ด้าน นางจิรวรรณ สุดสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับหัวเว่ยซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะระดับโลกในการส่งเสริมบุคลากรด้านดิจิทัลให้สอดรับกับความต้องการที่หลากหลายของอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเราจะมุ่งตอบสนองความต้องการและมุ่งยกระดับและเสริมสร้างทักษะบุคลากรร่วมกัน ภายใต้ความร่วมมือด้านวิชาการและอุตสาหกรรมในการพัฒนาทักษะบุคลากรที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลในอนาคต”
ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งใหม่กับพันธมิตรที่หลากหลาย เพื่อปลูกฝังบุคลากรด้านดิจิทัลและส่งเสริมอีโคซิสเต็มในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง:
1. สร้างผลกระทบเชิงบวกกับภาครัฐบาลและนโยบาย: ในการผนึกกำลังกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงแรงงาน ทั้ง 3 หน่วยงานตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีให้ได้รวม 10,000 คน, นักพัฒนาด้านคลาวด์และ AI จำนวน 5,000 คน, และวิศวกรด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมอีก 2,000 คนภายในปี พ.ศ. 2568 โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 20 แห่ง เพื่อสร้างองค์ความรู้ผ่านหลักสูตรนักพัฒนาด้านคลาวด์และด้านดิจิทัลของหัวเว่ย
2. แบ่งปันองค์ความรู้ด้านวิชาการ: มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (Beijing University of Post and Telecommunications), มหาวิทยาลัยขอนแก่น, และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัวโครงการใหม่ซึ่งเป็นความร่วมมือเพื่อผลักดันการถ่ายทอดประสบการณ์ ส่งต่อองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรเพื่อโลกการทำงานในอนาคต
3. มอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน: เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีที หัวเว่ยจัดโครงการแข่งขันด้านไอซีทีเพื่อชิงทุนการศึกษาในปี พ.ศ. 2566-2567 โดยได้มอบ 9 รางวัลให้กับทีมผู้ชนะรางวัลใน 3 สาขา ได้แก่ ด้านเครือข่าย (Network) ด้านคลาวด์ (Cloud) และด้านการประมวลผล (Computing) โดยมีมูลค่ารางวัลรวมกว่า 1.4 ล้านบาท
4. การมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมและการสร้างอาชีพ: หัวเว่ยร่วมกับพันธมิตร 15 รายในธุรกิจองค์กร, คลาวด์, พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จัดมหกรรมจัดหางานเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมและประกาศนียบัตรรับรองจากหัวเว่ยได้เข้าถึงงานดิจิทัลในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบ, ธุรกิจองค์กร, และการพัฒนาซอฟต์แวร์
ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการกำหนดนโยบายและพันธมิตรโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัลให้ได้รวม 100,000 คน ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เพื่อจัดฝึกอบรมบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 12 ครั้ง รวมจำนวน 1,200 คน และจัดการแข่งขันด้านความปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 4,000 คน รวมทั้งได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ฝึกอบรมเอสเอ็มอีไทย 160 ราย เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G, เมืองอัจฉริยะ, AI และหุ่นยนต์แบบอิมเมอร์ซีฟ นอกจากนี้ยังจัดตั้ง Huawei ICT Academy ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับนักวิชาการทั่วโลก เพื่อฝึกอบรมนักเรียนจำนวน 2,300 คน และจัดกิจกรรมการแข่งขันด้านไอซีทีเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีคลาวด์, ทรัพย์สินทางปัญญา, และความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษากว่า 400 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และมอบทุนการศึกษาคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2566 รวมถึงโครงการด้านการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัลที่สำคัญอื่น ๆ อีกหลายโครงการในประเทศไทย เช่น โครงการ Seeds for the Future, โครงการ Women in Tech, และโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) ครอบคลุมหลายจังหวัดในประเทศไทย
หัวเว่ยได้วางรากฐานในประเทศไทยมากว่า 25 ปี โดยมุ่งมั่นผลักดันกลยุทธ์ด้านดิจิทัลในประเทศไทยตามพันธกิจ ‘เติบโตในประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย’ (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) ผ่านแพลตฟอร์ม Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย และหลักสูตรการฝึกอบรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ หัวเว่ยได้ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มครบวงจรที่รวมการฝึกอบรม, มาตรฐานการรับรองจากหัวเว่ย, การคัดเลือกพันธมิตร, และแอปพลิเคชันดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการบ่มเพาะสภาวะความร่วมมือที่เปลี่ยนความคิดและนวัตกรรม ไปสู่การแบ่งปันองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานจริง โดยหัวเว่ยพร้อมจะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล ที่เปี่ยมด้วยความอัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม