logo

“เสมา 1” เน้นย้ำนโยบายลดภาระหนี้ครู หนุนสพฐ.ร่วมวางแผนเก็บออม กู้ใช้จ่าย ผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์

"เสมา 1" เน้นย้ำนโยบายลดภาระหนี้ครู หนุนสพฐ.ร่วมวางแผนเก็บออม กู้ใช้จ่าย ผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์

เสมา 1” เน้นย้ำนโยบายลดภาระหนี้ครู หนุนสพฐ.ร่วมวางแผนเก็บออม กู้ใช้จ่าย ผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์

วันที่ 31 พ.ค. 67 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความเข้าใจการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุลรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงประธานกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่มีครูและบุคลากรของ สพฐ. เป็นสมาชิกทั่วประเทศ 100 แห่ง และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขต เข้าร่วม ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ OBEC Channel ไปยังผู้ชมทั่วประเทศ

เสมา 1

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ กล่าวว่า นโยบายการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเป้าหมายเพื่อให้ครูและบุคลากรฯ สามารถพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เห็นผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง ใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร จะทำให้ครูและบุคลากรมีสภาพคล่องทางการเงิน มีขวัญ กำลังใจ และมีสมาธิจดจ่อในการแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียน รวมทั้งสามารถวางแผนพัฒนาตนเองได้อย่างดี อีกทั้งการแก้ปัญหาหนี้สินทั้งภาคประชาชน และบุคลากรภาครัฐ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้เห็นผล โดยการแก้ปัญหาหนี้สินจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาสังคมในภาพรวมไปพร้อมกัน ทั้งนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครูและบุคลากร ทั้งข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างตำแหน่งต่างๆ กว่า 9 แสนคน รวมถึงครอบครัวของครูและบุคลากรดังกล่าว หลายล้านคน มีสหกรณ์เป็นที่พึ่งทั้งฝากออม กู้เพื่อการลงทุน และการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ดูแลตนเองและครอบครัว ส่งบุตรหลานเล่าเรียน ตอบแทนพระคุณและเลี้ยงดูพ่อแม่ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล การบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงจรชีวิตครูและบุคลากร รวมถึงมีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา สังคม และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเรา ดังนั้น การบริหารของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จึงเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งอันหนึ่ง ในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูของกระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

“ดังนั้นความร่วมมือของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ที่จะเกิดขึ้นจากการสัมมนาในวันนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิตของครูและบุคลากรในระยะยาว โอกาสนี้ ขอขอบคุณผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกท่าน ที่ช่วยกันขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ลดภาระครูและบุคลากร ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง สู่การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและความมั่นคงของชีวิต คงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังต่อไปให้เห็นผลเป็นรูปธรรม สำหรับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากร อาจดำเนินการได้ทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นใหม่ เป้าหมายสำคัญคือ ให้ครูและบุคลากรมีเงินเดือนเหลือสุทธิมากกว่าร้อยละ 30 เพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุข มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความรู้และคุณธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างเสริมสมรรถนะนักเรียนของเราทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ และสมรรถนะด้านการเงิน สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป รวมถึงทุกส่วนราชการที่นำนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรลงสู่การปฏิบัติอย่างเห็นผลและต่อเนื่อง เพื่อให้ครูยิ้มได้ นักเรียนสดใส “เรียนดี มีความสุข” อย่างยั่งยืน” รมว.ศธ. กล่าว

 

 

ด้านว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่า จากนโยบายการลดภาระครูและบุคลากรฯ ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากร สพฐ. ได้นำนโยบายสู่การปฏิบัติโดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้ครูและบุคลากรทุกคนต้องมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น มีเงินเดือนเหลือสุทธิมากกว่าร้อยละ 30 พร้อมทั้งมีความรู้และทักษะด้านการเงิน เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาด้านการเงินด้วยตนเองอย่างยั่งยืน สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย มีอาชีพเสริม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างดีมีประสิทธิภาพสูงตามแนวทาง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” รวมถึงในส่วนของนักเรียน ทุกคนต้องมีความรู้และทักษะด้านการเงิน เพื่อให้มีสมรรถนะด้านการเงินพร้อมใช้ชีวิตในอนาคตได้เป็นอย่างดี ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สพฐ. ได้ดำเนินการ ดังนี้

