มติศาลรธน.รับคำร้อง 4 มาตรา กฎหมาย “เลือกสว.” ตีตกมาตรการคุ้มครอง

มติศาลรธน.รับคำร้อง 4 มาตรา กฎหมาย "เลือกสว." ตีตกมาตรการคุ้มครอง

มติศาลรธน.รับคำร้อง 4 มาตรา กฎหมาย “เลือกสว.” ตีตกมาตรการคุ้มครอง  Top News รายงาน 

เลือกสว.

ข่าวที่น่าสนใจ

 

5 มิ.ย.2567 ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา กรณีศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งผู้ฟ้องคดี น.ส.วิเตือน งามปลั่ง ในคดีหมายเลขดำที่ 899/2567 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มาตรา 212 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่

รวมถึงกรณีศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า ซึ่งเป็นผู้สมัคร สว. ในคดีหมายเลขดำที่ 812/2567 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มาตรา 212 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา โดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เนื้อหาคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีทั้งสองคดีเป็นกรณีโต้แย้งว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติ ที่ศาลปกครองกลาง จะใช้บังคับแก่คดี เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองคดีโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินี้ กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง

ศาลรัฐธรรมนูญ มีโดยมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 มีคำสั่งรับคำร้องทั้งสองไว้พิจารณาวินิจฉัยเฉพาะประเด็นว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง (3) มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (3) และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง (3) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่ โดยรวมการพิจารณาทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกัน และเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่ ศาลกำหนด และจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

 

ทั้งนี้ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งมาตรการหรือวิธีการใดๆ เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ายังไม่ปรากฏว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง อีกทั้งหากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.เห็นว่าจะเกิดความเสียหายดังกล่าว ย่อมมีหน้าที่และอำนาจที่จะดำเนินการได้ตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่กำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นักท่องเที่ยวฮือฮา! ตะเกียงเจ้าพายุ รถจิ๊ปโบราณอายุ 82 ปี เคยผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2
ตร.ตามรวบถึงที่ หนุ่มปล่อย "ภาพลับ-คลิป" อดีตแฟนสาว หลังเลิกกัน ตามรังควานไม่หยุด
นทท.เริ่มเดินทางเข้าตราดลงเกาะช้าง เกาะกูดจำนวนมากแต่ยังไม่คึกคัก
"ผู้ต้องหาเยาวชน" หนีตำรวจ กระโดดลงคลองแสนแสบ จมน้ำดับสลด
สลด! หนูน้อย 6 ขวบ ลื่นตะไคร่หัวปักจมอ่างเก็บน้ำดับ แม่ร่ำไห้แทบขาดใจ พุ่งกอดศพลูกด้วยความอาลัย
ไม่มีละเว้น "ทบ." สั่งขังสิบเวร ปมลงโทษทหารเกินกว่าเหตุในหน่วยลพบุรี
เปิดผลสำรวจ ความสุขในฐานะทางการเงินของชีวิตคนไทย เพิ่มขึ้น
"ป้า" น้องปูอัด ฮีโร่รถบัสไฟไหม้ สุดงง "แม่" โผล่ทวงสิทธิ รับเงินเยียวยา 1.2 ล้าน ทั้งที่ไม่เคยเลี้ยงดู
ตร.ตามจับหนุ่มใหญ่ติดแบล็คลิสต์ สวมเลขบัตรปชช.คนอื่น ทำบัตรเครดิต หนีหนี้กว่าครึ่งล้าน
"อนุทิน" สละเงินเดือน มอบให้ อส.ช่วยน้ำท่วม พร้อมขอโทษชาวบ้าน ยอมรับว่าสถานการณ์ปีนี้หนัก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น