ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับฟ้อง “4 บิ๊กกสทช.” ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ สั่งปลด “ไตรรัตน์” รักษาการเลขาธิการฯ

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับฟ้อง "4 บิ๊กกสทช." ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ สั่งปลด "ไตรรัตน์" รักษาการเลขาธิการฯ

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับฟ้อง “4 บิ๊กกสทช.” ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ สั่งปลด “ไตรรัตน์” รักษาการเลขาธิการฯ    Top News รายงาน 

 

กสทช.

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

31 พฤษภาคม 2567 มีรายงานระบุว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีมติรับคำฟ้อง คดีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของ 4 กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ 1 รองเลขาฯ กสทช.

 

จากปมปลดสั่งให้นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการเลขาธิการ กสทช. พ้นจากตำแหน่งเพื่อสอบสวนกรณีที่ กสทช.ได้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2022 จำนวน 600 ล้านบาท ให้กับการกีฬาแห่งประเทศไทย

 

โดยนายไตรรัตน์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 4 กสทช. และ 1 รองเลขาฯ ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อท 155/2566 ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 86, 157 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

 

จำเลย 4 กสทช. ได้แก่ พล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ, ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต, รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย, รศ.ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ และนายภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช. ข้อหาเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 

 

ทั้งนี้มีการเปิดเผยว่า การรับฟ้องจะมีผลกระทบกับบอร์ด กสทช.โดยตรง เพราะการที่มีบอร์ดเพียง 3 คนที่เหลือ จะทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้

 

สำหรับคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2566 ที่ผ่านมา ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีคำสั่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ลับ) ที่ 7/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

โดยอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เสนอให้เข้ามาทำหน้าที่ในคณะอนุกรรมการเองท้้งสิ้น และอาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายประกาศที่เกี่ยวข้องและมติที่ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) ตลอดจนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช.

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2566 คณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จัดทำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (ลับ) โดยคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้ประชุมพิจารณามีความเห็นในการประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 6/2566 ด้วยคะแนนเสียงส่วนมาก 4 เสียง มีความเห็นว่า

กรณีการดำเนินการสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมติที่ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุน กทปส. ตลอดจน MOU ที่ได้ทำกับสำนักงาน กสทช. ส่วนอนุกรรมการอีก 2 เสียง ไม่ลงความเห็น

และในวันประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ระเบียบวาระที่ 5.22 : รายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด รายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายนั้น ที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้

1. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย

2. ที่ประชุมมีการพิจารณาข้อเสนอตามรายงาน ข้อ 1 ที่เสนอว่า การดำเนินการของ การกระทำของนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล (โจทก์) รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้องและมติที่ประชุม กสทช. รวมทั้งข้อเสนอของ กกท. ที่ได้ยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุน กทปส. ตลอดจน MOU ที่ได้ทำไว้กับสำนักงาน กสทช.

โดยจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ได้ลงมติเสียงข้างมากให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ และลงมติให้มีการเปลี่ยนตัวรองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. (หมายถึงโจทก์) จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น

รายงานข่าวระบุว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่พิจารณาลงมติระเบียบวาระที่ 5.22 เป็นการกระทำที่ขัดต่อระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2555 ข้อ 21 และข้อ 29

 

 

จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ในฐานะ กสทช. จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการลงมติให้ประธานกรรมการหรือสำนักงาน กสทช. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 4 ได้สมคบกันเพื่อใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการ กสทช.

โดยวางแผนการและแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อให้ที่ประชุม กสทช. ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 วาระที่ 5.22 มีมติปลดโจทก์ออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ กสทช. โดยมีเจตนาทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้จำเลยที่ 5 โดยเสนอให้ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งจำเลยที่ 5 เป็นผู้รักษาการเลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์

ทั้งนี้ เมื่อมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว ปรากฏว่าสื่อมวลชนได้มีการนำเสนอและเผยแพร่ข่าวที่ กสทช. มีมติปลดโจทก์ และให้โจทก์หยุดปฏิบัติหน้าที่ ผ่านทางสื่อหลายสำนัก หลายช่องทางด้วยกัน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงจากการนำเสนอข่าวดังกล่าว และเสียโอกาสในหน้าที่การงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น