“ดร.สามารถ” ชี้คำพิพากษา “รถไฟฟ้าสีส้ม” เป็นบทเรียน “รฟม.” ไม่ยึดมั่นเกณฑ์ประมูลทำสารพัดสูญเสีย

"ดร.สามารถ" ชี้คำพิพากษา "รถไฟฟ้าสีส้ม" เป็นบทเรียน "รฟม." ไม่ยึดมั่นเกณฑ์ประมูลทำสารพัดสูญเสีย

ดร.สามารถ” ชี้คำพิพากษา “รถไฟฟ้าสีส้ม” เป็นบทเรียน “รฟม.” ไม่ยึดมั่นเกณฑ์ประมูลทำสารพัดสูญเสีย

วันที่ 12 มิ.ย. 67 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า รถไฟฟ้าสายสีส้ม “บทเรียนที่ต้องเรียน” รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี สร้างเสร็จแล้วในปี 2566 แต่ยังเปิดใช้ไม่ได้ น่าเห็นใจประชาชนคนที่เฝ้ารอคอยจะใช้รถไฟฟ้าสายนี้ยิ่งนัก อะไรเป็นเหตุให้ไม่สามารถเปิดใช้รถไฟฟ้าสายนี้ได้ตามกำหนดในเดือนมีนาคม 2567 ต้องติดตาม !

1. “ความสูญเสีย” จากการไม่สามารถเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกได้
แม้ว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกจะเสร็จแล้วก็ตาม แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากไม่มีผู้เดินรถ ซึ่งการประมูลหาผู้เดินรถตลอดทั้งสายถูกผูกรวมกับการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย แต่การประมูลดังกล่าวมีปัญหาฟ้องร้องกันอยู่ ทำให้ยังไม่สามารถหาผู้เดินรถได้

การเปิดรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกล่าช้า จะทำให้ประเทศเสียหายเท่าไหร่?
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกล่าช้า พบว่าประเทศจะเสียหายสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท/ปี ประกอบด้วย

ดร.สามารถ

ข่าวที่น่าสนใจ

(1) ค่าดูแลรักษา (Care of Works) โครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออก 495 ล้านบาท/ปี
รฟม.จะต้องเสียค่าดูแลรักษาโครงสร้างงานโยธาส่วนตะวันออกซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว ประกอบด้วยสถานียกระดับ 7 สถานี เป็นเงิน 103 ล้านบาท/ปี และสถานีใต้ดิน 10 สถานี เป็นเงิน 392 ล้านบาท/ปี รวมเป็นเงิน 495 ล้านบาท/ปี

(2) ค่าเสียโอกาสเก็บค่าโดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก 1,764 ล้านบาท/ปี
รฟม.ประเมินว่าจะเก็บค่าโดยสารส่วนตะวันออกในปีแรกที่เปิดให้บริการได้ 1,764 ล้านบาท/ปี ซึ่งถ้าเปิดช้าจะทำให้เสียโอกาสได้รับค่าโดยสารจำนวนนี้

(3) ค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ 40,644 ล้านบาท/ปี
รฟม.ได้ประเมินค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการประหยัดเวลาการเดินทาง การประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ยานพาหนะ และการลดมลพิษ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 40,644 ล้านบาท/ปี

ทั้งนี้ เดิม รฟม.มีแผนจะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกในเดือนมีนาคม 2567 แผนใหม่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้เร็วสุดในปี 2570 ล่าช้าไปถึง 3 ปี ทำให้ประเทศเสียหายถึง 1.3 แสนล้านบาท

ถามว่า “ความสูญเสียอันใหญ่หลวงนี้ ใครจะรับผิดชอบ ?”

 

2. “บทเรียน” จากการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก
การไม่ยึดมั่นในเกณฑ์ประมูล ยอมเปลี่ยนตามการร้องขอของผู้ซื้อเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) เพียงรายเดียวที่ขอให้เปลี่ยนด้วยข้ออ้างที่ไม่อาจรับฟังได้ ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 2 สัปดาห์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ รฟม.ได้ใช้เวลาศึกษามาอย่างละเอียดรอบคอบถึงเกือบ 2 ปี แต่สุดท้ายกลับล้มการประมูล แล้วกลับมาใช้เกณฑ์เดิม แสดงให้เห็นว่าเกณฑ์เดิมนั้นดีอยู่แล้ว แต่เกณฑ์ใหม่ที่ได้รับการเปลี่ยนตามการร้องขอนั้นไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการฟ้องร้องหลายคดี เป็นเหตุให้โครงการล่าช้า

เหล่านี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่จะต้องไม่ให้เกิดขึ้นอีกในการประมูลในอนาคต อย่าให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก “สร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่ได้ใช้” ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล นับเป็น “บทเรียนที่ต้องเรียน”