1) จัดตั้งสถานีแก้หนี้ 245 เขตพื้นที่ทั่วประเทศ

2) จัดทำระบบออนไลน์รับลงทะเบียนผู้สมัครใจแก้ไขหนี้สิน

3) ประสาน เจรจา สถาบันการเงินเพื่อลดดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับโครงสร้างหนี้ และแสวงหาแนวทางเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกันกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจากข้อมูลและการดำเนินงานที่ผ่านมา สพฐ. พบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษากว่าร้อยละ 90 มีหนี้สินอยู่กับสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ถ้าได้รับความร่วมมือ และความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานจากรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และผู้เกี่ยวข้อง จะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินได้ตรงจุด และประสบความสำเร็จ ทุกฝ่ายมีความสุข เศรษฐกิจก้าวหน้า และสังคมประเทศไทยโดยภาพรวมมีความสุขร่วมกัน

 

 

พร้อมกันนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการจัดงาน “สัมมนาส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความเข้าใจการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา” เพื่อขอความร่วมมือและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกมิติ ทั้งด้านสวัสดิการ และประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และบุคลากรในสังกัดทุกคน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินประชาชนรายย่อย พร้อมคณะวิทยากร ประกอบด้วย นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวจันทิมา ธนาสว่างกุล อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด ดร.ขจร ธนะแพสย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย เลขานุการคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินประชาชนรายย่อย ดร.ณรินทร์ ชำนาญดู ประธานกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี จำกัด นายดำเนิน เพียรค้า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 และนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

“จากการสัมมนาในวันนี้จะเห็นความสุขของครูและบุคลากร จากการเป็นผู้นำที่สมบูรณ์ของประธานกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่บริหารงานเพื่อประโยชน์ของสมาชิกทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมตามอุดมการณ์ของการจัดตั้งสหกรณ์ รวมถึงภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่ช่วยเหลือดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาและครอบครัวให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความสุข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีมีความรู้ และคุณธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเมื่อครูและบุคลากรมีความมั่นคงทางการเงิน ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข ก็จะสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้การศึกษาของเด็กไทยเกิดการพัฒนาอย่างรุดหน้า ทั้งครูและนักเรียนจับมือกัน “เรียนดี มีความสุข” อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" ไม่หวั่น ลั่นรัฐบาลพร้อมให้ฝ่ายค้านตรวจสอบ หลังขู่ซักฟอกสมัยประชุมนี้
"นายกฯ" ชี้เคส "ชาญ" ยึดตามกม. ยันไม่รู้จักส่วนตัว
เฮอริเคนเบริล ถล่มแคริบเบียน
ยูเครนมีเวลา1เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้
เช็กด่วน "ธนาคาร" ปิดปรับปรุงระบบ ก.ค. 2567 ทำธุรกรรมไม่ได้
สายการบินแห่งชาติเยอรมันระงับเที่ยวบินไปเลบานอน
“ชาญ” ลั่นยังไม่ได้เป็นนายก อบจ. จะสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ได้ยังไง
"ภูมิธรรม" ชี้ "ชาญ" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ต้องรอคำสั่งศาล "กฤษฎีกา" แค่ความเห็นข้อกม.
"เลขากฤษฎีกา" แจงเหตุ ถ้า "ชาญ" ย้อนรับตำแหน่งนายกอบจ.ปทุมฯ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที
ตร.เร่งล่าตัว 23 คนร้าย กระหน่ำยิงคู่อริ กลางแยกไฟแดงลาซาล-แบริ่ง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น