการเพิ่มรายได้เพื่อแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นกลับมาได้ โดยทุกภาคส่วนจะต้องให้ความร่วมมือ ก่อนที่เศรษฐกิจไทยจะทรุดลงไปกว่านี้ โดยไม่อยากให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเตี้ยแบบนี้ต่อไปอีกแล้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ก.แรงงาน" เตรียมเปิดขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" รอบใหม่
เจาะ "MOU44" พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา "เกาะกูด" เป็นของใคร
"สมชัย" เผยเคยทำงานร่วม "กิตติรัตน์" ยอมรับเป็นคนเก่ง แต่เพราะเคยตามใจฝ่ายการเมืองทำประเทศชาติเสียหาย
ระทึก "รถทัวร์กรุงเทพฯ-เชียงแสน" ชน "รถพ่วง" พลิกคว่ำตกข้างทาง ผู้โดยสารบาดเจ็บอื้อ
"ศิริกัญญา" ปูดข่าว รบ.วางแผนยึดการบินไทย ส่ง 2 ผู้บริหารฟื้นฟู
โมเดลใหม่...ประมงสมุทรสงครามเปิดตัวกิจกรรม “สิบหยิบหนึ่ง” ปราบปลาหมอคางดำ จับมือเกษตรกรร่วมแก้ปัญหาในบ่อเลี้ยงเกษตรกรและแหล่งน้ำธรรมชาติ
"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น