“ดร.อานนท์” โพสต์ส่งสัญญาณเตือนแรง จับตากกต.เสี่ยงคุก เลือกสว.ส่อโมฆะ

จับสัญญาญแรง หลัง “กกต.” มติไม่เลื่อนการเลือก สว. ชี้เหมือนเอาคอพาดเขียงหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 4 มาตรา พ.ร.ป.การได้มาซึ่ง สว.ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 107 จนกลายเป็นโมฆะ ด้าน “ดร.อานนท์” โพสต์น่าคิด “อาจมีคนได้นอนคุก”

“ดร.อานนท์” โพสต์ส่งสัญญาณเตือนแรง จับตากกต.เสี่ยงคุก เลือกสว.ส่อโมฆะ  Top News รายงาน 

 

เลือกสว.

 

 

ความคืบหน้าหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีมติเอกฉันท์ไม่เลื่อนการเลือก สมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับวินิจฉัยว่า ข้อกฎหมายของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว.2561 ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเลือกสว. ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่ โดย กกต.ให้เหตุผลว่า ยังไม่มีเหตุจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะทำให้การเลือกสว. ต้องเลื่อนออกไป
มติของ กกต.ที่ไม่เลื่อนการเลือก สว. ถือเป็นความกล้าหาญชนิดเอาตัวเองไปลุยไฟ เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ข้อกฎหมายขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 ที่ระบุชัดเจนว่า “การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการ ให้การเลือกดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม” ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ กกต.ทั้ง 7 คน อาจสุ่มเสี่ยงต่อคุก ต่อตะราง จากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี กรณีก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเลือก สว. เพราะเมื่อดูจากเนื้อหา 4 มาตราของกฎหมายเลือก สว. มีความเป็นไปได้ ที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 ที่เป็นกติกาสูงสุด ดังนี้

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

มาตรา 36 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการแนะนำตัวของผู้สมัคร ที่หลายฝ่ายมองว่า ระเบียบดังกล่าว ปล่อยให้คนที่ไม่ได้ตั้งใจเป็น สว. เข้ามา “สมัครเพื่อโหวต” อีกทั้งยังปล่อยให้บุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิ์เลือก เข้ามาทำหน้าที่ “ผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร” ในการแนะนำตัว จึงทำให้เกิดการแทรกแซง ครอบงำ ชักจูง สั่งการจากบุคคลภายนอก

นอกจากนี้ กรณีให้ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ และประชาชนอาจเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ “เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้สมัครที่มีกำลังทรัพย์ กำลังคน เครือข่ายโซเชียล สามารถใช้กลไกเหล่านี้สร้างความได้เปรียบ ไม่เป็นธรรม เหลื่อมล้ำ กับผู้สมัคร สว. รายอื่น”

มาตรา 40 วรรคหนึ่ง (3) การเลือกระดับอำเภอ ในรอบ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ กำหนดว่า “ให้ผู้สมัครแต่ละกลุ่ม ลงคะแนนเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 2 คน โดยจะลงคะแนนเลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนมิได้” ซึ่งการเลือกกันเองโดยไม่เลือกตนเอง ต้องสันนิษฐานว่า มีการสมยอมกันในการเลือก และถือว่า การเลือกไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม

มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (3) การเลือกระดับจังหวัด ในรอบ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ กำหนดว่า “ให้ผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอแต่ละกลุ่ม ลงคะแนนเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 2 คน” โดยจะลงคะแนนเลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนมิได้ ซึ่งการเลือกกันเองโดยไม่เลือกตนเอง ต้องสันนิษฐานว่า มีการสมยอมกันในการเลือก และถือว่าการเลือกไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม

มาตรา 42 วรรคหนึ่ง (3) การเลือกระดับประเทศ ในรอบ “เลือกกันเอง” ในกลุ่มอาชีพ กำหนดว่า “ให้ผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัด เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 10 คน โดยจะลงคะแนนเลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนมิได้” ซึ่งการเลือกกันเองโดยไม่เลือกตนเอง ต้องสันนิษฐานว่า มีการสมยอมกันในการเลือก และถือว่าการเลือกไม่เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม

ทั้งนี้ เมื่อดูจากมาตรา 40 , 41 อนุ 3 และ 42 อนุ 3 ซึ่งจะพบว่ามีปัญหา คือให้ผู้สมัคร สว.เลือกกันเอง และเลือกตนเองได้ ซึ่งทั้ง 3 อนุมาตรา ใช้คำเหมือนกัน ซึ่งการเลือกตนเอง” หมายถึง ผู้ที่สมัครรับเลือกเป็นวุฒิสภาตามขั้นตอนที่ระบุไว้ จะต้องเลือกกันเอง และแต่ละคนจะมี 2 คะแนน ตรงนี้เป็นจุดที่เปิดช่อง ทำให้ผู้สมัครไม่ต้องเลือกตัวเองก็ได้ หรือยกทั้ง 2 คะแนนนี้ให้กับใครก็ได้

แปลว่า ผู้สมัครสามารถสมัครหรือชำระค่าธรรมเนียมเข้าไป เพื่อไปเลือกคนอื่น ให้เป็น สว.เป็นการเปิดช่องให้ “บุคคล” ที่มุ่งหมายจะให้คนของเขาได้รับเลือก และมีการขนคนเข้าไปสมัครเพื่อเอา 2 คะแนนนี้ ไปเลือกคนของเขา เพราะ “เลือกตนเอง” หมายถึง ผู้ที่สมัครรับเลือกเป็นวุฒิสภาตามขั้นตอนที่ระบุไว้ จะต้องเลือกกันเอง และแต่ละคนจะมี 2 คะแนน ตรงนี้เป็นจุดที่เปิดช่องทำให้ผู้สมัครไม่ต้องเลือกตัวเองก็ได้ หรือยกทั้ง 2 คะแนนนี้ให้กับใครก็ได้ แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ ผู้สมัครควรจะเลือกตัวเอง 1 คะแนนก่อน จากนั้นจึงไปเลือกคนอื่น ตรงนี้มีหลักการอยู่ใน พ.ร.ป.ว่า ถ้าปรากฏเหตุมีบุคคลที่ไม่เลือกตนเอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้ทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้การเลือกไม่สุจริตและไม่เที่ยงธรรม

ดังนั้นหากวิเคราะห์ 4 มาตราอย่างละเอียด จะพบว่า มีความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า ระเบีบบ พ ร.ป.การได้มาซึ่ง สว.2561 ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเลือกสว. อาจจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 และอาจทำให้การเลือก สว.ที่จะเกิดขึ้นกลายเป็นโมฆะก็เป็นไปได้ และผู้รับผิดชอบไปเต็มๆ ก็หนีไม่พ้น กกต.ทั้ง 7 คน

 

 

 

ล่าสุด ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตย์พัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า โพสต์ข้อความสั้นๆ แต่ชวนให้คิดตามว่า “น่าห่วงว่า กกต.ชุดนี้ มีโอกาสได้นอนคุกหลังหมดหน้าที่” ซึ่งหลังจากโพสต์นี้ถูกเผยแพร่ออกไป มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“เอกภพ” ได้ประกันตัว ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ปมให้ข้อมูลเท็จดิไอคอน จ่อฟ้องกลับ
สามเชฟดังร่วมรังสรรค์เมนูเพื่อการกุศลทางการแพทย์
"ทนายบอสพอล" เผยเป็นไปตามคาด "เอก สายไหม" ถูกจับ จ่อดำเนินคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน
ศาลออกหมายจับ 'เจ๊หนิง' พร้อมสามีและหลาน ร่วมกันแจ้งความเท็จ 'ภรรยาบิ๊กโจ๊ก'
อิสราเอลถล่มเลบานอนดับครึ่งร้อย
หมายจับ ICC กระทบอิสราเอลอย่างไร
เปิดวิสัยทัศน์ประธานเครือข่ายธุรกิจ Bizclub นครราชสีมาคนใหม่ “กิม ฐิติพรรณ จันทร์ประทักษ์”
เกาหลีใต้ชี้รัสเซียส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศให้เกาหลีเหนือ
สหรัฐเมินไฮเปอร์โซนิครัสเซียลั่นไม่หยุดหนุนยูเครน
เมียเอเย่นต์ค้ายาบ้า ร้องถูกตร.รีด 5 แสน แลกปล่อยตัว พ่วงเรียกเก็บเงินรายเดือน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น