3. “ผลพลอยได้” จากการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก
การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ทำให้เกิด “ผลพลอยได้” สำหรับการประมูลโครงการอื่นในอนาคตทั้งของ รฟม. และหน่วยงานอื่น (หากโครงการอื่นจะยึดถือเป็นโมเดล) ดังนี้

 

(1) หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลได้หลังจากปิดขายเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) แล้ว โดยเป็นไปตามการร้องขอของบริษัทที่ซื้อ RFP แม้ว่าการเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลจะทำให้เกิดผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ก็ตาม

(2) หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถล้มการประมูลได้ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้การประมูลเสร็จเร็ว (แต่สุดท้ายกลับล่าช้า) แม้ว่าการล้มการประมูลจะทำให้เกิดผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ก็ตาม

(3) เมื่อเปิดการประมูลครั้งใหม่ ไม่จำเป็นต้องใช้เกณฑ์ประมูลใหม่ซึ่งถูกเปลี่ยนตามการร้องขอของผู้เข้าประมูล สามารถกลับไปใช้เกณฑ์ประมูลเดิมได้ สรุปได้ว่าเกณฑ์ประมูลสามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้

(4) การประมูลครั้งใหม่ หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของผู้เข้าประมูลได้ แม้ว่าการเปลี่ยนคุณสมบัติจะทำให้เกิดผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ก็ตาม และแม้ว่าจะทำให้ผู้รับเหมาทั้งโลกที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหลือแค่ผู้รับเหมาไทยเพียง 2 รายเท่านั้นก็ตาม

(5) การประมูลครั้งใหม่ หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของผู้นำกลุ่มบริษัทที่ยื่นประมูลได้ แม้ว่าการเปลี่ยนคุณสมบัติจะทำให้เกิดผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ก็ตาม

(6) การประมูลครั้งใหม่ หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถเพิ่มคะแนนผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิคให้สูงขึ้น (เดิมก็สูงอยู่แล้ว) ได้ และสูงกว่าโครงการอื่นที่ก่อสร้างในพื้นที่เดียวกัน ใช้เทคนิคการก่อสร้างเหมือนกันได้ แม้ว่าการเพิ่มคะแนนจะทำให้เกิดผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ก็ตาม

(7) การประมูลครั้งใหม่ หน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถให้เงินสนับสนุนแก่เอกชนที่ชนะการประมูลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการประมูลครั้งแรกได้ แม้จะเกิดข้อครหาว่าเป็นการประมูลที่ไม่ช่วยปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนและประเทศชาติก็ตาม

4. สรุป
ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะการประมูล หวังว่าจะสามารถช่วยให้ รฟม.เร่งเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกได้ภายใน 3 ปี หลังจากลงนามในสัญญา และจะสามารถก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกเสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ รฟม.สามารถเปิดให้บริการเดินรถตลอดทั้งสายได้ภายในปี 2573 (เดิม รฟม.วางแผนจะเปิดให้บริการในเดือนกันยายน 2569)

แต่อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าจะต้องมีผู้รับผิดชอบกรณีเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกล่าช้าไปถึง 3 ปี สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติถึง 1.3 แสนล้านบาท

 

หมายเหตุ: ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กองปราบฯ" รับโอนคดี "ซินแสชื่อดัง" หลอกผู้เสียหายสูญเงิน 66 ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 6 (ตรัง) ศึกษาดูงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
"นครราชสีมา" เสี่ยงภัยแล้ง 10 อำเภอ ชลประทานประกาศงดทำนาปรังทั้งจังหวัด
"อัจฉริยะ" แจงผลสอบ "อาหารเสริม Eighteen 18" พบมีเลข อย.ถูกต้อง
"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ชี้เจรจา MOU 44 ถามคนไทยหรือยัง เอาพลังงานหรืออธิปไตย
สุดเศร้า "นักเรียน ม.4" เรียนวิชาพละ  วิ่งได้ 200 เมตร หัวใจวายเสียชีวิต
"ณัฐวุฒิ" โอ่คนไทยอ่านขาดแล้ว เกมฝ่ายขวาจัด ปลุกชาตินิยม ล้มรบ. เย้ยรอบนี้ไม่ง่ายเหมือนก่อน
เปิด 40 รายชื่อ สรุปยอดผู้สมัคร ป.ป.ช. พบคนดังเพียบ
"ยายวัย 80 ปี" เครียดอยากจบชีวิต หลังถูก "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" หลอกโอนเงินเก็บเกลี้ยงบัญชี
"ร้านเนื้อย่างดัง" โพสต์ตามหา "ลูกค้า" โอนเงินค่าอาหารเกิน 2 แสนบาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น