ท่องเที่ยว อบรม สัมมนา ทั่วไทย ลดหย่อนภาษีได้ “รัดเกล้า” เผยครม.เห็นชอบ 2 มาตรการภาษี หนุนการท่องเที่ยวในประเทศ

ท่องเที่ยว อบรม สัมมนา ทั่วไทย ลดหย่อนภาษีได้ “รัดเกล้า” เผยครม.เห็นชอบ 2 มาตรการภาษี หนุนการท่องเที่ยวในประเทศ

ท่องเที่ยว อบรม สัมมนา ทั่วไทย ลดหย่อนภาษีได้ “รัดเกล้า” เผยครม.เห็นชอบ 2 มาตรการภาษี หนุนการท่องเที่ยวในประเทศ

ลดหย่อนภาษี

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

นางรัดเกล้า อินวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (4 มิถุนายน 2567) ที่ประชุม ครม. มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) และมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (Low Season) ซึ่งคือระหว่างเดือนพฤษภาคม 2567 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2567

 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากโควิด-19 และ ผลกระทบจากปัญหาเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงของจีน ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย ทั้ง 2 มาตรการนี้จะช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีกับระบบเศรษฐกิจของไทย เพราะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงานอีกด้วย

โดยทั้ง 2 มาตรการ มีระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567- 30 พฤศจิกายน 2567

มาตรการแรก “มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล)”

กลุ่มเป้าหมาย – บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

สิทธิประโยชน์ทางภาษี – ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2567 โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น ทั้งนี้ สำหรับค่าขนส่ง สามารถจ่ายให้ผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ ซึ่งจะต้องมีใบรับในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยทำผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร

รายละเอียดของการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการหักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้

(1) หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด (พื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก)

(2) หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดฯ (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก)

(3) ให้หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ในกรณีที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด

พื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์ จังหวัดท่องเที่ยวรอง โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทั้งจังหวัด 55 จังหวัด และพื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก 15 จังหวัด (หักรายจ่ายได้ 2 เท่า) และพื้นที่อื่น (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก) (หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า)

มาตรการที่สอง “มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา)”

กลุ่มเป้าหมาย – ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สิทธิประโยชน์ทางภาษี – ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนค่าบริการได้ ดังนี้ (1) ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว (2) ค่าที่พักในโรงแรม (3) ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย (4) ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็ม ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากรเท่านั้น

พื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์ จังหวัดท่องเที่ยวรองเท่านั้น

ทั้งนี้ ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าว จะรวมอยู่ในการดำเนินการออกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. … จำนวน 1 ฉบับ

กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (สำหรับนิติบุคคล) จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 1,200 ล้านบาท ในขณะที่ มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (สำหรับบุคคลธรรมดา) จะทำให้รัฐบาลสูญเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 581.25 ล้านบาท

ในการประชุม ครม. นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าขอให้ทางกฤษฎีกาเร่งดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้น ขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่แต่ละเขต แต่ละจังหวัด ดูแลพื้นที่ตัวเองอย่างใกล้ชิด โดยขอให้ประสานงานกับทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองอย่างมีประสิทธิภาพ

“มาตรการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการทั้งในและนอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ” รองโฆษกฯ รัดเกล้าย้ำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

มาแน่ เช็กรายชื่อ 39 จังหวัด รับมือพายุฝนถล่ม ลมแรง กทม.โดนด้วย ร้อนสุด 37 องศา
"ตม." งัดข้อมูลซัด "โรม" หน้าหงาย ระบบ Biometrics บันทึกข้อมูลทุกคน ระบบ PIBICS คุมคนต่างด้าว
สธ.แจงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ใน "ค้างคาว" ยังไม่แพร่ระบาดสู่คน
“อี้ แทนคุณ“ เปิดเส้นเงิน 3 ล้าน โยง “ฟิล์ม รัฐภูมิ” พร้อมเผยปมใหม่เอี่ยวหลอกขายเหรียญคริปโต
"กรวีร์" ส่งหนังสือเชิญ "ธนดล" พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ชี้แจง กมธ.ปกครอง ปมที่ดิน สปก.เขาใหญ่
"ทรัมป์" บี้หนัก ฮุบ แหล่งแร่หายาก "ยูเครน" ขู่ปิดเน็ต Starlink
เอาจริง "ตร.ปอท." บุกจับ 2 แอดมินเพจ ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ยึดของกลาง เกือบ 2 พันชิ้น
“ภูมิธรรม" เดินหน้าปราบแก๊งคอลฯ ผนึกกำลังเพื่อนบ้าน ปิดช่องโหว่ อาชญากรข้ามชาติทุกช่องทาง
ย้อนเกล็ดแสบ "จีน" ส่งเรือรบติดขีปนาวุธ3ลำประชิดออสซี่ อ้างซ้อมรบใช้กระสุนจริง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น